Yaowapa Khueankham

  • ชีวิตสองปีในแม่โจ้

    ชีวิตสองปีในแม่โจ้

    by

    |

    in

    ชีวิตสองปีในแม่โจ้ โดย บุญช่วย เลี้ยงสกุล           การศึกษาทำให้นิสัยของมนุษย์งามน่าชม หลายคนที่พูดว่าการ กสิกรรมไม่ต้องศึกษาก็ทําได้ แน่นอน ใคร ๆ ก็ทำการกสิกรรมได้ แต่ผู้ที่มีการศึกษาสูงจึงจะทราบได้ว่า การศึกษากสิกรรมดีอย่างไร ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาคงทราบไม่ได้ว่า วิชากสิกรรมมีหลักอย่างไรบ้าง สําหรับผู้ที่ได้เรียนได้รู้คงทราบว่า วิชากสิกรรมเป็นวิชาที่ยาก ไม่ใช่เรียนจากการพูดหรือตำหรับตำราเท่านั้น ต้องอาศัยความชำนาญทางปฏิบัติเป็นส่วนมาก จึงจะยังผลให้สําเร็จได้ ผู้ใดที่ไม่นึกเช่นนี้ ก็เท่ากับไม่ได้เรียนหลักกสิกรรม กสิกรรมเป็นการกระทำที่ยากลําบาก กสิกรต้องศึกษาและปฏิบัติงานด้วยความสามารถ ทั้งต้องเป็นผู้อดทน และ ขยันขันแข็ง จึงจะทราบผลว่าการกสิกรรมเป็นอย่างไร พวกเราได้อุทิศร่างกายและใจบากบั่นมาเป็นกสิกรก็ด้วยเหตุผลที่กล่าวนั้น […]

  • วัดป่ากล้วยท่ากุญชร

    วัดป่ากล้วยท่ากุญชร

    by

    |

    in

    ประวัติและความเป็นมา วัดป่ากล้วยท่ากุญชร เป็นวัดที่ก่อตั้งใหม่ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2543  และด้วยเหตุผลคนในหมู่บ้านไม่มีที่ทำบุญของหมู่บ้าน ต้องไปอาศัยวัดตามหมู่บ้านอื่น ชาวบ้านจึงได้ก่อตั้งสำนักสงฆ์ขึ้น โดยชาวบ้านได้นิมนต์พระวรกิจ วราสโย มาดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ปีพ.ศ. 2558  เป็นสำนักสงฆ์นิกายมหายาน ตั้งอยู่บนพื้นที่ 6 ไร่ มีผู้บริจาคให้ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ต.สันนาเม็ง […]

  • อาจารย์ใหญ่คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ

    อาจารย์ใหญ่คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ

    by

    |

    in

    อาจารย์ใหญ่คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ โดย นายธีระ นาคะธีรานนท์   อาจารย์ใหญ่หรืออาจารย์พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นเสมือนบิดาหรือผู้บุกเบิก “แม่โจ้” ในตําแหน่งราชการท่านคืออาจารย์ใหญ่ ร.ร. ฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ และร.ร.มัธยมวิสามัญเกษตรกรรมแม่โจ้จังหวัดเชียงใหม่ สําหรับโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมเริ่มตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2477 เป็นรุ่นที่ 1 โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม เริ่มตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2478 เป็นรุ่นที่ 1 ผู้เขียนจบจากโรงเรียนฝึกหัดครู รุ่นที่ 3 พ.ศ. 2479-2480 โดยเป็นนักเรียนในนามของจังหวัดนครสวรรค์เป็นผู้คัดเลือกส่งไป การเดินทางจากจังหวัดนครสวรรค์ไปจังหวัดเชียงใหม่ในสมัยนั้นถือว่าเป็นระยะทางที่แสนไกล […]

  • พระคุณของครู

    พระคุณของครู

    by

    |

    in

    พระคุณของครู  โดย ศาสตราจารย์ระพี สาคริก                                                     […]

  • ไม่มีชนเหนือชั้นในแม่โจ้

    ไม่มีชนเหนือชั้นในแม่โจ้

    by

    |

    in

    ไม่มีชนเหนือชั้นในแม่โจ้ โดย กัสสปะ อัคนิทัต   ผู้เขียนหลายท่าน ได้บรรยายไว้ค่อนข้างละเอียดถึงบุคคลิกลักษณะ อุปนิสัย ความรู้ ความสามารถ ความเมตตาปราณี ความมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานทุกชนชั้น ตลอดจนการบําเพ็ญตนในฐานะอาจารย์ต่อศิษย์ได้ครบถ้วนของอาจารย์พระช่วงเกษตรศิลปการ โดยเขียนตามทรรศนะของแต่ละท่าน แต่ทั้งหลายทั้งสิ้นก็มารวมเป็นทรรศนะเดียวกันเป็นเอกฉันท์ คือท่านอาจารย์พระช่วงฯ เป็นบุคคลที่ควรแก่การเทิดทูน เคารพ บูชา และควรถือเป็นแบบอย่างของผู้ที่เป็นครูอาจารย์ ทั้งมวลที่รักและประสงค์จะเป็นครูอาจารย์ที่เพียบพร้อมด้วยคุณงามความดี เพื่อตนเองและเพื่อการศึกษาของประเทศ อีกทรรศนะหนึ่งที่ยังไม่มีผู้ใดกล่าวถึง ซึ่งได้มีความคิดคํานึงว่า การปฏิบัติตนอันเป็นอุปนิสัยของอาจารย์ในเรื่องนี้มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องที่บันดาลให้แม่โจ้เป็นดินแดนแห่งความสงบ ร่มเย็น ปราศจากการแตกแยกไม่ว่าจะเป็น ระหว่างนักเรียนต่อนักเรียน (จํานวน […]

  • เยาว์วัยในแม่โจ้

    เยาว์วัยในแม่โจ้

    by

    |

    in

    เยาว์วัยในแม่โจ้ โดย ชื่นสุข โลจายะ จําได้ว่าขณะที่อยู่กับคุณพ่อที่แม่โจ้นั้น ดิฉันเพิ่งอายุแค่ 4 ขวบ อยู่ที่นั่นจนกระทั่ง อายุ 6 ขวบ จึงกลับมาอยู่กรุงเทพฯ เราเริ่มต้นที่แม่โจ้ด้วยการอยู่ในบ้านกระต๊อบหลังคามุงด้วยใบตองตึง (ใบพลวง) ใบตองตึงเป็นใบไม้ใหญ่ รูปไข่คล้ายใบหูกวาง เอามาเย็บติดต่อกันเป็นตับๆ คล้ายตับจาก เวลาจะเดินทางจากบ้านแม่โจ้เข้าเมืองเชียงใหม่ บางครั้งไม่มีเกวียนจะนั่งก็ต้องเดิน เอาใบตองตึงมาปิดศีรษะกันแดด ตอนขากลับเข้าแม่โจ้เวลากลางคืน คุณพ่อเอาปืนมาวางบนตัก เกรงจะมีอันตรายกลางทาง เพราะเป็นการเดินทางในป่าที่แสนมืด ช่างน่ากลัวเสียจริง ๆ เด็ก ๆ […]

  • แม่โจ้ให้อะไรบ้าง

    แม่โจ้ให้อะไรบ้าง

    by

    |

    in

    แม่โจ้ให้อะไรบ้าง โดย ถมยา บุนยเกตุ   ราวต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2478 ซึ่งเป็นเวลาปิดเทอมปลาย และกําลังใกล้จะเปิดเทอมปีการศึกษาต่อไป คุณพ่อข้าพเจ้าเรียกตัวให้ไปพบแล้วก็บอกว่า “พ่อจะส่งลูกไปเรียน วิชาการเพาะปลูกที่แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่” ข้าพเจ้าไม่มีทางที่จะปฏิเสธได้นอกจากกล่าวคําว่า “ครับ” อย่างเดียว ถ้าจะนับว่าข้าพเจ้าเป็นลูกแม่โจ้ก็นับได้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สาเหตุที่ข้าพเจ้าถูกส่งไปเรียนวิชาเกษตร ข้าพเจ้ามั่นใจเหลือเกินว่าคุณพ่อและพี่ชายข้าพเจ้าปรึกษากันดีแล้ว เพราะขณะนั้นพี่ชายข้าพเจ้าได้รับราชการอยู่กรมเกษตรและได้เรียนสําเร็จวิชาการเกษตรมาจากต่างประเทศ ประกอบกับคุณพ่อของข้าพเจ้ามีสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน เงาะ มะม่วง ชมพู่ ฝรั่ง หมาก กล้วย […]

  • ครั้งหนึ่งในแม่โจ้

    ครั้งหนึ่งในแม่โจ้

    by

    |

    in

    ครั้งหนึ่งในแม่โจ้ โดย คุณหญิงช่วงเกษตรศิลปการ     เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2476 ต้น ๆ เดือน เดินทางไปเชียงใหม่ทั้งครอบครัว การเดินทางไปครั้งนี้ เนื่องจากคุณพระช่วงต้องย้ายไปรับราชการที่นั่นในตําแหน่งหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมกลางดงกลางป่า ที่ห้วยแม่โจ้ อําเภอสันทราย เวลานั้นเพิ่งเริ่มสร้างสถานี ไม่มีอาคารบ้านเรือนพอจะอาศัยได้ ต้องปลูกกระต๊อบหลังคาใบตองตึง ฝาตองตึงอยู่ แต่เรือนที่สร้างด้วยใบไม้นี้หน้าร้อนอยู่สบายที่สุด (ตัวดิฉันเองเวลานี้ก็อยากอยู่บ้านเล็ก ๆ หลังคาจากฝาจาก แต่เทศบาลไม่อนุญาตให้ปลูกในเขต) ผู้ที่ทํางานเริ่มที่สถานีทดลองทุกคนอยู่กระต๊อบทั้งนั้น ตอนแรกครอบครัวต้องเช่าบ้านอยู่ในเวียงก่อน พอปลูกกระต๊อบเสร็จก็ย้ายไปแม่โจ้ เพราะ  คุณพระช่วงเสียดายเงินค่าเช่าบ้าน […]

  • แม่โจ้ในความทรงจำของข้าพเจ้า

    แม่โจ้ในความทรงจำของข้าพเจ้า

    by

    |

    in

    แม่โจ้ในความทรงจำของข้าพเจ้า ประเทือง ประทีปะเสน ข้าพเจ้าเผอิญได้มีโอกาสได้เข้าไปอยู่ในแม่โจ้ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2482 เริ่มเข้าไปอยู่ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าสถานีทดลองภาค 5 แทนคุณยอด (George) คมสัน ก่อนที่จะเดินทางไป ก็ได้รับคําบอกเล่าที่สับลนทั้งทางดีและทางร้าย โดยที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม คําบอกเล่าในทางดีก็มีในแง่ว่าได้ไปอยู่ในเมืองคนงาม มีแต่ความสงบเรียบร้อย สนุกสนาน ในแง่ร้ายก็คือ ไปอยู่แม่โจ้ก็เหมือนถูกเนรเทศ ในโรงเรียน (เตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) มีแต่เด็กนักเลงเกเร โรงเรียนก็อยู่ห่างจากตัวเมืองตั้ง 17 กิโลเมตร ถนนติดต่อจากตัวเมืองก็ขรุขระ มีแต่ฝุ่นในฤดูแล้ง และมีแต่โคลนในฤดูฝน บริเวณสถานีทดลองและโรงเรียนก็เป็นที่ๆ […]

  • ข้าพเจ้ากับพระช่วงฯ

    ข้าพเจ้ากับพระช่วงฯ

    by

    |

    in

    ข้าพเจ้ากับพระช่วงฯ โดย ศาสตราจารย์ อินทรีย์ จันทรสถิตย์ ข้าพเจ้ารู้จักคุ้นเคยกับคุณพระช่วงตั้งแต่เรายังเป็นเด็กนักเรียนสวนกุหลาบด้วยกัน ผมอยู่ชั้นสูงกว่าเขา แต่พวกเราที่อยู่ย่านบางลําภู ถนนสิบสามห้าง วัดรังสี ก็มีอีกหลายคนที่รุ่นราวคราวเดียวกัน มักจะไปคุยกันที่บ้านคุณพ่อคุณพระช่วงบ้าง ไปฟังเขาเล่นดนตรีกันบ้าง เพราะคุณพระช่วงเป็นนักดนตรีสีซอเก่ง เรื่องการเรียนดูไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าใดนัก เพราะรู้จักกันแล้วว่าในชั้นของตัวใครเก่ง ใครไม่เก่ง ใครจะได้ทุนเล่าเรียนหลวง เป็นต้น ฉะนั้นการฝึกในด้านวิชาการ โดยเฉพาะในชั้นมัธยมปีที่ 8 จึงไม่ค่อยได้มาทําเป็นการบ้านนัก ได้รู้จักชอบพอกันมากขึ้นเมื่อเราเข้าศึกษาในวิทยาลัยเกษตรกรรมที่โลสบานโยส ประเทศฟิลิปปินส์ ผมไปเรียนก่อนเขา เขาตามไปทีหลัง เราได้อยู่กินนอนด้วยกันทั้ง 3 ปี […]

  • วัดหนองแสะ

    วัดหนองแสะ

    by

    |

    in

    ประวัติและความเป็นมา วัดหนองแสะ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ที่ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 1 ตารางวา วัดหนองแสะสร้างเมื่อปี 2404 Author: Yaowapa Kuankhum Photograph by Asek Petfuang

  • วัดต้นเกว๋น หรือวัดอินทราวาส

    วัดต้นเกว๋น หรือวัดอินทราวาส

    by

    |

    in

    ประวัติและความเป็นมา วัดอินทราวาส หรือวัดต้นเกว๋น ตั้งอยู่ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (เส้นทางหางดง – สะเมิง) วัดต้นเกว๋น เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงแบบแผนทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมล้านนาที่งดงามและทรงคุณค่ายิ่ง  แม้จะได้รับการบูรณะซ่อมแซม แต่ยังคงไว้ซึ่งศิลปะแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังเป็นต้นแบบของ หอคำหลวง สวนราชพฤกษ์ วัดอินทราวาส หรือวัดต้นเกว๋น  ตั้งชื่อตามต้นหว้า ซึ่งขึ้นตรงบริเวณที่สร้างวิหารในปัจจุบัน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดอินทราวาส ซึ่งตั้งตามชื่อเจ้าอาวาส ผู้สร้างวัดนี้ คือ ครูบาอินทร์ ตามหลักฐานที่บันทึกเป็นภาษาไทยบนเพดานวิหาร คาดว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2401 สำหรับมณฑปจตุรมุข สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ.2399 – 2412 ในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์  เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ […]