Sansai Discovery

รินทอง ธินะ ปราชญ์ล้านนาด้านงานใบตอง ดอกไม้สด

ผลงาน

งานใบตอง ดอกไม้สด งานบายศรีบวงสรวง บายศรีพรหม บายศรีเทพ บายศรีปากชาม ขันผูกมือ บายศรีหลัก บายศรีประกอบพิธีต่างๆ มาลัยบ่าวสาว มาลัยข้อพระกร ช่อดอกไม้สด ช่อดอกไม้เงิน ช่อดอกไม้จากใบเตย ปลาตะเพียนใบเตย พานไหว้ครู กระทงรูปทรงต่างๆ กรวยดอกไม้ จัดดอกไม้สดรูปทรงต่างๆ และเครื่องสักการะล้านนา

วัสดุอุปกรณ์การทำพานไหว้ครู

  1. ใบตองตานี 5 เข็มหมุด
  2. ดอกกล้วยไม้ 6 เข็ม ด้าย
  3. ดอกบานไม่รู้รวย 7 พาน
  4. ดอกพุด 8 โฟมพุ่ม

ขั้นตอนวิธีการทำ

  1. ทำงานใบตองกลีบคอม้า กลีบผกา กลีบเล็บมือนาง เป็นส่วนประกอบหลักการทาพานไหว้ครู
  2. เย็บแบบขอบใบตองกล้วยไม้ชั้นใน
  3. ประกอบงานใบตองที่ทาไว้แล้วเข้ากับโฟมพุ่มบานพานปักเข็มหมุดยึดให้แน่น
  4. ตกแต่งด้วยดอกกล้วยไม้ให้สวยงาม
  5. ร้อยมาลัยคาดพานพุ่มที่ตกแต่งแล้วยึดติดให้แน่น
  6. ทำมาลัยตูมด้วยดอกกล้วยไม้เสียตรงยอดพานพุ่ม
  7. จะได้พานพุ่มไหว้ครูที่เสร็จเรียบร้อย
ขันผูกข้อมือ

ด้านการเผยแพร่ อนุรักสืบสานและถ่ายทอดองค์ความรู้

ได้เชิญให้ไปเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ โรงเรียนบ้านบวกเปา โรงเรียนบ้านหัวฝาย กลุ่มผู้สูงอายุภายในหมู่บ้าน เทศบาลตาบลสันทรายหลวง สาธิตการทำงานใบตองและเครื่องสักการะล้านนาแก่ชาวต่างชาติ ให้สัมภาษณ์แก่นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การบันทึกเทปโทรทัศน์จากประเทศสิงค์โป และที่บ้ายยังใช้เป็นสถานที่ให้นักเรียน นักศึกษามาเรียนรู้งานใบตองและดอกไม้สด

นางรินทอง ธินะ สอนนักเรียนทาบายศรีปากชาม

รางวัลเกียรติคุณ

  1. ได้รับรางวัลเกียรติคุณชนะเลิศ การทำเครื่องสักการะล้านนา จากเทศบาลเมืองแม่โจ้ ปี 2559
  2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดบายศรี ในงานส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นอาเภอสันทราย ปี 2560
บายสี

แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้