Category: FOLKWAYS
-
ศิลปะการดุนลายโลหะ: จากโลหะแผ่นเรียบสู่ภาพวาดนูน
ลองนึกภาพแผ่นโลหะเรียบๆ ธรรมดา แล้วจู่ๆ มันก็กลายเป็นภาพที่มีชีวิตชีวา มีมิติ สามารถสัมผัสได้ด้วยปลายนิ้ว นี่คือมนตร์เสน่ห์ของศิลปะการดุนลายโลหะ ที่เปลี่ยนความเรียบง่ายให้กลายเป็นความวิจิตรงดงาม เสน่ห์ของลายเส้น การดุนลายโลหะไม่ใช่แค่งานฝีมือ แต่เป็นการถ่ายทอดอารมณ์และจินตนาการผ่านปลายนิ้วของช่างฝีมือ แต่ละรอยกด แต่ละเส้นสาย ล้วนเกิดจากความตั้งใจและความชำนาญที่สั่งสมมายาวนาน แล้วอะไรทำให้ศิลปะนี้ยังคงมีเสน่ห์ในยุคดิจิทัล? คำตอบอาจอยู่ที่ความไม่สมบูรณ์แบบที่สมบูรณ์แบบ รอยกดทุกรอย ความนูนทุกระดับ ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะชิ้นที่ไม่มีวันซ้ำ ขั้นตอนการทำ: จากแผ่นเรียบสู่ภาพนูน เคล็ดลับ: ใช้สิ่วปลายมนสำหรับพื้นที่กว้าง และสิ่วปลายแหลมสำหรับรายละเอียดเล็กๆ เคล็ดลับจากช่างฝีมือ ศิลปะที่อยู่ในมือคุณ การดุนลายโลหะไม่ใช่แค่งานฝีมือ แต่เป็นการสร้างสรรค์ที่ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกผ่านปลายนิ้ว ทุกครั้งที่คุณจับสิ่ว คุณไม่ได้แค่สร้างลวดลาย แต่กำลังเล่าเรื่องราว สืบสานวัฒนธรรม และสร้างความทรงจำที่จับต้องได้ ลองดูสิ มือของคุณอาจซ่อนพรสวรรค์ที่รอการค้นพบ แล้วคุณล่ะ พร้อมจะเปลี่ยนแผ่นโลหะธรรมดาให้กลายเป็นงานศิลป์แล้วหรือยัง แหล่งที่มา อัศวศิลป์ แผ่นชัยภูมิ. (2567, สิงหาคม 9). ครูภูมิปัญญาล้านนา สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์
-
ดอกไม้ไหว: มนต์เสน่ห์แห่งศิลปะล้านนา
ดอกไม้ไหว เป็นเครื่องประดับโบราณที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมของชาวล้านนา นอกจากจะสะท้อนถึงภูมิปัญญาและความประณีตในงานหัตถศิลป์แล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อและวิถีชีวิตของผู้คนในภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน มีกระบวนการผลิตที่ปราณีต และทรงคุณค่าทางวัฒนธรรม รวมถึงการประยุกต์ใช้ดอกไม้ไหวในบริบทสังคมปัจจุบัน จากธรรมชาติสู่งานศิลป์ ดอกไม้ไหวไม่ใช่เพียงเครื่องประดับธรรมดา แต่เป็นการผสมผสานระหว่างความงามตามธรรมชาติของดอกไม้กับความชำนาญในงานโลหะของช่างฝีมือ ชิ้นงานที่ได้จึงเป็นดอกไม้จำลองที่เคลื่อนไหวได้อย่างอ่อนช้อย สั่นไหวได้แม้เพียงลมหายใจเบา ๆ ผ่านมาสัมผัส วิธีการทำ การทำดอกไม้ไหวเป็นงานที่ต้องใช้ความประณีตและความอดทนสูง โดยมีขั้นตอนสำคัญดังนี้: คุณค่าทางวัฒนธรรม ดอกไม้ไหวมีความสำคัญทางวัฒนธรรมหลายประการ: จากอดีตสู่ปัจจุบัน แม้ว่าในอดีตดอกไม้ไหวจะใช้เป็นเครื่องประดับผมของสตรีเป็นหลัก แต่ปัจจุบันการใช้งานได้ขยายวงกว้างขึ้น: การอนุรักษ์และสืบสาน ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างการทำดอกไม้ไหวจึงมีความสำคัญยิ่ง หลายหน่วยงานและชุมชนในภาคเหนือได้จัดการอบรมและสาธิตวิธีการทำดอกไม้ไหว เพื่อถ่ายทอดความรู้นี้สู่คนรุ่นใหม่ นับเป็นความพยายามในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่านี้ให้คงอยู่สืบไป ดอกไม้ไหว จึงไม่ใช่เพียงเครื่องประดับธรรมดา แต่เป็นตัวแทนของภูมิปัญญา ความเชื่อ และศิลปะอันงดงามของชาวล้านนา ที่ยังคงส่งต่อเรื่องราวและความงามจากอดีตสู่ปัจจุบัน เชื่อมโยงผู้คนเข้ากับรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนเองได้อย่างมีชีวิตชีวา แหล่งที่มา อัศวศิลป์ แผ่นชัยภูมิ. (2567, สิงหาคม 9). ครูภูมิปัญญาล้านนา สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์
-
คุตีข้าว
ในการทำนาของภาคเหนือ เมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าว ก็ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับเกี่ยวข้าว ตีข้าว และเก็บข้าวขึ้นยุ้งฉาง การในตีข้าวสามารถตีได้หลายวิธี ไม่ว่าจะทำตาราง โดยการนำขี้วัว มาทาบริเวณพื้นนา รอให้แห้งแล้ว เอาฟ่อนข้าวมาตีกับตารางได้เลย หรือจะใช้คุสำหรับตีข้าว ซึ่งคุสำหรับตีข้าวเป็นเครื่องจักสานขนาดใหญ่ที่ทำจากไม้ไผ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 – 2.50 เมตร สูงประมาณ 90-100 เซนติเมตร โดยจะนำคุไปวางที่ใกล้ ๆ กองข้าวที่เกี่ยวเรียบร้อยแล้ว โดยมีการปูเสื่อไม้ เรียกว่า “สาดกะลา” (เสื่อกะลา) สานด้วยผิวไม้บง มาปูไว้ด้านหนึ่งของคุ เพื่อรองรับเมล็ดข้าวที่กระเด็นออกจากคุ ตอนที่ยกฟ่อนข้าวขึ้น ในการใช้คุสำหรับตีข้าวต้องใช้ไม้หีบสำหรับหนีบข้าว ไม้หีบทำจากไม้เนื้อแข็งเกลาเป็นแท่งกลมขนาดพอมือ เจาะด้านบนเป็นรูเพื่อร้อยเชือก การเจาะรูไม้ข้างหนึ่งจะเจาะรูสูง อีกข้างเจาะรูปต่ำกว่า เกือบกลางลำไม้ ใช้บริเวณด้านบน หนีบกับฟ่อนข้าว ยกขึ้นแล้วตีกับคุตีข้าว คนตีต้องยืนชิดคุเพื่อจะได้ตีสะดวก และเอาฟ่อนข้าวตีกับ “หมง” ซึ่งเป็นก้นของคุที่มีลักษณะนูนขึ้นมา การตีข้าวกับคุ สามารถตีพร้อมกันได้ถึง 4 คน ใช้การสลับเข้าตีทางเดียว เพราะอีกด้านจะได้ปูสาดกะลาเพื่อรองรับเม็ดข้าวที่กระเด็นออกนอกคุ และข้าวที่ได้จะมีความสะอาด การเก็บข้าวเปลือกที่ตีเสร็จแล้วออกจากคุ ให้นำสาดกะลามาปูเป็นทางยาวชิดก้นคุ โดยให้ปูไปตามทิศทางลม…
-
การแฮกนาปลูกข้าว
สังคมไทยปลูกข้าวเพื่อการบริโภคมาตั้งแต่ยุคโบราณกาล เรียกได้ว่า ข้าวเป็นแหล่งอาหารที่หล่อเลี้ยงคนในสังคมไทย ดังนั้นการผลิตข้าวจึงเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทย การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้านที่มีอาชีพทำนารวมไปถึงการประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม ความเชื่อเกี่ยวกับข้าว สามารถใช้เป็นอุบายให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติได้อย่างเหมาะสมและสมดุลย์ พิธีกรรมการปลูกข้าวจึงถือกำเนิดขึ้น กลายเป็นวัฒนธรรมสืบเนื่องต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของผู้ที่ประกอบอาชีพการทำนา ประเพณีการทำนาของคนล้านนาในสมัยก่อน จะทำพิธีเคารพเจ้าที่เพื่อขออนุญาติเจ้าที่และสภาพแวดล้อมทั้งปวง โดยจะมีพิธีกรรม “แฮกนา” หรือแรกนา ซึ่งเป็นพิธีกรรมสำคัญพิธีกรรมหนึ่งทางด้านการเกษตรที่เกษตรกรจะทำก่อนช่วงฤดูทำนา (ก่อนทำนาปลูกข้าว) ในราวเดือนแปดเหนือหรือเดือนหกใต้ เพื่อบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง แม่โพสพ แม่ธรณี ที่จะเริ่มทำนา เพื่อให้ได้ผลผลิตดี ไม่มีอะไรมารบกวน ก่อนการแฮกนาตามความเชื่อจะมีการศึกษาตำราพญานาคในหนังสือปีใหม่สงกรานต์ของแต่ละปีว่าพญานาคหันหน้าไปทางทิศใด เพื่อดูว่าควรจะไถนาไปในทิศทางใด ซึ่งจะไม่ไถนาย้อนเกล็ดพญานาคเพราะมีความเชื่อว่าไม่เป็นมงคล เพราะผาลไถไปไถย้อนเกล็ดนาคผู้รักษาน้ำซึ่งการไถนาย้อนเกล็ดนาค เรียกกันว่า “ไถเสาะเกล็ดนาค” “ข้าวเชื้อ” หรือ ข้าวเจื้อ ส่วนข้าวที่จะนำมาเป็นพันธุ์ข้าวสำหรับหว่าน เรียกกันว่า “ข้าวเชื้อ” หรือ ข้าวเจื้อ ในภาษาเหนือนั่นเอง โดยนำมาล้างทำความสะอาดเพื่อเอาข้าวเปลือกลีบออกและแช่ข้าวเชื้อไว้ในน้ำ 3 วัน แล้วนำออกจากน้ำมาวางไว้บนบก 3 วัน ตามคำที่เรียกกันว่า “น้ำสาม บกสาม” เพื่อรอให้ข้าวเปลือกงอกราก จากนั้นจะทำการเฝือตีขี้ไถให้แตกหรือเรียกอีกอย่างว่าการไถนาให้ดินแตกออกจากกัน และนำน้ำเข้านาปรับดินหน้านาให้จมปริ่มน้ำเล็กน้อย แล้วทำการเต็กเปี๋ยงหรือการปรับหน้าดินให้เสมอกัน นำท่อนไม้อกนกมาครืดผิวหน้านาให้เป็นร่องเพื่อแบ่งเป็นแปลงรอการนำข้าวเปลือกพันธุ์หรือข้าวเชื้อมาหว่าน เมื่อครบกำหนดการแช่ข้าวพันธุ์แล้วจึงทำพิธีแฮกหว่าน…
-
การฉลุลายสวยงาม สร้างตุงล้านนา เพื่อประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
การฉลุลาย การฉลุลาย เป็นขั้นตอนแรกในการประดิษฐ์ตุงขึ้นมา โดยการฉลุเป็นวิธีหนึ่งในการทำให้เกิดลวดลายลงบนวัสดุ ต่าง ๆ เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นไม้ แผ่นโลหะ โดยใช้เครื่องมือที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของวัสดุนั้น ๆ อย่างงานฉลุกระดาษและผ้าจะใช้สิ่วและค้อนในการตอกลงบนวัสดุให้เกิดลายสวยงาม ประวัติความเป็นมาของการฉลุลายไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่ามีที่มาอย่างไร เพียงแค่มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก่อนมีการฉลุลายในสมัยโบราณมีการตัดลายจากกระดาษตะกั่วด้วยกรรไกรเป็นวิธีการแรก เนื่องจากไม่มีเครื่องมือที่หลากหลายเหมือนในปัจจุบัน จึงใช้กรรไกรตัดลวดลายตามจินตนาการของแต่ละคน นอกจากนี้การตัดลายด้วยกรรไกรเป็นวิธีการที่ยังคงมีการใช้งานจนถึงปัจจุบัน ตุงล้านนา ตุงล้านนา เป็นเครื่องใช้ที่ใช้ในการประดับตกแต่งและใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆในวัฒนธรรมล้านนา เพื่อเป็นพุทธบูชา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อสืบชะตาให้ตนเอง ประวัติความเป็นมาของตุงล้านนา ความเชื่อของตุงล้านนา ประเภทของตุงล้านนา การแบ่งประเภทของตุงล้านนามักอ้างอิงตามพิธีกรรมที่จะใช้งานได้ 4 ประเภท ดังนี้ ข้อห้ามของตุงล้านนา ชาวล้านนาไม่นิยมนำตุงทุกประเภทมาแขวนไว้ในบ้าน ทำตุงเสร็จแล้วต้องนำไปถวายพระ เพราะส่วนใหญ่ตุงมีไว้เพื่อตัวเราในภายภาคหน้า และผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่สามารถนำไปแขวนไว้ที่ร้านอาหาร ร้านค้าทั่วไปได้ที่ผู้คนไม่อยู่อาศัย ความแตกต่างในอดีตและปัจจุบัน จากคำบอกเล่าของครูอัศวศิลป์ แผ่นชัยภูมิ ซึ่งเป็นครูภูมิปัญญาล้านนาที่มีความเชี่ยวชาญในการสืบสานวัฒนธรรม ได้กล่าวว่า ตุงในอดีตกับตุงในปัจจุบันยังคงมีความเหมือนกันมาก เนื่องจากท่านได้ทำการอนุกรักษ์ตุงล้านนาให้ใกล้เคียงกับสมัยก่อนมากที่สุด แต่ก็มีการประยุกต์วิธีการทำลวดลายด้วยการนำเครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาใช้มากขึ้น แต่ตุงที่ครูอัศวศิลป์เผยแพร่ยังคงใช้การตัดกระดาษด้วยกรรไกรอยู่ แต่เพิ่มการฉลุลายด้วยสิ่วเข้ามาด้วย การสืบสานวัฒนธรรม การสืบสานวัฒนธรรมของเชียงใหม่จะมีชั่วโมงเรียนการสืบสานภูมิปัญญาล้านนาของแต่ละโรงเรียนลงไปในหลักสูตรการเรียนการสอนด้วย แต่จะไม่จำกัดว่าเรียนเพียงแค่การประดิษฐ์ตุงล้านนาอย่างเดียว…
-
“ส่งเคราะห์” พิธีกรรมทางล้านนา ส่งสิ่งชั่วร้าย เพื่อให้อยู่สุขสบาย ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และอันตรายทั้งปวง
พิธีกรรมของแต่ละพื้นที่ถึงแม้จะมีชื่อเรียกและใจความสำคัญเหมือนกัน แต่รายละเอียดต่าง ๆ มีความแตกต่างกันไปเล็กน้อยตามความเชื่อและความศรัทธาของแต่ละชุมชน รวมถึงคาถาในการส่งเคราะห์ก็แตกต่างกันไปตามตำราที่บุคคลศึกษามา พิธีกรรมส่งเคราะห์ เกิดจากการที่บุคคลถูกคนทำไม่ดีใส่ ประสบอุบัติเหตุ ค้าขายไม่ได้กำไร เจ็บป่วย อย่างมีสาเหตุหรือไม่มีสาเหตุก็ได้ ถือว่าบุคคลนั้นมีเคราะห์กรรมมากระทบ ต้องทำพิธีกรรมให้หายจาก โรคภัยไข้เจ็บ ไม่ให้มีเคราะห์ ให้อยู่สุขสบาย ช่วงเวลา ไม่มีการกำหนดวันในการทำพิธีตายตัว แต่จะทำก็ต่อเมื่อมีคนเจ็บไข้ได้ป่วยและต้องการให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ให้มีเคราะห์มีหนาม โดยนิยมทำช่วงเช้า อุปกรณ์ 1. สะตวงที่ทำจากกาบกล้วย 1 อัน 2. ครัวห้า เช่น ข้าว 5 ก้อน กล้วย 5 ลูก อ้อย 5 อัน ส้ม 5 ผล น้ำ 5 ขวด และอาหารอย่างละ 5 ถ้วย (ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเป็นอาหารชนิดไหน สามารถใช้ได้ทุกอย่าง) 3. เทียนเล็ก 5 เล่ม 4. เทียนใหญ่…
-
“จอบตุ่ม” การถอดพิษด้วยไข่ไก่
การจอบตุ่มหรือความเชื่อต่าง ๆ ของผู้คนบางครั้งไม่สามารถที่จะไปหาต้นเหตุหรือความเป็นมาได้แล้ว จึงต้องอาศัยการมาเล่าสู่กันฟังจากคนที่เขาเคยทำ เคยได้ยินมาก่อน และความเชื่อของแต่ละคนมีความต่างกันนิดหน่อย บอกไม่ได้ว่าใครถูกใครผิด ถึงแม้จะอยู่ในอำเภอเดียวกัน การจอบตุ่ม เป็นพิธีกรรมหนึ่งที่ช่วยในการรักษาโรค โดยคำว่า “จอบ” หมายถึง ชักจูง หรือล่อให้ตาม ส่วนคำว่า “ตุ่ม” หมายถึง เม็ดที่เกิดขึ้นตามผิวหนัง ดังนั้น “การจอบตุ่ม” เป็นการล่อให้ตุ่มหรือพิษ ออกจากร่างกายเมื่อบุคคลนั้นไม่สบาย ไข้ไม่ยอมลด แม้จะให้ยากินแล้วก็ตาม ชาวบ้านเชื่อกันว่า อาจมีตุ่มลี้หรือตุ่มที่มีพิษซ่อนอยู่ในร่างกายแต่ไม่ปรากฏออกมาตามผิวหนัง จึงต้องทำพิธีการจอบตุ่ม ให้พิษต่าง ๆ ออกมา ด้วยการใช้เหรียญแถบเป็นตัวล่อ (สนั่น ธรรมธิ,2553) ภาพโดย : เพจ mgronline ช่วงเวลา ไม่มีช่วงเวลาที่แน่นอน โดยจะทำพิธีก็ต่อเมื่อมีผู้เจ็บป่วยต้องการให้คนทำพิธีรักษาให้ เนื่องจากรักษาด้วยทางการแพทย์แล้วยังคงมีอาการเจ็บป่วยอยู่ (สุรพล สุเทนะ, สัมภาษณ์, 30 มกราคม 2567) สถานที่ในการทำพิธี สถานที่ในการทำพิธีสามารถทำได้ทั้งบ้านของคนทำพิธีและบ้านของผู้ป่วยเองแล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน (สุรพล สุเทนะ, สัมภาษณ์, 30 มกราคม…
-
“ความเชื่อกับภัยที่เกิดจากฝน” หนทางสู่การเอาชนะธรรมชาติ
ภัยที่เกิดจากฝน เป็นภัยที่มาจากการเกิดฝนตกหนักหรือฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งกลายเป็นน้ำท่วม และน้ำท่วมฉับพลัน โดยเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหาย ความยากลำบากและความท้าทายที่ หลากหลายให้แก่ผู้คน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนได้รับความเสียหาย ครอบครัวต้องไร้บ้านกลายเป็นผู้พลัดถิ่น สูญเสียทั้งทรัพย์สินเงิน ทอง ทำให้เกิดการรับมือกับภัยจากฝนด้วยการนำความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง การรับมือกับภัยจากฝน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 : การวางแผนรับมือกับภัยจากฝน ส่วนที่ 2 : การรับมือป้องกันภัยจากฝน ซึ่งสามารถใช้วิธีนี้ได้ทั้งช่วงที่ฝนยังไม่ตกและฝนตกแล้ว ภาพโดย : เพจ silpa-mag แหล่งที่มา ชยุตภัฎ คำมูล. (2567, มกราคม 23). ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สัมภาษณ์
-
“ความเชื่อกับภัยจากลมพายุ” ต่อต้านการเกิดมหัตภัยเลวร้าย
ภัยจากลมพายุ เป็นภัยที่เกิดขึ้นจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเป็นอันตรายแก่ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ทำให้เกิดการพยายามต่อสู้เอาชนะภัยจาก ลมพายุ ถึงแม้ว่าจะสู้ไม่ได้เนื่องจากเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้นาน ผู้คนสามารถรับรู้ได้ ก่อนที่จะเกิดไม่กี่นาทีเท่านั้น จึงใช้ความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ เข้ามารับมือกับภัยจากลมพายุแทน การรับมือกับภัยจากลมพายุ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 : การวางแผนรับมือกับภัยจากลมพายุ ส่วนที่ 2 : การเตรียมตัวรับมือกับภัยจากลมพายุ ช่วงที่มีการจัดงานสำคัญ ๆ มักจะมีลมพายุพัดแรงมาทำลายพิธีกรรมต่าง ๆ ผู้คนเชื่อว่ามีพญามารมาคอยขัดขวางไม่ให้พิธีสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ภาพโดย : เพจวัดอุปคุต ส่วนที่ 3 : การรับมือเมื่อทำพิธีป้องกันภัยจากลมพายุแล้ว แต่ยังเกิดขึ้นอยู่ ภัยจากลมพายุแตกต่างจากภัยอื่น ๆ ตรงที่เมื่อลมพายุเกิดขึ้นไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ ผู้คนสามารถรับรู้ได้ก่อนที่จะเกิดประมาณ 5 นาที และภัยที่เกิดจากลมพายุทุกคนต้องหาวิธีแก้ไขเฉพาะหน้าด้วยตัวเอง รวมถึงการนิยมทำขึดเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ถ้าอะไรที่จะเกิดพอขึดแล้วมันจะไม่เกิดไม่ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งดี ๆ หรือสิ่งไม่ก็ตาม ผู้คนจึงนำความเชื่อนี้ไปเป็นกลอุบายในการทำให้ลมพายุที่จะเกิดขึ้นกลับกลายเป็นไม่เกิด แหล่งที่มา ชยุตภัฎ คำมูล. (2567,…
-
ร่องรอยการต่อสู้กับธรรมชาติ “ความเชื่อเกี่ยวกับภัยแล้ง”
ภัยแล้ง เป็นภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานานจนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน ซึ่งภัยแล้งเป็นภัยสำคัญอันดับต้น ๆ ของผู้คนในอดีต เพราะว่าชาวบ้านสมัยก่อนนิยมทำเกษตรกันเป็นอาชีพหลัก ภัยแล้งมาเยือนเมื่อไหร่ความลำบากเข้ามาหาแน่นอน ข้าวก็จะไม่มีกิน คนสมัยก่อนจึงคิดหาวิธีการรับมือกับภัยแล้งด้วยความเชื่อต่าง ๆ การรับมือกับภัยแล้ง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 : การวางแผนรับมือกับภัยแล้ง เป็นการคาดการณ์ว่าแต่ละปีจะเกิดภัยแล้งมากน้อยเพียงใด ถึงแม้ว่าปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยและฟังจากกรมอุตุนิยมวิทยาได้ แต่คนสมัยก่อนเขาไม่มีสิ่งเหล่านี้และไม่นิ่งนอนใจเรื่องภัยแล้งจึงมีการสังเกตแล้วก็สอนกันมาอย่างยาวนาน ภาพโดย : เพจโอ.เค.บุ๊คสโตร์ ส่วนที่ 2 : การเตรียมตัวรับมือกับภัยแล้ง คนล้านนาในสมัยก่อนส่วนใหญ่นิยมทำนา ทำการเกษตรกันซึ่งชาวบ้านจะทำไร่ทำนาช่วงเดือน 10 ของภาคเหนือหรือเดือนกรกฎาคม โดยการนับเดือนของล้านนาจะนับแบบจันทรคติ ซึ่งจันทรคติของล้านนาจะเร็วกว่าจันทรคติของภาคกลาง 2 เดือน ในช่วงเดือน 9 ของภาคเหนือก่อนทำการเกษตรต้องมีการบวงสรวง กราบไว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกอย่าง เพื่อป้องกันภัยแล้งและเพื่อให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล ภาพโดย : เพจไทยรัฐออนไลน์ ส่วนที่ 3 : การรับมือเมื่อทำพิธีป้องกันภัยแล้งแล้ว แต่ยังเกิดขึ้นอยู่ มอม (สัตว์ในป่าหิมพานต์) : ภาพโดย…