นายทอง สุกันธา เป็นคนตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ผลงาน
นายทอง สุกันธา มีความสนใจการจักสานจึงได้เรียนรู้ฝึกทำด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ มีความสามารถจักสานได้หลายอย่าง ได้แก่ ก๋วยตี๋นช้าง ก๋วยสังฆทาน ไม้กวาดแข็ง ไม้กวาดอ่อน ซ้าหวด ก๋วยใส่หญ้า ฝาชี ต๋าแหลว ขันโตก ตุ้มดักปลาไหล สานสาดแหย่ง (เสื่อกก) ก๋วยสลาก จักตอก
วัสดุเครื่องมือ การทำไม้กวาดแข็ง
- ด้ามไม้กวาด ใช้ไม่ไผ่รวกหรือส่วยปลายไม่ไผ่บง
- ก้านใบมะพร้าว
- เชือกพลาสติก
- กรรไกร
- มีดเหลา
- ค้อน
- คีม
- เหล็กปลายแหลม
- มีดพร้า
- เลื่อยมือ
- ปากกาหรือดินสอ
- ตะปู ขนาด 1 นิ้ว
รูปอุปกรณ์การทำไม้กวาดแข็ง
ขั้นตอนการทำไม้กวาดแข็ง
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม
- ใช้มีดเหลาเหลาใบก้านมะพร้าวออกประมาณ 200-300 ก้าน จากนั้นนำโคนของก้านใบมะพร้าวไปแช่น้ำ 30 นาที
- นำเชือกพลาสติกมาร้อยเข้ากับก้านใบมะพร้าวครั้งละ 2 ก้านไปเรื่อยๆ จนได้ความยาว 80-100 เซนติเมตร
- เมื่อร้อยก้านใบมะพร้าวเสร็จนำปลายไม้ไผ่บ่งมาตัดให้มีความยาวประมาณ 120 เซนติเมตร เจาะปลายด้ามไม้ไผ่บงให้เป็นรูทะลุไปอีกด้านหนึ่ง 2 เซนติเมตร ใช้เลื่อยตัดไม่ไผ่ให้มีความยาว 13 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร ใช้มีดเหล่าตกแต่งให้ได้ตามขนาด แล้วนำไปใส่ในช่องที่เราเจาะไว้ จากนั้นใช้ตะปู 1 นิ้วตอกเข้าไปให้แน่นและนำเชือกพลาสติกมามัดให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง
- นำก้านใบมะพร้าวที่เราร้อยเสร็จนำมามาพันกับส่วนปลายของด้ามไม้กวาดมัดให้แน่นแล้วตอกตะปูอีกครั้ง
- สานปลอกรัดเข้าด้ามนาก้านมะพร้าวมาใส่เรียงกันจนรอบด้ามไม้กวาด
- ใช้เลื่อยมือตัดส่วนโคนก้านใบมะพร้าวออกเพื่อให้มีความสวยงามเรียบเป็นแนวเดียวกัน
- นำเชือกพลาสติกมาสานยกลายสามถักไปเรื่อยๆ ให้มีความยาวประมาณ 5 นิ้ว
- นำเชือกพลาสติกมาสาน “ลายอุ่มหน้า” ถักไปจนรอบก้านใบมะพร้าว
- นำเชือกพลาสติกมาสาน “ลายดูกงู” ถักไปจนรอบก้านใบมะพร้าวอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความสวยงามและก้านใบมะพร้าวจะไม่หลุดได้ง่าย
- เสร็จสิ้นการทำไม้กวาดแข็ง
นายทอง สุกันธา กาลังทำไม้กวาดแข็ง
ไม้กวาดแข็งที่ทำเสร็จแล้ว
การอนุรักษ์สืบสาน เผยแพร่และการถ่ายทอดองค์ความรู้
ได้มีผู้ที่ให้ความสนใจมาเรียนการจักสานที่บ้านหลายคนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ สอนให้คนอื่นรู้เพื่อเป็นวิทยาทาน และยากให้ผู้ที่มีความสนใจในด้านนี้มาเรียนรู้เพราะไม่ยากให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการจักสานหายไปจากชุมชน
แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้