Mindblown: a blog about philosophy.
-
วงดนตรีปี่พาทย์ล้านนาวงเพชรพยอม
ผลงานวงดนตรีปี่พาทย์ล้านนาวงเพชรพยอม วงดนตรีปี่พาทย์ล้านนาวงเพชรพยอมได้มีผู้ว่าจ้างให้ไปทาการบันทึกเทปเสียงครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ. 2537 โดยพ่อครูบุญศรี รัตนัง ให้ไปบันทึกเสียง ในราคา 6,000 บาท จานวน 1 ม้วน ชื่อดนตรีพื้นเมืองลานนา กลองเต่งทิ้ง ใช้ประกอบในพิธีงานศพ บันทึกเสียงที่ วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ ประกอบด้วยเพลง หน้า A เพลงประสาทไหว, เพลงธรณีกรรแสง, เพลงดาวทอง, เพลงห่วงอาลัย, เพลงอิเหนา หน้า B เพลงมอญยกศพ, เพลงแหย่งหลวง, เพลงแหย่งน้อย, เพลงลาวกระแซ, เพลงลาว-เดินดง รูปปกเทปชื่อชุด “ดนตรีพื้นเมืองลานนากลองเติ่งทิ้ง ใช้ประกอบในพิธีแห่ศพ” ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2538 นายเทพธารา ปัญญามานะ ให้ไปบันทึกเสียง ในราคา 15,000 บาท จานวน 3 ม้วน ม้วนที่ 1…
-
นิคม สุคันธา ภูมิปัญญาล้านนาดนตรีพื้นเมืองประยุกต์
นายนิคม สุคันธา ภูมิปัญญาล้านนาดนตรีพื้นเมืองประยุกต์ นายนิคม สุคันธา เป็นคนตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งวงเพชรพยอม มีประสบการณ์บรรเลงวงสะล้อซึงและวงปี่พาทย์ มากกว่า 40 ปี เล่นเครื่องดนตรีได้หลายชนิดได้แก่ กลองชุด กลองบองโก้ กลองเต่งถิ้งและกำกับดูแล เครื่องเสียง วงปี่พาทย์ล้านนา “วงเพชรพยอม” แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
-
อินทร ทิมา ภูมิปัญญาล้านนาดนตรีพื้นเมือง
นายอินทร ทิมา ภูมิปัญญาล้านนาดนตรีพื้นเมือง นายอินทร ทิมา เป็นคนตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ก่อตั้งวงดนตรีพื้นเมืองประยุกต์ “วงเพชรพยอม” ที่ชื่อมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในวงการปี่พาทย์ล้านนา รับงานแห่บรรเลงงานฟ้อนผีเจ้านาย งานฟ้อนผีมดผีเม็ง งานประเพณีของชาวล้านนาและงานอวมงคล ทำการบันทึกเทปเสียงมากถึง ๑๖ ชุด มีคนนิยมนำไปเปิดตามงานประเพณีมงคลและงานอวมงคลของภาคเหนือโดยทั่วไป วงปี่พาทย์ล้านนา “วงเพชรพยอม” แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
-
วัดหนองอุโบสถ
วัดหนองอุโบสถ บ้านหนองหลวงพัฒนา ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ วัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2532 ประวัติวัดหนองอุโบสถเดิมทีเป็นวัดร้าง สร้างสมัยใดไม่ปรากฎ แต่มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้งสมัยพม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ พญาผาดำได้นำทัพมาตั้งมั่นบริเวณนี้ แต่ก่อนเป็นป่าทึบ ได้สูญเสียแม่ทัพนายกองเป็นจำนวนมาก แต่บางตำนานเล่าว่า พระแม่อุมาเทวี พระชายาพญาผาดำ (คือเจ้าแม่ที่คอยคุ้มครองมหาวิทยาลัยแม่โจ้) ต่อมาได้สร้างเป็นวัด และปล่อยร้างไป ผืนดินทรุดโทรม พระอุโบสถได้จมลง เหลือแต่ยอด ซึ่งอยู่ในบริเวณที่สร้าง (อุโบสถ) วิหารหลังใหม่ในปัจจุบัน และบางตำนานเล่าว่า มีอุโบสถอยู่กลางหนองน้ำ จึงได้นามว่า “วัดหนองอุโบสถ” ต่อมาหลวงพ่อยม ได้เริ่มบูรณะขึ้นมาแล้วและร้างไปอีก ต่อมาปี พ.ศ. 2500 มีพระเกษม มาอยู่ 7 วัน พ่อดำวัดแม่แก็ดน้อยมาอยู่กรรม ปี พ.ศ. 2524 วันที่ 9 เมษายน มีพระธุดงค์ 2 รูป ชื่อพระสรวง และพระกมล มาปักกลดอยู่…
-
วัดห้วยเกี๋ยง
ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 255 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับการยกฐานะเป็นวัดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2415 วัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 3026.5 ประวัติวัดห้วยเกี๋ยง เป็นวัดที่มีลำน้ำไหลผ่านหมู่บ้าน และมีต้นไม้ที่ออกดอกสีขาวขึ้นอยู่ตามสองฝั่งของลำน้ำ ชาวบ้านเรียกดอกนี้ว่า ดอกเกี๋ยง หรือดอกลำเจียก จึงได้มีการตั้งชื่อวัดและหมู่บ้านตามลำน้ำ ส่วนคำว่า มาจากลำน้ำที่ไหนผ่านหมู่บ้าน ภาษาเหนือเรียกลำน้ำนี้ว่า “ห้วย” ส่วนคำว่า “เกี๋ยง” มาจากพอกไม้ที่ออกดอกสองฝั่งลำน้ำนี้ พอรวมกันแล้วจึงเรียกว่า ห้วยเกี๋ยง มาจนถึงปัจจุบัน ภายในวัด ยังมีศูนย์ ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤษ์ อัมพาต ศูนย์สุขภาพแบบแพทย์แผนไทย เพื่อดูแลสุขภาพของผู้ที่รักสุขภาพทั้งคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ เขียน/เรียบเรียง: เยาวภา เขื่อนคำ ภาพโดย: อเสกข์ เพ็ชรเฟื่อง
-
คำจันทร์ จองฟอง ภูมิปัญญาปราชญ์ล้านนาการทำหมากไหม
ผลงาน การทำหมากไหม หมากแก่นแห้ง สาหรับใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ของชาวล้านนาหรือนำไปกินและ ใช้เป็นยาสมุนไพร แก้ไข้ แก้เบาหวาน ใช้ย้อมสีน้ำหมาก ยาถ่ายพยาธิ หมากไหม คือ การนำหมากที่เป็นลูกนำมาผ่าเป็นกลีบ 5-6 กลีบแล้วนำมาร้อยเป็นเส้นหรือ ร้อยไหม 1 เส้น เรียกว่า 1 ไหม 10 ไหม เรียกว่า 1 หัว 10 หัว เรียกว่า หมากหมื่น หรือ มีร้อยไหม, ร้อยเส้น การคัดเลือกต้นป๋อที่จะมาทาเป็นเชือกร้อยหมาก คือต้น ป๋อที่ดีต้องมีลักษณะที่ลำต้นตรง มีอายุ 5 ปีขึ้นไปต้องเป็นต้นป๋อที่มียอดใบสีแดงจะได้เชือกป๋อที่ดีมากถ้าเป็นป๋อยอดขาวจะได้เชือกป๋อที่พอใช้ ต้นป๋อที่ไม่สมควรนามาใช้ คือ ป๋อต่าง ป๋อริมน้ำ ป๋อแอ่นอกม้า ป๋อเกี้ยวต้น ซึ่งป๋อเหล่านี้เมื่อนำเอาเยื่อ ป๋อออกมาแล้วจะได้เส้นใยที่ไม่ตรง ฉีกขาดง่าย และต้นป๋อออกดอกออกผลจะไม่ตัดเพราะจะได้เยื่อเส้น ใยที่บางและมีน้อย เมื่อได้ต้นป๋อตามขนาดที่ต้องการแล้วตัดยาว 1 เมตร ปลอกเปลือกแล้วเอาเยื่อป๋อ ออกจะได้…
-
ร้าน “ไร่กาแฟเลอตอโกลด์”
ร้าน “ไร่กาแฟเลอตอโกลด์” จะสังเกตเห็นหน้าร้านได้ยากหน่อย เนื่องจากถูกบดบังด้วยร้านขายของและกิ่งไม้น้อยใหญ่โดยรอบ มีป้ายไวนิลสีทองขนาดกลางมีตัวอักษรเขียนคำว่า “ไร่กาแฟเลอตอโกลด์” แขวนติดหน้าร้านทำให้สะดุดตาคอกาแฟอย่างแน่นอน บริเวณหน้าร้านถูกตกแต่งแบบธรรมชาติ ดูเย็นตา ส่วนภายในร้านถูกตกแต่งด้วยวัสดุอุปกรณ์แนววินเทจ เน้นงานไม้ แสงไฟดูนวลตา และป้ายตกแต่ด้วยสีทองให้เข้ากับชื่อ “โกลด์” พอเข้าไปใช้บริการภายในร้านสิ่งที่น่าประทับใจมาก คือเจ้าของร้าน “คุณเกด” และพนักงานให้การต้อนรับและบริการดีมากโดยเป็นกันเอง พร้อมทั้งให้ความรู้ คำแนะนำ และนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีหลากหลายให้เลือกชิม แบบฉบับมืออาชีพ สิ่งที่น่าสนใจคือมีบริการ “ดริปต์บุฟเฟ่ต์” ในราคาท่านละ 100 บาท สามารถชิมได้ทุก Process อีกด้วย ตอบโจทย์นักชิมกาแฟเลยทีเดียว “คุณเกด” เกวลิน เปลา ผู้เป็นเจ้าของร้านและเป็นเกษตรกรในภาคเหนือ มีจุดเริ่มต้นจากการทำไร่กาแฟในตำบลแม่อุสุ อำเภอท่ายาง จังหวัดตาก โดยทำการคั่วเมล็ดกาแฟอาราบิก้าเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการรับซื้อจากเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ มาทำเป็นเมล็ดกาแฟพิเศษเพื่อสร้างรายได้ และสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้กับชุมชนเกษตรกรในพื้นที่ นอกจากผลิตภัณฑ์กาแฟแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ชาที่สามารถนั่งดื่มได้ในร้าน และยังสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่บรรจุซองและกระป๋องอย่างสวยงามกลับบ้านได้ รสชาติถูกใจ เพราะผลิตภัณฑ์มีให้เลือกหลากหลายรสชาติที่ถูกคัดสรรมาให้ในแบบสไตล์ของคุณ และการันตีด้วยการเป็นแชมป์เมล็ดกาแฟพิเศษ เมื่อปี 2017 ที่ตั้ง ถนนเชียงใหม่-พร้าว ใกล้กับโรงพยาบาลสันทราย…
-
ศุภจิตรา คำราพิช ภูมิปัญญาด้านการทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม
ผลงาน การทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม รูปแบบผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นขนาดพอดีคำ ข้าวแต๋นรูปหัวใจ ข้าวแต๋น ขนาดทั่วไป แบบราดน้ำอ้อยและแบบไม่ราดน้ำอ้อย และนำเศษข้าวแต๋นที่แตกหักหรือเป็นเม็ดมาทำเป็นข้าวแต๋นอัด ได้ออกรายการทีวีโทรทัศน์ รายการไอเดียทำเงิน ออกอาศทางช่อง ๕ และรายการของเชพโรเจอร์ แวนแดม เชฟระดับมิชชลิน ผู้ชำนาญทางด้านขนมหวานและเบเกอร์รี่ ออกอากาศที่ประเทศเบลเยี่ยม ตอน Roger Van Damme in Thailand รับออกงานสาธิตนอกสถานที่ เช่น คุ้มขันโต๊ก ร้านม่อนฝ้าย แสดงและสาธิตผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นให้นักท่องเที่ยวได้ชมและชิม รวมทั้งยังเป็นสถานที่ที่ให้นักเรียน นักศึกษามาบันทึกถ่ายทำภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำข้าวแต๋นอีกด้วย วัสดุเครื่องมือการทำข้าวแต๋น ข้าวเหนียว กข. 6 แตงโม งาดำ น้ำอ้อย น้ำตาลปีบ เกลือ น้ำมัน พิมพ์สำหรับกดข้าวแต๋น เตาอบ กระทะ ขั้นตอนการทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม ปั้นแตงโมกรองเอาแต่น้ำแตงโมนำมาผสมกับน้ำตาลปีบและเกลือ แช่ข้าวเหนียว กข.6 1 คืน นำมานึ่งให้สุกราดน้ำแตงโมและผสมเข้ากับงาดำ นำมากดใส่พิมพ์ข้าวแต๋น นำไปอบหรือนำไปตากให้แห้ง ตั้งกระทะใส่น้ำมันแล้วนำไปทอดแล้วนำมาราดด้วยน้ำอ้อย ใส่ถุงบรรจุภัณฑ์ ด้านการอนุรักษ์สืบสานเผยแพร่และการถ่ายทอดองค์ความรู้…
-
รินทอง ธินะ ปราชญ์ล้านนาด้านงานใบตอง ดอกไม้สด
ผลงาน งานใบตอง ดอกไม้สด งานบายศรีบวงสรวง บายศรีพรหม บายศรีเทพ บายศรีปากชาม ขันผูกมือ บายศรีหลัก บายศรีประกอบพิธีต่างๆ มาลัยบ่าวสาว มาลัยข้อพระกร ช่อดอกไม้สด ช่อดอกไม้เงิน ช่อดอกไม้จากใบเตย ปลาตะเพียนใบเตย พานไหว้ครู กระทงรูปทรงต่างๆ กรวยดอกไม้ จัดดอกไม้สดรูปทรงต่างๆ และเครื่องสักการะล้านนา วัสดุอุปกรณ์การทำพานไหว้ครู ใบตองตานี 5 เข็มหมุด ดอกกล้วยไม้ 6 เข็ม ด้าย ดอกบานไม่รู้รวย 7 พาน ดอกพุด 8 โฟมพุ่ม ขั้นตอนวิธีการทำ ทำงานใบตองกลีบคอม้า กลีบผกา กลีบเล็บมือนาง เป็นส่วนประกอบหลักการทาพานไหว้ครู เย็บแบบขอบใบตองกล้วยไม้ชั้นใน ประกอบงานใบตองที่ทาไว้แล้วเข้ากับโฟมพุ่มบานพานปักเข็มหมุดยึดให้แน่น ตกแต่งด้วยดอกกล้วยไม้ให้สวยงาม ร้อยมาลัยคาดพานพุ่มที่ตกแต่งแล้วยึดติดให้แน่น ทำมาลัยตูมด้วยดอกกล้วยไม้เสียตรงยอดพานพุ่ม จะได้พานพุ่มไหว้ครูที่เสร็จเรียบร้อย ด้านการเผยแพร่ อนุรักสืบสานและถ่ายทอดองค์ความรู้ ได้เชิญให้ไปเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ โรงเรียนบ้านบวกเปา โรงเรียนบ้านหัวฝาย กลุ่มผู้สูงอายุภายในหมู่บ้าน เทศบาลตาบลสันทรายหลวง สาธิตการทำงานใบตองและเครื่องสักการะล้านนาแก่ชาวต่างชาติ ให้สัมภาษณ์แก่นักศึกษาปริญญาเอก…
-
แม่ครูบัวจันทร์ นนทวาสี หัตถกรรมเครื่องสักการะล้านนาและการทําข้าวแต๋น
ผลงาน เครื่องสักการะล้านนา หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นผึ้ง ต้นเทียน ต้นดอก การทำข้าวแต๋น ได้เชิญให้ไปเป็นวิทยากรบรรยายและสถานที่ต่างๆ ทั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัยและเทศบาลตำบล จนเป็นที่ยอบรับได้รับรางวัลเกียรติคุณจากหลายหน่วยงาน การทำเครื่องสักการะล้านนา หมากสุ่ม จัดเตรียมต้อมก้อมหรือต้นกล้วยที่มีขนาดพอเหมาะประมาณ 60-80 เซนติเมตรพร้อมทำฐานต้นกล้วย ดัดไม้หรือลวดให้เป็นทรงพุ่ม นำหมากแห้งที่ร้อยเป็นเส้นแล้วมาผูกกับไม้หรือลวดที่ดัดเป็นทรงพุ่ม นำดอกไม้มาประดับตรงฐานของพุ่มหมากสุ่มให้สวยงาม หมากเบ็ง จัดเตรียมต้อมก้อมหรือต้นกล้วยที่มีขนาดพอเหมาะประมาณ 60-80 เซนติเมตรพร้อมทาฐานต้นกล้วย นำใบพลูสองใบมาพับแล้วนำมาไขว้กันเสียบไว้กับไม้เสียบลูกชิ้นพร้อมกับนำผลหมากดิบ จานวน 24 อัน นำไปเสียบกับขันต้อมก้อมหรือต้นกล้วยให้เป็นทรงพุ่ม ใช้ดอกไม้สดประดับตกแต่งฐานต้อมก้อนหรือต้นกล้วยให้สวยงาม ต้นผึ้ง จัดเตรียมต้อมก้อมหรือต้นกล้วยที่มีขนาดพอเหมาะประมาณ 60-80 เซนติเมตรพร้อมทำฐานต้นกล้วย นำขี้ผึ้งที่เป็นแผ่นมาตัดให้เป็นรูปดอกไม้แล้วปักไม้เสียบลูกชิ้นจานวน 24 อัน แล้วนำไปเสียบกับต้อมก้อมหรือต้นกล้วยให้เป็นพุ่ม นำดอกไม้สดมาตกแต่งให้เป็นพุ่มสวยงาม ต้นเทียน จัดเตรียมต้อมก้อมหรือต้นกล้วยที่มีขนาดพอเหมาะประมาณ 50-80 เซนติเมตรพร้อมทาฐานต้นกล้วย นำเทียนสองเล่มมัดตรงสนวนเข้าด้วยกันกับไม้เสียบลูกชิ้น จานวน 24 อัน แล้วนำไปเสียบกับต้อมก้อมหรือต้นกล้วยให้เป็นพุ่ม นำดอกไม้สดมาตกแต่งให้เป็นพุ่มสวยงาม ต้นเทียนดอก จัดเตรียมต้อมก้อมหรือต้นกล้วยที่มีขนาดพอเหมาะประมาณ 60-80 เซนติเมตรพร้อมทำฐานต้นกล้วย นำดอกไม้สดมาตกแต่งเป็นพุ่มให้สวยงาม รางวัลเกียรติคุณ…
Got any book recommendations?