พระครูโกวิทธรรมโสภณ ชื่อเดิม ศรีผ่อง ฉายา โกวิโท นามสกุล บุญเป็ง อาศัยอยู่ที่ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
พระครูโกวิทธรรมโสภณ เป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 วัตถุโบราณชิ้นแรกที่ได้มา คือแม่พิมพ์ปั้นอิฐรูปโค้ง ทำจากไม้สัก ต่อมาจึงได้เริ่มเก็บสะสมโบราณวัตถุ – ศิลปวัตถุชนิดต่างๆ และมีผู้มาบริจาคเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีวัตถุที่จัดแสดงมีมากกว่า 7,000 ชิ้น อาคารที่ใช้จัดแสดงของพิพิธภัณฑ์มีทั้งหมด 2 หลัง ได้แบ่งการจัดแสดงไว้ดังนี้
อาคารพิพิธภัณฑ์หลังที่ 1 เป็นอาคารชั้นเดียว ใช้จัดแสดงวัตถุโบราณต่างๆ ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก เช่น อาวุธโบราณ หีบธรรม เครื่องครัวโบราณ มีดหมอแหกพิษทำจากเขาควายที่ถูกฟ้าผ่าตาย วิทยุโบราณ ที่หนีบอ้อย ที่กรองน้ำโบราณ เอกสารพับสาใบลานต่างๆ ขันโบราณ เครื่องประดับ
อาคารพิพิธภัณฑ์หลังที่ 2 เป็นอาคารชั้นเดียว ใช้จัดแสดงวัตถุที่ทาจากไม้แกะสลักและชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม เช่น จองพารา ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หีบธรรม ตู้ธรรม เพดานโบสถ์วิหาร พระพุทธรูปหยกขาว
วัตถุต่างๆ ที่จัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑ์
วัตถุต่าง ๆ ที่จัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑ์
วัตถุต่าง ๆ ที่จัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑ์
รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ
- 11 พฤษภาคม 2543 ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพ
- 3 พฤศจิกายน 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดาเนินทรงเปิดงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร พร้อมเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง
- 26 สิงหาคม 2553 ได้รับพระราชทานเข็มเกียรติคุณวันอนุรักษ์มรดกไทย จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ
- 28 เมษายน 2560 ได้รับรางวัลภูมิแผ่นดินปิ่นล้านนา สาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2560 สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้คัดเลือกให้วัดร้องเม็งเป็นอุทยานการศึกษาในวัดได้รับคะแนนมาเป็นอันดับ 1 ของประเทศ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเข็มเกียรติคุณวันอนุรักษ์มรดกไทย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการวัดร้องเม็ง
ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร
แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา ปี 2562 โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้