Category: Rituals
-
ศิลปะการดุนลายโลหะ: จากโลหะแผ่นเรียบสู่ภาพวาดนูน
ลองนึกภาพแผ่นโลหะเรียบๆ ธรรมดา แล้วจู่ๆ มันก็กลายเป็นภาพที่มีชีวิตชีวา มีมิติ สามารถสัมผัสได้ด้วยปลายนิ้ว นี่คือมนตร์เสน่ห์ของศิลปะการดุนลายโลหะ ที่เปลี่ยนความเรียบง่ายให้กลายเป็นความวิจิตรงดงาม เสน่ห์ของลายเส้น การดุนลายโลหะไม่ใช่แค่งานฝีมือ แต่เป็นการถ่ายทอดอารมณ์และจินตนาการผ่านปลายนิ้วของช่างฝีมือ แต่ละรอยกด แต่ละเส้นสาย ล้วนเกิดจากความตั้งใจและความชำนาญที่สั่งสมมายาวนาน แล้วอะไรทำให้ศิลปะนี้ยังคงมีเสน่ห์ในยุคดิจิทัล? คำตอบอาจอยู่ที่ความไม่สมบูรณ์แบบที่สมบูรณ์แบบ รอยกดทุกรอย ความนูนทุกระดับ ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะชิ้นที่ไม่มีวันซ้ำ ขั้นตอนการทำ: จากแผ่นเรียบสู่ภาพนูน เคล็ดลับ: ใช้สิ่วปลายมนสำหรับพื้นที่กว้าง และสิ่วปลายแหลมสำหรับรายละเอียดเล็กๆ เคล็ดลับจากช่างฝีมือ ศิลปะที่อยู่ในมือคุณ การดุนลายโลหะไม่ใช่แค่งานฝีมือ แต่เป็นการสร้างสรรค์ที่ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกผ่านปลายนิ้ว ทุกครั้งที่คุณจับสิ่ว คุณไม่ได้แค่สร้างลวดลาย แต่กำลังเล่าเรื่องราว สืบสานวัฒนธรรม และสร้างความทรงจำที่จับต้องได้ ลองดูสิ มือของคุณอาจซ่อนพรสวรรค์ที่รอการค้นพบ แล้วคุณล่ะ พร้อมจะเปลี่ยนแผ่นโลหะธรรมดาให้กลายเป็นงานศิลป์แล้วหรือยัง แหล่งที่มา อัศวศิลป์ แผ่นชัยภูมิ. (2567, สิงหาคม 9). ครูภูมิปัญญาล้านนา สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์
-
ดอกไม้ไหว: มนต์เสน่ห์แห่งศิลปะล้านนา
ดอกไม้ไหว เป็นเครื่องประดับโบราณที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมของชาวล้านนา นอกจากจะสะท้อนถึงภูมิปัญญาและความประณีตในงานหัตถศิลป์แล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อและวิถีชีวิตของผู้คนในภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน มีกระบวนการผลิตที่ปราณีต และทรงคุณค่าทางวัฒนธรรม รวมถึงการประยุกต์ใช้ดอกไม้ไหวในบริบทสังคมปัจจุบัน จากธรรมชาติสู่งานศิลป์ ดอกไม้ไหวไม่ใช่เพียงเครื่องประดับธรรมดา แต่เป็นการผสมผสานระหว่างความงามตามธรรมชาติของดอกไม้กับความชำนาญในงานโลหะของช่างฝีมือ ชิ้นงานที่ได้จึงเป็นดอกไม้จำลองที่เคลื่อนไหวได้อย่างอ่อนช้อย สั่นไหวได้แม้เพียงลมหายใจเบา ๆ ผ่านมาสัมผัส วิธีการทำ การทำดอกไม้ไหวเป็นงานที่ต้องใช้ความประณีตและความอดทนสูง โดยมีขั้นตอนสำคัญดังนี้: คุณค่าทางวัฒนธรรม ดอกไม้ไหวมีความสำคัญทางวัฒนธรรมหลายประการ: จากอดีตสู่ปัจจุบัน แม้ว่าในอดีตดอกไม้ไหวจะใช้เป็นเครื่องประดับผมของสตรีเป็นหลัก แต่ปัจจุบันการใช้งานได้ขยายวงกว้างขึ้น: การอนุรักษ์และสืบสาน ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างการทำดอกไม้ไหวจึงมีความสำคัญยิ่ง หลายหน่วยงานและชุมชนในภาคเหนือได้จัดการอบรมและสาธิตวิธีการทำดอกไม้ไหว เพื่อถ่ายทอดความรู้นี้สู่คนรุ่นใหม่ นับเป็นความพยายามในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่านี้ให้คงอยู่สืบไป ดอกไม้ไหว จึงไม่ใช่เพียงเครื่องประดับธรรมดา แต่เป็นตัวแทนของภูมิปัญญา ความเชื่อ และศิลปะอันงดงามของชาวล้านนา ที่ยังคงส่งต่อเรื่องราวและความงามจากอดีตสู่ปัจจุบัน เชื่อมโยงผู้คนเข้ากับรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนเองได้อย่างมีชีวิตชีวา แหล่งที่มา อัศวศิลป์ แผ่นชัยภูมิ. (2567, สิงหาคม 9). ครูภูมิปัญญาล้านนา สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์
-
การฉลุลายสวยงาม สร้างตุงล้านนา เพื่อประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
การฉลุลาย การฉลุลาย เป็นขั้นตอนแรกในการประดิษฐ์ตุงขึ้นมา โดยการฉลุเป็นวิธีหนึ่งในการทำให้เกิดลวดลายลงบนวัสดุ ต่าง ๆ เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นไม้ แผ่นโลหะ โดยใช้เครื่องมือที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของวัสดุนั้น ๆ อย่างงานฉลุกระดาษและผ้าจะใช้สิ่วและค้อนในการตอกลงบนวัสดุให้เกิดลายสวยงาม ประวัติความเป็นมาของการฉลุลายไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่ามีที่มาอย่างไร เพียงแค่มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก่อนมีการฉลุลายในสมัยโบราณมีการตัดลายจากกระดาษตะกั่วด้วยกรรไกรเป็นวิธีการแรก เนื่องจากไม่มีเครื่องมือที่หลากหลายเหมือนในปัจจุบัน จึงใช้กรรไกรตัดลวดลายตามจินตนาการของแต่ละคน นอกจากนี้การตัดลายด้วยกรรไกรเป็นวิธีการที่ยังคงมีการใช้งานจนถึงปัจจุบัน ตุงล้านนา ตุงล้านนา เป็นเครื่องใช้ที่ใช้ในการประดับตกแต่งและใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆในวัฒนธรรมล้านนา เพื่อเป็นพุทธบูชา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อสืบชะตาให้ตนเอง ประวัติความเป็นมาของตุงล้านนา ความเชื่อของตุงล้านนา ประเภทของตุงล้านนา การแบ่งประเภทของตุงล้านนามักอ้างอิงตามพิธีกรรมที่จะใช้งานได้ 4 ประเภท ดังนี้ ข้อห้ามของตุงล้านนา ชาวล้านนาไม่นิยมนำตุงทุกประเภทมาแขวนไว้ในบ้าน ทำตุงเสร็จแล้วต้องนำไปถวายพระ เพราะส่วนใหญ่ตุงมีไว้เพื่อตัวเราในภายภาคหน้า และผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่สามารถนำไปแขวนไว้ที่ร้านอาหาร ร้านค้าทั่วไปได้ที่ผู้คนไม่อยู่อาศัย ความแตกต่างในอดีตและปัจจุบัน จากคำบอกเล่าของครูอัศวศิลป์ แผ่นชัยภูมิ ซึ่งเป็นครูภูมิปัญญาล้านนาที่มีความเชี่ยวชาญในการสืบสานวัฒนธรรม ได้กล่าวว่า ตุงในอดีตกับตุงในปัจจุบันยังคงมีความเหมือนกันมาก เนื่องจากท่านได้ทำการอนุกรักษ์ตุงล้านนาให้ใกล้เคียงกับสมัยก่อนมากที่สุด แต่ก็มีการประยุกต์วิธีการทำลวดลายด้วยการนำเครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาใช้มากขึ้น แต่ตุงที่ครูอัศวศิลป์เผยแพร่ยังคงใช้การตัดกระดาษด้วยกรรไกรอยู่ แต่เพิ่มการฉลุลายด้วยสิ่วเข้ามาด้วย การสืบสานวัฒนธรรม การสืบสานวัฒนธรรมของเชียงใหม่จะมีชั่วโมงเรียนการสืบสานภูมิปัญญาล้านนาของแต่ละโรงเรียนลงไปในหลักสูตรการเรียนการสอนด้วย แต่จะไม่จำกัดว่าเรียนเพียงแค่การประดิษฐ์ตุงล้านนาอย่างเดียว…
-
“ส่งเคราะห์” พิธีกรรมทางล้านนา ส่งสิ่งชั่วร้าย เพื่อให้อยู่สุขสบาย ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และอันตรายทั้งปวง
พิธีกรรมของแต่ละพื้นที่ถึงแม้จะมีชื่อเรียกและใจความสำคัญเหมือนกัน แต่รายละเอียดต่าง ๆ มีความแตกต่างกันไปเล็กน้อยตามความเชื่อและความศรัทธาของแต่ละชุมชน รวมถึงคาถาในการส่งเคราะห์ก็แตกต่างกันไปตามตำราที่บุคคลศึกษามา พิธีกรรมส่งเคราะห์ เกิดจากการที่บุคคลถูกคนทำไม่ดีใส่ ประสบอุบัติเหตุ ค้าขายไม่ได้กำไร เจ็บป่วย อย่างมีสาเหตุหรือไม่มีสาเหตุก็ได้ ถือว่าบุคคลนั้นมีเคราะห์กรรมมากระทบ ต้องทำพิธีกรรมให้หายจาก โรคภัยไข้เจ็บ ไม่ให้มีเคราะห์ ให้อยู่สุขสบาย ช่วงเวลา ไม่มีการกำหนดวันในการทำพิธีตายตัว แต่จะทำก็ต่อเมื่อมีคนเจ็บไข้ได้ป่วยและต้องการให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ให้มีเคราะห์มีหนาม โดยนิยมทำช่วงเช้า อุปกรณ์ 1. สะตวงที่ทำจากกาบกล้วย 1 อัน 2. ครัวห้า เช่น ข้าว 5 ก้อน กล้วย 5 ลูก อ้อย 5 อัน ส้ม 5 ผล น้ำ 5 ขวด และอาหารอย่างละ 5 ถ้วย (ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเป็นอาหารชนิดไหน สามารถใช้ได้ทุกอย่าง) 3. เทียนเล็ก 5 เล่ม 4. เทียนใหญ่…
-
“จอบตุ่ม” การถอดพิษด้วยไข่ไก่
การจอบตุ่มหรือความเชื่อต่าง ๆ ของผู้คนบางครั้งไม่สามารถที่จะไปหาต้นเหตุหรือความเป็นมาได้แล้ว จึงต้องอาศัยการมาเล่าสู่กันฟังจากคนที่เขาเคยทำ เคยได้ยินมาก่อน และความเชื่อของแต่ละคนมีความต่างกันนิดหน่อย บอกไม่ได้ว่าใครถูกใครผิด ถึงแม้จะอยู่ในอำเภอเดียวกัน การจอบตุ่ม เป็นพิธีกรรมหนึ่งที่ช่วยในการรักษาโรค โดยคำว่า “จอบ” หมายถึง ชักจูง หรือล่อให้ตาม ส่วนคำว่า “ตุ่ม” หมายถึง เม็ดที่เกิดขึ้นตามผิวหนัง ดังนั้น “การจอบตุ่ม” เป็นการล่อให้ตุ่มหรือพิษ ออกจากร่างกายเมื่อบุคคลนั้นไม่สบาย ไข้ไม่ยอมลด แม้จะให้ยากินแล้วก็ตาม ชาวบ้านเชื่อกันว่า อาจมีตุ่มลี้หรือตุ่มที่มีพิษซ่อนอยู่ในร่างกายแต่ไม่ปรากฏออกมาตามผิวหนัง จึงต้องทำพิธีการจอบตุ่ม ให้พิษต่าง ๆ ออกมา ด้วยการใช้เหรียญแถบเป็นตัวล่อ (สนั่น ธรรมธิ,2553) ภาพโดย : เพจ mgronline ช่วงเวลา ไม่มีช่วงเวลาที่แน่นอน โดยจะทำพิธีก็ต่อเมื่อมีผู้เจ็บป่วยต้องการให้คนทำพิธีรักษาให้ เนื่องจากรักษาด้วยทางการแพทย์แล้วยังคงมีอาการเจ็บป่วยอยู่ (สุรพล สุเทนะ, สัมภาษณ์, 30 มกราคม 2567) สถานที่ในการทำพิธี สถานที่ในการทำพิธีสามารถทำได้ทั้งบ้านของคนทำพิธีและบ้านของผู้ป่วยเองแล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน (สุรพล สุเทนะ, สัมภาษณ์, 30 มกราคม…
-
“ตั้งธรรมหลวง” เทศน์มหาชาติ ฟังธรรมครั้งยิ่งใหญ่
ตั้งธรรมหลวง หมายถึง การเทศน์ธรรมชาดกที่ยาวกว่าเรื่องอื่น ๆ และเป็นการฟังเทศน์ครั้งใหญ่ มีคนมาร่วมฟังเทศน์กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งการฟังเทศน์ครั้งใหญ่มีทั้งการฟังเทศน์แบบธรรมวัตรและฟังมหาเวสสันดรด้วย (ปณิตา สระวาสี, 2559) รูปแบบการตั้งธรรมหลวง มี 2 แบบ (ปณิตา สระวาสี, 2559) ดังนี้ วัตถุประสงค์ ช่วงเวลาในการตั้งธรรมหลวง การตั้งธรรมหลวงส่วนใหญ่จะจัดในช่วงเดือนยี่เป็งหรือวันลอยกระทง และมีการจัดในช่วงเดือนสี่เป็ง นอกจากนี้ยังมีการตั้งธรรมฟังเทศน์มหาชาติในกรณีพิเศษ คือ การฉลองพระชนมพรรษต่าง ๆ และวาระโอกาสสำคัญของแต่ละสถานที่ การตั้งธรรมหลวงของวัดทุ่งหมื่นน้อย วัดทุ่งหมื่นน้อยมีการตั้งธรรมหลวงช่วงสิ้นปีเป็นการรวมเข้าด้วยกันกับการจัดสวดมนต์ข้ามปี แต่การตั้งธรรมหลวงมีตั้งแต่เช้า เพื่อดึงญาติโยมให้อยู่วัดทั้งวัน การตั้งธรรมหลวงจัดขึ้นแต่ละครั้งนั้นยาก เพราะต้องใช้ความสมัครสมานสามัคคีและความพร้อมในหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นผู้คน สถานที่ ซึ่งการตั้งธรรมหลวงของวัดทุ่งหมื่นน้อยถือว่าเป็นการสืบชะตาอายุตามแต่ละปีนักกษัตร โดยจะมีการเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ แต่ปีนักกษัตรมีเพียง 12 ปีเท่านั้น จึงจัดให้การเทศน์มหาชาติกัณฑ์ที่ 13 เป็นการชุมนุมรวมชะตาทุกปีเกิด รวมทั้งมีการจำลองเขาวงกต ซึ่งเป็นเรื่องราวตอนหนึ่งในมหาเวสสันดรชาดกตอนที่ พระเวสสันดรออกจากเมืองไปบำเพ็ญบารมีในป่าเขาวงกต เด็ก ๆ ที่มาวัดได้มาเล่นเขาวงกตนี้ก็จะรู้สึกสนุกสนานไปด้วย (พระครูจันทสรการ, สัมภาษณ์, 19 มกราคม…