วัดจันทร์


 

ประวัติและความเป็นมามีหลากหลายเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัดจันทร์ ดังนี้

วัดจันทร์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

วัดจันทร์ มีการสันนิษฐานว่า มีการสร้างมานานกว่า 300 ปีได้มีชนเผ่าลั๊วะที่มาบุกเบิกสร้างหมู่บ้านอย่างไม่เป็นทางการมีการปักหลักที่อยู่ในท้องที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งแบ่งกันเป็นกลุ่มในการสร้างวัดขึ้นเป็นจำนวนมาก ที่มีความเลื่อมใสพระพุทธศาสนาในสมัยเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น ซึ่งในพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์และพื้นที่ใกล้เคียงมีหลักฐานว่าเป็นวัดร้างจำนวนมาก ต่อมาชาวลั๊วะก็ได้โยกย้ายจึงทำให้เป็นวัดร้างไป เหลือแต่เจดีย์ที่ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านจันทร์ที่สร้างขึ้นมาของชาวลั๊วะกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่มีคนมาบูรณปฎิสังขรณ์เพื่อเป็นที่สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านจนถึงปัจจุบัน

แต่ในขณะเดียวกันบ้านจันทร์ก็มีชื่อเป็นภาษาท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอว่า “โข่ค่อทิ” ซึ่ง “โข่” แปลว่าพระเจดีย์ จึงมีความหมายว่า “บ้านตีนธาตุ) เป็นเจดีย์องค์แรก จากนั้นมีการสร้างพระเจดีย์เพิ่มอีก 2 องค์ องค์แรกตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านมีชื่อท้องถิ่นว่า “โข่กล๊อมอ” และอีกองค์อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มีชื่อว่า “พระธาตุจอมแจ้ง” ทั้ง 3 องค์นั้นสร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน

ต่อมามีพระอุตตมะ เป็นพระธุดงค์มาจากประเทศพม่า มาเห็นบริเวณวัดจันทร์เป็นที่เงียบสงบเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนาเป็นยิ่งนัก จึงได้ปักกลดอยู่บริเวณนี้ จากนั้นมีพ่ออุ้ยดูลอย จากบ้านขุนแจ่มน้อย และพ่ออุ้ยคำหมื่นจากบ้านห้วยตอง ได้มาพบพระอุตตมะจึงเกิดความศรัทธาเลื่อมใส ได้ชักชวนกันมาตั้งรกรากที่วัดจันทร์ พร้อมกับได้ประกาศเชิญชวนหมู่บ้านใกล้เคียงได้มาร่วมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โดยมีพระอุตตมะเป็นประธาน หลังจากช่วยชาวบ้านปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใกล้จะสำเร็จ พระอุตตมะจึงได้ลาคณะศรัทธากลับไปประเทศพม่า และในระหว่างทางเกิดอาพาธหนัก จนในที่สุดก็มรณะภาพระหว่างทาง

ปีพุทธศักราช 2472-2473 พระครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยได้เดินธุดงค์มาจากอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มาพบว่าพระเจดีย์มีการบูรณะยังไม่เสร็จ จึงได้นำชาวบ้านบูรณะต่อพระเจดีย์จนเสร็จ พร้อมกับได้ยกฉัตรพระเจดีย์ขึ้น มีการเฉลิมฉลอง 7 วัน 7 คืน จากนั้นครูบาท่านก็จาริกกลับไปทางอำเภอเสมิง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมามีพระอินทนนและพระกร ชินวณโณ ตามลำดับ

ปีพุทธศักราช 2510 ทางโครงการพระธรรมจาริก วัดศรีโสดา จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดส่งพระธรรมจาริกมาปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันวัดเก่าแก่สมัยเชียงแสน ลัวะเป็นผู้สร้าง หลักฐานปัจจุบัน เป็นวัดเก่าแก่มานาน เวลานานไป ลัวะอพยพไป ในบริเวณนี้มีวัดร้างเยอะ เนื่องจากไม่มีการบูรณะ วัดจันทร์มีการบูรณะเป็นช่วง ๆ โดยพระธุดงค์เป็นผู้บูรณะ ที่วัดแห่งนี้ในสมัยพระเจ้าเอกาทศรถ พระสุพรรณกัลยา พระนเรศวร เป็นพื้นที่สมัยสงครามโลกโดยหลวงพระอุตมะเป็นพระพม่าแต่บูรณะไม่เสร็จ พุทธศักราช 2472-2473 ครูบาศรีวิชัย พาชาวบ้านมาบูรณะพระธาตุเจดีย์อย่างต่อเนื่อง

มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า บ้านวัดจันทร์เดิมที่ไม่มีชื่อเรียกเช่นนั้น เพราะมีคนชื่อ “จันทร์” เป็นชาวล้านนาที่ถูกขับไล่ออกจากครอบครัว เพราะทำผิดจารีตประเพณีของตระกูล เดินทางมาเป็นแรมเดือนมาถึงบริเวณบ้านวัดจันทร์เห็นว่าสถานที่แห่งนี้มีทำเลที่เหมาะแก่การสร้างหมู่บ้านเป็นอย่างมาก เพราะมีสถานที่กว้างขวาง มีสายน้ำแม่แจ่มไหลผ่านทางทิศตะวันออก จึงตัดสินใจปักหลักอาศัยอยู่ที่นี่  หลังจากที่ได้มาพักได้ไม่นานทางบ้านเมืองล้านนาเกิดอาเพศอย่างร้ายแรง ข้าวยากหมากแพง ไม่มีใครสามารถแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ต้องอาศัย “นายจันทร์” เท่านั้นที่จะทำให้เหตุการณ์สงบลงได้ ทางมารดาจึงให้ทาศบริวารตามนายจันทร์ให้กลับเมืองล้านนาโดยเร็ว แต่นายจันทร์ปฎิเสธ แต่สุดท้ายทนคำขอร้องไม่ได้จึงกลับตามคำสั่งแต่มีข้อแม้ว่า ให้ชาวบ้านปลูกต้นไม้ระหว่างสองข้างทางก่อนเพื่อไม่ให้ตัวเองถูกแดดถูกฝนและให้คนนอนเรียงกันให้นายจันทร์เดินข้ามจนสุดระยะทาง นายจันทร์จึงได้เดินทางกลับล้านนาเพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ด้วยเหตุนี้จึงเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “บ้านจันทร์” ตั้งแต่นั้นมา

มีหลายความเชื่อเกี่ยวกับวัดจันทร์ ดังนี้

  • วัดจันทร์ในตำนานบอกมีนายจันทร์เจ้าเมืองเป็นชาวล้านนา จึงมีที่มาของวัดจันทร์
  • สมัยนั้นมีไม้จันทร์ เยอะตามเรื่องเล่าปากต่อปาก จึงเป็นที่มาของวัดจันทร์
  • ที่บรรจุของสามกษัตริย์ ท้าวศรีจันทร์ สมัยนั้นไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่แน่ชัด
  • พระพุทธรูปสิงห์สาม จารึก ระฆังเก่า ของครูบาเจ้าศรีวิชัย ถือเป็นหลักฐานสำคัญ
  • วัดจันทร์ถือเป็นวัดแรกของเขตขุนแจ่ม ที่ชาวบ้านถือเป็นที่ยึดเหนี่ยว เป็นจุดศูนย์กลางของชาวบ้าน
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับพระราชินี ธรรมจารึก วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2522

สิ่งสำคัญภายในวัด

พระธาตุเจดีย์

เรื่องราวความเป็นมาของโบสถ์ที่มีรูปทรงคล้ายกับแว่นตานั้น มีเรื่องเล่า เนื่องจากในโบสถ์มีลักษณะคับแคบ มืด ไม่ค่อยมีแสงสว่าง จึงได้มีการเจาะแนวหลังคาของโบสถ์แล้วนำกระจกมาติดเพื่อให้แสงสว่างส่องเข้ามาด้านในของโบสถ์

พระพุทธรูปสิงห์สาม ถูกขโมยไปในสมัยก่อน ราวๆประมาณ 30-40 ปี ไม่ระบุปีพ.ศ ที่แน่ชัดที่วัดเมืองแปงมีพระพุทธรูปที่ถือว่าเป็นของคู่บ้านคู่เมือง อยู่ 3 องค์ คือ พระสิงห์สาม  โดยได้อัญเชิญมาจากบริเวณรอยพระพุทธบาทเดิมถูกทิ้งร้างไว้  พระสิงห์สามมีลักษณะงดงามมาก  โดยเฉพาะองค์ใหญ่ซึ่งมีขนาดหน้าตักกว้าง 24 นิ้ว  เป็นพระพุทธรูปที่มีพระพักตร์อิ่มเอิบ  มีรอยยิ้มพิมพ์ใจให้ความรู้สึกสงบสุขในจิตใจยามเมื่อได้อยู่เบื้องหน้าพระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้  ส่วนพระสิงห์องค์ที่  2  มีขนาดรองลงมาบ้าง  คือมีขนาดหน้าตักกว้าง 16 นิ้ว  และองค์สุดท้าย มีขนาดเล็กที่สุด คือมีขนาดหน้าตักกว้าง 12 นิ้ว

พระพุทธรูปทั้งสามองค์นี้ถือว่าเป็นของสำคัญคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวบ้านให้ความเคารพกราบไหว้บูชามาก  เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มาแต่เดิม เป็นศูนย์รวมจิตใจที่สำคัญ  และเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่บันดาลให้บ้านเมืองมีความผาสุก สงบร่มเย็นตลอดมา