Sansai Discovery

Tag: ปราชญ์ท้องถิ่น

  • อัมพร คงใหญ่ ภูมิปัญญาการทําสมุนไพรพื้นบ้าน

    อัมพร คงใหญ่ ภูมิปัญญาการทําสมุนไพรพื้นบ้าน

    ภูมิปัญญาการทําสมุนไพรพื้นบ้าน นางอัมพร คงใหญ่ ตําบลหนองแหย่ง อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การทําสมุนไพรที่ใช้รักษาภายนอก ได้แก่ การทําลูกประคบ สมุนไพรอบตัว สมุนไพรแช่ มือ แช่เท้า สมุนไพรอบหลังคลอด แผ่นสมุนไพรกําจัดกลิ่นรองเท้า สมุนไพรดับกลิ่นในรถ สมุนไพรลูกประคบน้อยช่วยผ่อนคลายเครียด นวดแผนไทยและรับอบสมุนไพร จัดจําหน่ายและขายส่งที่บ้าน ซึ่ง ขายในราคาชุดละ 30 บาท ได้รับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรตามสถานที่ต่างๆ ทั้งโรงเรียน กลุ่มแม่บ้าน เทศบาลตําบล การออก ร้านสมุนไพร การนวนเพื่อผ่อนคลายและได้รับใบประกาศเกียรติคุณยกย่อง ตามที่หน่วยงานต่างๆ เชิญให้ไปเป็นวิทยากรและสาธิตเป็นจํานวนมาก สมุนไพรแช่มือ-แช่เท้าเพื่อสุขภาพ สรรพคุณ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยบรรเทาการปวดเมื่อย ฝ่าเท้า ข้อเท้า หัวเข่า และบรรเทาอาหารหวัด ส่วนประกอบ ได้แก่ ไพร ขมิ้น ขิง ข่า ตระไคร้ เถาเอ็นยืด ใบเป้า ใบมะขาม ใบส้มป่อย เป็นต้น วิธีใช้ เอาสมุนไพรใส่ถุงผ้าขาวต้มในน้ําที่เดือดตักใส่กะละมัง พอให้น้ําอุ่นจึงแช่เท้า…

  • มานิตย์ บุญศรี ภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว

    มานิตย์ บุญศรี ภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว

    ภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว นายมานิตย์ บุญศรี ตําบลหนองแหย่ง อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผลงานการทํากระบวย ทัพพี แก้วกาแฟ แก้ววาย กระปุกออมสิน พาน (ขัน) ซึ่งทําจาก กะลามะพร้าว และยังทําด้ามมีด ด้ามขวาน การกลึงไม้รูปแบบต่างๆ แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • สุพิศ พยัคฆ์เมธี ภูมิปัญญาการทํากระดาษสาและโคมแขวน

    สุพิศ พยัคฆ์เมธี ภูมิปัญญาการทํากระดาษสาและโคมแขวน

    ภูมิปัญญาการทํากระดาษสาและโคมแขวน นางสุพิศ พยัคฆ์เมธี บ้านหนองแหย่ง ตําบลหนองแหย่ง อําาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การผลิตกระดาษสา การทําโคมแขวน การตัดตุงไส้หมู วัสดุเครื่องมือ 1. ปอสา 2. เยื่อสน 3. สีใส่กระดาษ 4. เฟลม (พิมพ์)5. ถาดน้ํา 6. เครื่องปั่นปอสา ขั้นตอนการผลิตกระดาษสา นอกจากทํากระดาษสา โคมแขวนและทําตุงใส้หมูแล้ว ได้เป็นวิทยากรสอนกลุ่มผู้สูงอายุใน หมู่บ้านหนองแหย่งและมีนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ มาเรียนรู้ที่บ้านอีกด้วย แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • โสภิณ อุ่นเมือง ภูมิปัญญาการจักสานใบมะพร้าวและแกะสลักไม้

    โสภิณ อุ่นเมือง ภูมิปัญญาการจักสานใบมะพร้าวและแกะสลักไม้

    ภูมิปัญญาการจักสานใบมะพร้าวและแกะสลักไม้ นางโสภิณ อุ่นเมือง บ้านหนองแหย่ง ตําบลหนองแหย่ง อําาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผลิตภัณฑ์สานใบมะพร้าว ได้แก่หมวก พาน ซุ้มโค้ง ซุ้มประตูป่าแบบต่างๆ พัด สลิ่ง แกะสลัก ผัก ผลไม้ และยังสามารถแกะสลักไม้รูปแบบต่างๆ ได้อีกด้วย ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรสอนการสานใบมะพร้าวตามสถานศึกษาได้แก่ โรงเรียนบ้านลวงเหนือ โรงเรียนชลประทานผาแตก โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ และสาธิตให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเทศ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และมีผู้เชิญให้ไปสาธิตและบรรยายในสถานที่ต่างๆ ได้ใบประกาศเกียรติคุณจาก เครือข่ายกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตรธารา เป็นครูภูมิปัญญาชุมชนของสถานศึกษาในตําบลลวงเหนือ อําเภอ ดอยสะเก็ด จังวัดเชียงใหม่ ผลิตภัณฑ์จากใบมะพร้าว  แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • ทองดี กันธิยะ  ภูมิปัญญาด้านการจักสาน

    ทองดี กันธิยะ ภูมิปัญญาด้านการจักสาน

    ภูมิปัญญาด้านการจักสาน นายทองดี กันธิยะ บ้านหนองแหย่ง ตําบลหนองแหย่ง อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ ได้แก่ สานแซะ สานไซ สานตุ้ม สานก๋วยสังฆ์ สานก๋วยซอง (ก๋วยสลาก) สานช้าหวด ตามต๋าแหลว สานฝาฉี สานก๋วยต๋าห่าง (ก๋วยใส่ผัก) สานไม้กวาดแข็ง สาน แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • รัตนา บุญจันต๊ะ ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง

    รัตนา บุญจันต๊ะ ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง

    ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง นางรัตนา บุญจันต๊ะ ตําบลหนองแหย่ง อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การทอผ้าพื้นเมือง ได้แก่ ซิ่นไตลื้อ ซิ่นลายน้ําไหล ซิ่นก่าน ผ้าซิ่นยกลาย ผ้าตัดเสื้อ ผ้าขาวม้า ตุงชัย ถุงย่ามและการทอเย็บกระเป๋า ซิ่นลายที่เป็นเอกลักษณ์และได้รับรางวัลของดีอําเภอสันทราย คือ “ซิ่นหมาต่าควายหลวง” วัสดุและอุปกรณ์ ฝ้าย กระบวนการและขั้นตอนการผลิต ด้านการอนุรักษ์และเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้ ได้ไปเป็นวิทยากรสอนการทอผ้าพื้นเมืองแก่ กลุ่มแม่บ้านบ้านศรีงาม ตําบลแม่แฝก อําเภอสันทราย กลุ่มสตรีแม่บ้านบ้านดงเจริญชัย ตําบลหนองแหย่ง มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และนักเรียนต่างๆ มาเก็บข้อมูลการทอผ้าแบบพื้นเมืองและลายผ้าต่างๆ ได้ไปสาธิตการทอผ้า ตามสถานที่ต่างๆ เช่น สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานของดีอําเภอสันทราย และสวนพฤกษาศาสตร์ทวีชล เป็นต้น การทอผ้าแบบพื้นเมืองจะต้องใช้ความอดทน ความพยายาม ทักษะและใจรัก อยากให้กลุ่มเยาวชนหรือผู้ที่สนใจมาเรียนรู้การทอผ้าแบบพื้นเมือง ลายผ้าที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะ รูปแบบและการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือให้ดํารงอยู่ในวิถีชีวิตของคนในสังคม ต่อไป นางรัตนา บุญจันต๊ะ ได้เป็นวิทยากรและสาธิตการทอผ้ามือแบบพื้นเมือง รวมถึงการประกวด ลายทอผ้า…

  • เพ็ญศรี บุญเพิ่มพูน ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง

    เพ็ญศรี บุญเพิ่มพูน ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง

    ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง นางเพ็ญศรี บุญเพิ่มพูน ตําบลหนองแหย่ง อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การทําผ้าทอมือ ผ้าซิ่น ผ้าพื้น ผ้าคลุมไหล่ การทอตุงชัย การทําถุงย่าม การทําผ้าขาวม้าและได้รับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรบรรยายและสาธิตตามสถานที่ต่างๆ ได้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านบ้านสัน หลวง กลุ่มสตรีแม่บ้านบ้านเจดีย์แม่ครัว มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลล้านนา นักเรียนมาศึกษาเก็บข้อมูลการทอผ้า ไปสาธิตการทอผ้าที่สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปสาธิตการทอผ้างานของดีอําเภอสันทราย ไปออกสินค้าในงานประชารัฐของเทศบาลตําบลหนองจ๊อมและเทศบาลตําบลหนองแหย่ง กลุ่มทอผ้าบ้านดงเจริญชัย ได้รับวุฒิบัตรจาการฝึกอบรมส่งเสริมผู้นําองค์กรวิสาหกิจชุมชนใน การจัดทําแผนธุรกิจรุ่นที่ 4 มอบให้โดยนายสุวัฒน์ ตันติพิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ใบ เกียรติบัตรภูมิปัญญาการทอผ้าของดีอําเภอสันทราย ได้รับประกาศนียบัตร ผ้าทอพื้นเมืองลายดอก- ลายน้ําไหล ตามโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2547 (OTOP) ประเภท 3 ดาว แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • นิคม สุคันธา ภูมิปัญญาล้านนาดนตรีพื้นเมืองประยุกต์

    นิคม สุคันธา ภูมิปัญญาล้านนาดนตรีพื้นเมืองประยุกต์

    นายนิคม   สุคันธา ภูมิปัญญาล้านนาดนตรีพื้นเมืองประยุกต์ นายนิคม สุคันธา เป็นคนตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งวงเพชรพยอม มีประสบการณ์บรรเลงวงสะล้อซึงและวงปี่พาทย์ มากกว่า 40 ปี เล่นเครื่องดนตรีได้หลายชนิดได้แก่ กลองชุด กลองบองโก้ กลองเต่งถิ้งและกำกับดูแล เครื่องเสียง วงปี่พาทย์ล้านนา “วงเพชรพยอม” แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • อินทร ทิมา ภูมิปัญญาล้านนาดนตรีพื้นเมือง 

    อินทร ทิมา ภูมิปัญญาล้านนาดนตรีพื้นเมือง 

    นายอินทร ทิมา ภูมิปัญญาล้านนาดนตรีพื้นเมือง  นายอินทร ทิมา เป็นคนตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ก่อตั้งวงดนตรีพื้นเมืองประยุกต์ “วงเพชรพยอม” ที่ชื่อมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในวงการปี่พาทย์ล้านนา รับงานแห่บรรเลงงานฟ้อนผีเจ้านาย งานฟ้อนผีมดผีเม็ง งานประเพณีของชาวล้านนาและงานอวมงคล ทำการบันทึกเทปเสียงมากถึง ๑๖ ชุด มีคนนิยมนำไปเปิดตามงานประเพณีมงคลและงานอวมงคลของภาคเหนือโดยทั่วไป  วงปี่พาทย์ล้านนา “วงเพชรพยอม” แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • คำจันทร์ จองฟอง ภูมิปัญญาปราชญ์ล้านนาการทำหมากไหม

    คำจันทร์ จองฟอง ภูมิปัญญาปราชญ์ล้านนาการทำหมากไหม

    ผลงาน การทำหมากไหม หมากแก่นแห้ง สาหรับใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ของชาวล้านนาหรือนำไปกินและ ใช้เป็นยาสมุนไพร แก้ไข้ แก้เบาหวาน ใช้ย้อมสีน้ำหมาก ยาถ่ายพยาธิ หมากไหม คือ การนำหมากที่เป็นลูกนำมาผ่าเป็นกลีบ 5-6 กลีบแล้วนำมาร้อยเป็นเส้นหรือ ร้อยไหม 1 เส้น เรียกว่า 1 ไหม 10 ไหม เรียกว่า 1 หัว 10 หัว เรียกว่า หมากหมื่น หรือ มีร้อยไหม, ร้อยเส้น การคัดเลือกต้นป๋อที่จะมาทาเป็นเชือกร้อยหมาก คือต้น ป๋อที่ดีต้องมีลักษณะที่ลำต้นตรง มีอายุ 5 ปีขึ้นไปต้องเป็นต้นป๋อที่มียอดใบสีแดงจะได้เชือกป๋อที่ดีมากถ้าเป็นป๋อยอดขาวจะได้เชือกป๋อที่พอใช้ ต้นป๋อที่ไม่สมควรนามาใช้ คือ ป๋อต่าง ป๋อริมน้ำ ป๋อแอ่นอกม้า ป๋อเกี้ยวต้น ซึ่งป๋อเหล่านี้เมื่อนำเอาเยื่อ ป๋อออกมาแล้วจะได้เส้นใยที่ไม่ตรง ฉีกขาดง่าย และต้นป๋อออกดอกออกผลจะไม่ตัดเพราะจะได้เยื่อเส้น ใยที่บางและมีน้อย เมื่อได้ต้นป๋อตามขนาดที่ต้องการแล้วตัดยาว 1 เมตร ปลอกเปลือกแล้วเอาเยื่อป๋อ ออกจะได้…