FOLKWAYS

“ประเพณีปอยหลวง” การเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ของชาวล้านนา

คำว่า “ปอย” เป็นคำพื้นเมืองของภาคเหนือ หมายถึง งานฉลองรื่นเริง คำว่า “หลวง” หมายถึง ยิ่งใหญ่ ความเป็นมา สมัยพุทธกาลมีนางวิสาขามหาอุบาสิกา ได้สร้างวัดชื่อ “บุพพาราม” ถวายแก่พระพุทธเจ้า ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า วัดที่ประดิษฐานขึ้นมามีความงดงามมาก เมื่อสร้างเสร็จนางจึงจัดให้มีการเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่และสนุกสนาน รวมถึงนางวิสาขามหาอุบาสิกาได้พาลูกหลานมาฟ้อนรำรอบวิหาร ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้มีการจัดงานประเพณีปอยหลวงขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน ความสำคัญ ประเพณีปอยหลวง เป็นการเฉลิมฉลองถาวรวัตถุของวัดหรือสิ่งก่อสร้างที่ผู้คนช่วยกันประดิษฐานขึ้นมาเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ และเพื่อให้เกิดอานิสงส์แก่ตนเองและครอบครัวถือว่าได้บุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ...
FOLKWAYS

“ตานข้าวใหม่” ประเพณีหลังฤดูเก็บเกี่ยว ระลึกถึงบุญคุณคน

ประเพณีตานข้าวใหม่ เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้า เมื่อชาวบ้านได้ยินสัญญานที่เกิดจากไม้ที่ระเบิดที่เกิดจากการทำหลัวหิงไฟพระเจ้า ก็จะนำข้าวใหม่หลังการเก็บเกี่ยวไปทำบุญที่วัด ความเป็นมา ความเป็นมาของประเพณีตานข้าวใหม่มีหลากหลายเรื่องราวที่ถูกบอกเล่าต่อ ๆ กันมามีทั้งความคล้ายคลึงกันและแตกต่างกันบางส่วน ขึ้นอยู่กับความเชื่อและมุมมองของบุคคลที่มีต่อประเพณี ถึงแม้ว่าจะเป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเดียวกัน ดังนี้ ช่วงเวลาในการจัดประเพณี ประเพณีตานข้าวใหม่นิยมจัดในช่วงเดือนสี่เป็งของภาคเหนือ หรืออยู่ในช่วงประมาณปลายเดือนธันวาคมจนถึงเดือนมกราคม ซึ่งในปี 2567 ตรงกับวันที่ 27 มกราคม เช่นเดียวกับประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้า ขั้นตอนในงานประเพณีตานข้าวใหม่ ประเพณีตานข้าวใหม่มีความเกี่ยวข้องกับประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้า เนื่องจากชาวบ้านได้ยินเสียงระเบิดที่เกิดจากการทำหลัวหิงไฟพระเจ้าเป็นการส่งสัญญาณให้ชาวบ้านมาทำบุญที่วัด ...
FOLKWAYS

ปล่อย “โคม/ว่าว” สู่ฟากฟ้า เคารพบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี

ความเป็นมา หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เจ้าเมืองต่าง ๆ ก็ยกทัพมาแย่งชิงจะเอาพระธาตุไปเป็นของตนเอง โทณพราหมณ์จึงรับผิดชอบในการแบ่งพระธาตุให้กับเจ้าเมืองแต่ละเมือง แล้วได้ฉุกคิดขึ้นว่าเราเป็นคนแบ่งพระธาตุ ทำไมเราจะไม่ได้พระธาตุสักชิ้นเลย จึงทำการซ่อนพระเกศแก้วจุฬามณีไว้ในผ้าโพกผมของตนเอง ในขณะเดียวกันเหล่าเทวดาที่อยู่บนสวรรค์ก็มีความคิดว่าโทณพราหมณ์แบ่งพระธาตุไม่ได้นึกถึงเทพเทวดาเลย จึงแอบเอาพระธาตุชิ้นที่โทณพราหมณ์นั้นซ่อนไว้ และนำพระเกศแก้วจุฬามณีไปไว้บนสรวงสวรรค์ (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566) ความเชื่อ การปล่อยโคมเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี เป็นความเชื่อของผู้คนที่จะทำทุกวิธีทางเพื่อให้สามารถกราบไหว้พระเกศแก้วจุฬามณีที่อยู่บนสวรรค์ได้ ทำให้เกิดโคมที่สามารถลอยขึ้นไปบนอากาศ ...
FOLKWAYS

“ผางประทีป”ส่องสว่างดั่งแสงนำทางแห่งชีวิต

ผางประทีป เป็นประทีปที่ใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระพุทธเจ้า และเป็นการนำไปใช้ในการบูชาสืบชะตาต่ออายุของตนเอง อีกนัยหนึ่งเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันในการจุดแทนตะเกียงช่วงเวลากลางคืน (เยาวนิจ ปั้นเทียน, 2542) คำว่า “ผาง” หมายถึง ภาชนะรองรับน้ำมันหรือไขที่เป็นเชื้อเพลิงของประทีป คำว่า “ประทีป” หมายถึง แสงไฟ ความเป็นมา ความเชื่อ การจุดประทีปถือเป็นสัญลักษณ์ของความกตัญญูรู้คุณไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ หนังสือ ดินสอ และเป็นกลอุบายอย่างหนึ่งที่ทำให้คนได้รำลึกถึงสิ่งที่มีบุญคุณกับตัวเรา นอกจากพระพุทธ พระธรรม ...
FOLKWAYS

“ซุ้มประตูป่า” วัฒนธรรมชาวล้านนา ต้อนรับการกลับมาของพระเวสสันดร

ซุ้มประตูป่า เป็นปากทางที่จะเข้าสู่ป่า มักจะปรากฏอยู่เป็นเสา ตั้งอยู่ที่ชายหมู่บ้าน ขนาบทางเดินที่จะเข้าป่า ซึ่งมักจะเป็นส่วนประดับอยู่ระหว่างเสาทั้งคู่ ใช้เป็นบริเวณที่ประกอบพิธีกรรมสำหรับหมู่บ้าน การทำซุ้มประตูป่าในสมัยก่อนจะแยกย้ายกันทำของบ้านตนเอง มีการนำต้นกล้วย ต้นมะพร้าว ใบกล้วย ใบมะพร้าวมาใช้ในการประดับตกแต่งซุ้มประตู ซึ่งการทำซุ้มประตูป่าของแต่ละบ้านเรือนเริ่มหายไปแล้วประมาณ 10 ปีก่อน สาเหตุที่หายไปเพราะเทศบาลของแต่ละตำบลมีการจัดประกวดซุ้มประตูป่าของหมู่บ้าน ชาวบ้านเลยไปร่วมมือกันทำที่เดียว ไม่มีการทำของแต่ละบ้านแล้ว ในช่วงกลางคืนก็มีการจัดดนตรี มีฟ้อนรำให้คนมาร่วมสนุก รอประกาศผลการทำซุ้มประตูป่า (พระครูสมุห์ วิเชียร ...