การเพาะเห็ด
-
คู่มือเห็ดหลินจือ
in องค์ความรู้เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) เป็นสมุนไพรที่ได้รับการยกย่องในศาสตร์การแพทย์แผนจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีมาอย่างยาวนาน โดยมีคุณสมบัติช่วยบำรุงร่างกายและรักษาโรคต่างๆ ปัจจุบันมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่าเห็ดหลินจือสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดระดับน้ำตาลในเลือด ต้านมะเร็ง และบำรุงสุขภาพโดยรวม ชนิดของเห็ดหลินจือ เห็ดหลินจือมีหลายชนิด ซึ่งจำแนกตามสีและสรรพคุณ ได้แก่: สารออกฤทธิ์สำคัญในเห็ดหลินจือ เห็ดหลินจือมีสารสำคัญหลายชนิดที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพ ได้แก่: แนวทางการเพาะเห็ดหลินจือ การเพาะเห็ดหลินจือเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีมูลค่าสูงในตลาด และสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ ขั้นตอนหลักในการเพาะเห็ดหลินจือมีดังนี้: วิธีการบริโภคเห็ดหลินจือ เห็ดหลินจือสามารถนำมาบริโภคได้หลายรูปแบบ ได้แก่: การเลือกซื้อและการเก็บรักษาเห็ดหลินจือ เห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าทางยา และสามารถเพาะปลูกเพื่อสร้างรายได้ในเชิงพาณิชย์ได้เป็นอย่างดี การศึกษาวิจัยพบว่าเห็ดหลินจือมีสารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพ และสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ ผู้รับผิดชอบ: ปรีชา รัตนัง ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมทางการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แหล่งที่มา : https://kb.mju.ac.th/article.aspx?id=4143เอกสารฉบับเต็ม : https://maejo.link/j6nG
-
-
-
-
เห็ดตับเต่าสร้างรายได้
in องค์ความรู้Maejo University Archives · IH – EP10 – เห็ดตับเต่า King Bolete Mushroom เห็ดตับเต่า (Phlebopus colossus (Heim.) Singer) เป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกันมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็ดตับเต่าเป็นเห็ดราเอ็กโตไมคอร์ไรซ่าที่อยู่กับพืชอาศัยได้หลายชนิด เช่น ลําไย หว้า หางนกยูงไทย หางนกยูงฝรั่ง ขนุน ชมพู่ ทองหลาง ผักหวานบ้าน มะกอกน้ำ มะกล่ำต้น มะม่วง มะไฟจีน เชื้อเห็ดตับเต่าช่วยให้พืชได้รับสารอาหารโดยตรงจากกระบวนการเมตะโบไลท์ และยัง ช่วยสร้างเส้นใยห่อหุ้มรากทำให้สามารถดูดซับความชุ่มชื้นจากดินและราก ทำให้พืชสามารถทนต่อ สภาวะที่แห้งแล้งได้ดี น้ำย่อยของเห็ดตับเต่าช่วยให้แร่ธาตุอาหารในดินแปรสภาพมาอยู่ในรูปที่เป็น ประโยชน์ต่อพืช อีกทั้งยังทำหน้าที่เหมือนราเจ้าถิ่นทำให้เชื้อราโรคพืชต่างๆ เข้าทำลายพืชได้ยากขึ้น จึงทำให้ต้นไม้ที่มีเชื้อเห็ดตับเต่าอาศัยอยู่มีความแข็งแรงต้านทานต่อเชื้อราโรคพืชได้ดี เส้นใยของเห็ดราเจริญห่อหุ้มรากของต้นไม้ไว้ช่วยรักษาความชื้นให้ต้นไม้ในฤดูแล้ง และเชื้อราช่วยย่อยสลายซากพืชซาก สัตว์ในดินให้เป็นธาตุอาหารในรูปที่ต้นไม้ใช้ประโยชน์ได้ทันที และเมื่ออยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะรวมตัวกันออกเป็นดอกเห็ดบริเวณโคนต้นไม้ที่มีรากพืชกระจายอยู่ นักวิจัยได้นำดอกเห็ดตับเต่ามาทำการแยกเชื้อในห้องปฏิบัติการ เลี้ยงเชื้อลงในอาหารมันฝรั่ง (PDA) เมื่อเชื้อเดินเต็มอาหาร PDA จึงย้ายเชื้อลงเลี้ยงในอาหารเมล็ดข้าวฟ่าง เพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อให้มากขึ้น…