Tag: ภูมิปัญญา

  • โสภิณ อุ่นเมือง ภูมิปัญญาการจักสานใบมะพร้าวและแกะสลักไม้

    โสภิณ อุ่นเมือง ภูมิปัญญาการจักสานใบมะพร้าวและแกะสลักไม้

    ภูมิปัญญาการจักสานใบมะพร้าวและแกะสลักไม้

    นางโสภิณ อุ่นเมือง บ้านหนองแหย่ง ตําบลหนองแหย่ง อําาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

    ผลิตภัณฑ์สานใบมะพร้าว ได้แก่หมวก พาน ซุ้มโค้ง ซุ้มประตูป่าแบบต่างๆ พัด สลิ่ง แกะสลัก ผัก ผลไม้ และยังสามารถแกะสลักไม้รูปแบบต่างๆ ได้อีกด้วย

    ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรสอนการสานใบมะพร้าวตามสถานศึกษาได้แก่ โรงเรียนบ้านลวงเหนือ โรงเรียนชลประทานผาแตก โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ และสาธิตให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเทศ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และมีผู้เชิญให้ไปสาธิตและบรรยายในสถานที่ต่างๆ ได้ใบประกาศเกียรติคุณจาก เครือข่ายกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตรธารา เป็นครูภูมิปัญญาชุมชนของสถานศึกษาในตําบลลวงเหนือ อําเภอ ดอยสะเก็ด จังวัดเชียงใหม่

    ผลิตภัณฑ์จากใบมะพร้าว 


    การนำมะละกอและฟักทองมาแกะสลักเป็นนกยูง 

    ผลงานการแกะสลักไม้ 

    แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • รัตนา บุญจันต๊ะ ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง

    รัตนา บุญจันต๊ะ ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง

    ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง

    นางรัตนา บุญจันต๊ะ ตําบลหนองแหย่ง อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

    การทอผ้าพื้นเมือง ได้แก่ ซิ่นไตลื้อ ซิ่นลายน้ําไหล ซิ่นก่าน ผ้าซิ่นยกลาย ผ้าตัดเสื้อ ผ้าขาวม้า ตุงชัย ถุงย่ามและการทอเย็บกระเป๋า ซิ่นลายที่เป็นเอกลักษณ์และได้รับรางวัลของดีอําเภอสันทราย คือ “ซิ่นหมาต่าควายหลวง”

    วัสดุและอุปกรณ์ ฝ้าย

    1. ฝ้าย
    2. ไหมประดิษฐ์
    3. โทเร
    4. ดิ้น
    5. กี่ทอผ้า

    กระบวนการและขั้นตอนการผลิต

    1. การกรอด้ายใส่หลอด
    2. ขึ้นเส้นยืน (โว้นฝ้าย)
    3. ต่อเส้นด้าย (สืบหูก)
    4. ทอเป็นผืนผ้า (ใช้กีกระตุก)
    5. ท่าลวดลายยกดอก

    ด้านการอนุรักษ์และเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้ ได้ไปเป็นวิทยากรสอนการทอผ้าพื้นเมืองแก่ กลุ่มแม่บ้านบ้านศรีงาม ตําบลแม่แฝก อําเภอสันทราย กลุ่มสตรีแม่บ้านบ้านดงเจริญชัย ตําบลหนองแหย่ง มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และนักเรียนต่างๆ มาเก็บข้อมูลการทอผ้าแบบพื้นเมืองและลายผ้าต่างๆ ได้ไปสาธิตการทอผ้า ตามสถานที่ต่างๆ เช่น สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานของดีอําเภอสันทราย และสวนพฤกษาศาสตร์ทวีชล เป็นต้น

    การทอผ้าแบบพื้นเมืองจะต้องใช้ความอดทน ความพยายาม ทักษะและใจรัก อยากให้กลุ่มเยาวชนหรือผู้ที่สนใจมาเรียนรู้การทอผ้าแบบพื้นเมือง ลายผ้าที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะ รูปแบบและการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือให้ดํารงอยู่ในวิถีชีวิตของคนในสังคม ต่อไป


    เลื้อไตลื้อ 

    ซิ่นลายยกดอก 

    นางรัตนา บุญจันต๊ะ ได้เป็นวิทยากรและสาธิตการทอผ้ามือแบบพื้นเมือง รวมถึงการประกวด ลายทอผ้า ทําให้ได้รับรางวัลและใบเกียรติบัตรต่างๆ ดังนี้ เกียรติบัตรจากสํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในงานแอ่วเฮือน เยือนผญา พิพิธภัณฑ์มีชีวิต : วิถีล้านนา ปี 2556 ประกาศนียบัตร จากรมพัฒนาชุมชน หลักสูตรวิทยากรผู้นําสัมมาชีพ รุ่นที่ 7/62 ศูนย์ศึกษาและ พัฒนาชุมชนลําปาง ใบประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ จากโรงเรียนบ้านดงเจริญชัย เป็นผู้อนุรักษ์ วัฒนธรรมท้องถิ่น วุฒิบัตรจากจังหวัดเชียงใหม่ ได้ผ่านการฝึกอบรมส่งเสริมผู้นําองค์กรวิสาหกิจชุมชน ในการจัดทําแผนธุรกิจรุ่นที่ 4 ได้รับเกียรติบัตรรองชนะเลิศอันดับ 1 จากอําเภอสันทราย ในการ ประกวดกิ๊บเซต กระเช้าผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นของขวัญของฝาก ประเภทผ้าเครื่องแต่งกายหรือ เครื่องประดับ

    ซิ่นน้ำไหลลำยดอกสน

    ซิ่นน้ำไหลลายดอกสน 

    ซิ่นลายสายรุ้ง 

    แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • เพ็ญศรี บุญเพิ่มพูน ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง

    เพ็ญศรี บุญเพิ่มพูน ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง

    ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง

    นางเพ็ญศรี บุญเพิ่มพูน ตําบลหนองแหย่ง อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

    การทําผ้าทอมือ ผ้าซิ่น ผ้าพื้น ผ้าคลุมไหล่ การทอตุงชัย การทําถุงย่าม การทําผ้าขาวม้าและได้รับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรบรรยายและสาธิตตามสถานที่ต่างๆ ได้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านบ้านสัน หลวง กลุ่มสตรีแม่บ้านบ้านเจดีย์แม่ครัว มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลล้านนา นักเรียนมาศึกษาเก็บข้อมูลการทอผ้า ไปสาธิตการทอผ้าที่สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปสาธิตการทอผ้างานของดีอําเภอสันทราย ไปออกสินค้าในงานประชารัฐของเทศบาลตําบลหนองจ๊อมและเทศบาลตําบลหนองแหย่ง

    กลุ่มทอผ้าบ้านดงเจริญชัย ได้รับวุฒิบัตรจาการฝึกอบรมส่งเสริมผู้นําองค์กรวิสาหกิจชุมชนใน การจัดทําแผนธุรกิจรุ่นที่ 4 มอบให้โดยนายสุวัฒน์ ตันติพิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ใบ เกียรติบัตรภูมิปัญญาการทอผ้าของดีอําเภอสันทราย ได้รับประกาศนียบัตร ผ้าทอพื้นเมืองลายดอก- ลายน้ําไหล ตามโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2547 (OTOP) ประเภท 3 ดาว


    การทอผ้าฝ้าย 

    ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทอผ้า 

    แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้