Sansai Discovery

รัตนา บุญจันต๊ะ ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง

ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง

นางรัตนา บุญจันต๊ะ ตําบลหนองแหย่ง อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

การทอผ้าพื้นเมือง ได้แก่ ซิ่นไตลื้อ ซิ่นลายน้ําไหล ซิ่นก่าน ผ้าซิ่นยกลาย ผ้าตัดเสื้อ ผ้าขาวม้า ตุงชัย ถุงย่ามและการทอเย็บกระเป๋า ซิ่นลายที่เป็นเอกลักษณ์และได้รับรางวัลของดีอําเภอสันทราย คือ “ซิ่นหมาต่าควายหลวง”

วัสดุและอุปกรณ์ ฝ้าย

  1. ฝ้าย
  2. ไหมประดิษฐ์
  3. โทเร
  4. ดิ้น
  5. กี่ทอผ้า

กระบวนการและขั้นตอนการผลิต

  1. การกรอด้ายใส่หลอด
  2. ขึ้นเส้นยืน (โว้นฝ้าย)
  3. ต่อเส้นด้าย (สืบหูก)
  4. ทอเป็นผืนผ้า (ใช้กีกระตุก)
  5. ท่าลวดลายยกดอก

ด้านการอนุรักษ์และเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้ ได้ไปเป็นวิทยากรสอนการทอผ้าพื้นเมืองแก่ กลุ่มแม่บ้านบ้านศรีงาม ตําบลแม่แฝก อําเภอสันทราย กลุ่มสตรีแม่บ้านบ้านดงเจริญชัย ตําบลหนองแหย่ง มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และนักเรียนต่างๆ มาเก็บข้อมูลการทอผ้าแบบพื้นเมืองและลายผ้าต่างๆ ได้ไปสาธิตการทอผ้า ตามสถานที่ต่างๆ เช่น สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานของดีอําเภอสันทราย และสวนพฤกษาศาสตร์ทวีชล เป็นต้น

การทอผ้าแบบพื้นเมืองจะต้องใช้ความอดทน ความพยายาม ทักษะและใจรัก อยากให้กลุ่มเยาวชนหรือผู้ที่สนใจมาเรียนรู้การทอผ้าแบบพื้นเมือง ลายผ้าที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะ รูปแบบและการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือให้ดํารงอยู่ในวิถีชีวิตของคนในสังคม ต่อไป


เลื้อไตลื้อ 

ซิ่นลายยกดอก 

นางรัตนา บุญจันต๊ะ ได้เป็นวิทยากรและสาธิตการทอผ้ามือแบบพื้นเมือง รวมถึงการประกวด ลายทอผ้า ทําให้ได้รับรางวัลและใบเกียรติบัตรต่างๆ ดังนี้ เกียรติบัตรจากสํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในงานแอ่วเฮือน เยือนผญา พิพิธภัณฑ์มีชีวิต : วิถีล้านนา ปี 2556 ประกาศนียบัตร จากรมพัฒนาชุมชน หลักสูตรวิทยากรผู้นําสัมมาชีพ รุ่นที่ 7/62 ศูนย์ศึกษาและ พัฒนาชุมชนลําปาง ใบประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ จากโรงเรียนบ้านดงเจริญชัย เป็นผู้อนุรักษ์ วัฒนธรรมท้องถิ่น วุฒิบัตรจากจังหวัดเชียงใหม่ ได้ผ่านการฝึกอบรมส่งเสริมผู้นําองค์กรวิสาหกิจชุมชน ในการจัดทําแผนธุรกิจรุ่นที่ 4 ได้รับเกียรติบัตรรองชนะเลิศอันดับ 1 จากอําเภอสันทราย ในการ ประกวดกิ๊บเซต กระเช้าผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นของขวัญของฝาก ประเภทผ้าเครื่องแต่งกายหรือ เครื่องประดับ

ซิ่นน้ำไหลลำยดอกสน

ซิ่นน้ำไหลลายดอกสน 

ซิ่นลายสายรุ้ง 

แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้