January 26, 2021
-
ศูนย์รวบรวมพรรณไม้และพืชผักท้องถิ่นจังหวัดแพร่และภาคเหนือตอนบน
in ฐานเรียนรู้ที่มาและความสำคัญ ในขณะที่พื้นที่ป่าลดลงความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตก็ลดลงไปด้วย แหล่งอาหารถูกเปลี่ยนตามความต้องการของมนุษย์โดยทุกสิ่งถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีแต่กลับเกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย ทั้งที่ปัจจัยการผลิตทางเกษตรกรรมและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยธรรมชาติเป็นหลักอยู่ โดยเฉพาะพืชพรรณซึ่งถือว่าเป็นผู้ผลิตหลักในห่วงโซ่อาหารไม่มีสิ่งใดทดแทนหน้าที่นี้ได้ อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างหนึ่งเมื่อแหล่งอาหารลดลง คือ ความหลากหลายของพันธุกรรมพืชอาหารพร้อมทั้งวัฒนธรรมการปรุงอาหารที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมกำลังจะเลือนหายไปกับกาลเวลา เพื่อให้ประชาชน เยาวชนเกิดความรัก ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่หลากหลายของการบริโภคผักพื้นถิ่นที่สั่งสมจากบรรพบุรุษมานานที่ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพและการตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม และเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้เห็นได้เห็นความสำคัญของผักพื้นถิ่น นำไปสู่การวางแผนอย่างรอบคอบ ยกระดับ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดองค์ความรู้บนฐานทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดความหลากหลายของผลผลิตสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน โดยเน้นความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้จัดตั้งศูนย์รวบรวมพรรณไม้และพืชผักท้องถิ่นจังหวัดแพร่และภาคเหนือตอนบน ภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบ ในพื้นที่ประมาณ 27 ไร่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพืชและผักพื้นถิ่นและถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติแก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาพืชผักพื้นถิ่นและยกระดับเป็นพื้นที่ที่ได้รับการรอง เป็นการทำการเกษตรในระบบเกษตรเกษตรอินทรีย์ Auther : อาจารย์ ดร.มณฑล นอแสงศรี อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ แหล่งที่มา : http://www.phrae.mju.ac.th/ext/organic-agriculture/ VDO : https://youtu.be/wHxrwt-Z0E4
-
การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผัก ผลไม้ และสมุนไพร
in องค์ความรู้การแปรรูปเครื่องดื่มพาสเจอร์ไรส์ในภาชนะบรรจุปิด เครื่องดื่มพาสเจอร์ไรส์ที่บรรจุในภาชนะปิดสนิทเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก สามารถผลิตได้ง่ายโดยใช้เครื่องมือ วิธีการที่ไม่ซับซ้อน และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมักเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่มีในท้องถิ่น การพาสเจอร์ไรส์เป็นการให้ความร้อนแก่อาหารเพื่อทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค มี 2 ระดับ วิธีใช้ความร้อนต่ำ – เวลานาน (LTLT : Low Temperature – Long Time) วิธีนี้ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 62.8 – 65.6 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที วิธีใช้ความร้อนสูง – เวลาสั้น (HTST : High Temperature – Short Time) วิธีนี้ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่าวิธีแรก แต่ใช้เวลาน้อยกว่าคืออุณหภูมิ 71.1 องศาเซลเซียส คงไว้เป็นเวลา 15 วินาที การผลิตน้ำตะไคร้ สูตรการผลิต น้ำ 1 ลิตร ใบเตยหั่นเป็นชิ้นเล็ก 100 กรัม ตะไคร้ทุบ 4 ต้น…
-
ศูนย์เรียนรู้และส่งเสริมการผลิต การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ และสารชีวภัณฑ์ ในการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดการพึ่งพาเคมีภัณฑ์เกษตร
in ฐานเรียนรู้ที่มาและความสำคัญ จุลินทรีย์มีความใกล้ชิดกับมนุษย์มาอย่างยาวนาน ประโยชน์ของจุลินทรีย์นอกเหนือจากการใช้ในการผลิตอาหารและเครื่องดื่มแล้ว แต่ยังมีบทบาทสำคัญอย่างมากในด้านการเกษตร จึงเรียกว่า “จุลินทรีย์เกษตร (Agricultural microbial)” โดยอาจจะนิยามคำว่า “จุลินทรีย์เกษตร” อย่างง่ายๆว่าเป็น จุลินทรีย์ที่อยู่ในกลุ่ม แอคติโนมัยซีส (Actinomyces) แบคทีเรีย (Bacteria) ยีตส์ (Yeast) รา (Fungi) และจุลสาหร่าย (Microalgae และ Blue green algae) ที่เติมลงไปในดิน แล้วช่วยทำให้ดินเกิดสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะปลูกพืช ทำให้พืชแข็งแรงเจริญเติบโตดี จุลินทรีย์บางสายพันธุ์สามารถใช้คลุกหรือแช่เมล็ดพันธุ์ (seed treatment) เพื่อป้องกันโรคพืชและทำให้เมล็ดพันธุ์มีอัตราการงอกที่สูงได้ และพบว่าจุลินทรีย์กลุ่มรา สามารถช่วยกำจัดแมลงและหนอนศัตรูพืชได้อีกด้วย ดังนั้นสามารถเรียกจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เหล่านี้ว่า หัวเชื้อจุลินทรีย์ (Microbial Agricultural Inoculant) หรือเรียกว่า ปุ๋ยชีวภาพ (Biofertilizer) สำหรับ สารชีวภัณฑ์ (Bio-formulation) เป็นสารสำคัญ ที่เป็นผลได้จากกระบวนการหมัก สกัดหรือแยก จากวัตถุดิบธรรมชาติ (เช่น ผัก ผลไม้ สมุนไพร เศษปลา…
-
การผลิตพืชอินทรีย์
in องค์ความรู้Maejo University Archives · IH-EP11 การปลูกพืชอินทรีย์ การจัดเตรียมความพร้อมของสภาพดิน สภาพน้ำ ให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการปลูกพืชอินทรีย์ มารู้จักกับดินในพื้นที่ของตนเอง ดินร่วน เป็นดินที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียด เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกนุ่มมือ มีสภาพค่อนข้างดีกว่าดินชนิดอื่น ปรุงง่าย ฐานดินดี สามารถระบายน้ำได้ดีปานกลางเหมาะสำหรับกำรปลูกพืชเกือบทุกชนิด แต่ควรระวังเรื่องโรคในดิน ดินทราย เป็นดินที่เมื่อเปียกแล้วยืดหยุ่น ไม่เหมาะกับการปลูกพืชเกือบทุกชนิด แต่เหมาะกับการปลูกพืชหัวบางชนิด เช่น แครท หัวไชท้าว เพราะต้องใช้น้ำในปริมาณที่มากพอสมควร ดินเหนียว เป็นดินที่ไม่ค่อยดีเพราะค่อนข้างแข็ง หากจะใช้งำนต้องผ่านการปรับปรุงดินเยอะที่สุด เหมาะกับการปลูกพืชชนิดข้าว ผักกระเฉด ผักบุ้งแก้ว ดินร่วนปนทราย เป็นดินที่มีเนื้อหยาบเล็กน้อยเหมาะแก่การปลูกพืชหัว ดินเหนียวปนทราย ควรปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักค่อนข้างเยอะเพราะดินชนิดนี้เวลารดน้ำ จะแบ่งชั้นดินระหว่างดินเหนียวและดินทรายทำให้นำมาใช้ประโยชน์ได้ยาก หากจะนำมาใช้งานต้องผ่านการปรุงดินเยอะ เหมาะกับการปลูกพืชเถาบางชนิด เช่น แตงโม ฟักทองบางพันธุ์ เป็นต้น การจัดการทรัพยากรน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของพื้นดิน “ถ้ารู้ว่าน้ำไม่เพียงพอ เราต้องจัดการระบบน้ำให้ดี น้ำไม่เพียงพอรู้ได้อย่างไร ?” สำรวจจากตัวเองก่อนว่าจะปลูกพืชชนิดไหน ใช้น้ำมากน้อยเพียงใด ถ้าน้ำพียงพอ ต่อการเกษตรทั้งปีก็ใช้ได้เลย แต่ถ้าใช้เยอะก็ควรหาแนวทางแก้ไขโดยเราควรประเมินจากพืชก่อน เช่น ผักสลัดจะต้องให้น้ำช่วงเช้า…
-
ศูนย์เรียนรู้และส่งเสริมคุณภาพตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
in ฐานเรียนรู้ที่มาและความสำคัญ ปัจจุบันการขยายตัวทางเศรษฐกิจและระบบตลาดการค้าระหว่างประเทศส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพของสินค้าและบริการเพิ่มมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการปฏิบัติตามกรอบกติกาการค้าเสรีของ World Trade Organization (WTO) จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการผลิตและการตรวจสอบเพื่อออกใบรองรับรองคุณภาพตามาตรฐานสากล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในสินค้าและบริการ การสร้างการยอมรับในสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทยเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพและความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์รายใหญ่ของโลก มีความสำคัญ ก่อให้เกิดการสร้างมาตรฐานการผลิตด้านเกษตร ดังนั้นจึงต้องการให้เกษตรกรไทยได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ต้นแบบการทำเกษตรที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ผู้ประสานงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา พงษ์การัณยภาส อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาเกษตรป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ แหล่งที่มา : http://www.phrae.mju.ac.th/ext/organic-agriculture/ VDO : https://youtu.be/PqI_LUNBQz8