Beliefs

“ความเชื่อกับภัยที่เกิดจากฝน” หนทางสู่การเอาชนะธรรมชาติ

ภัยที่เกิดจากฝน เป็นภัยที่มาจากการเกิดฝนตกหนักหรือฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งกลายเป็นน้ำท่วม และน้ำท่วมฉับพลัน โดยเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหาย ความยากลำบากและความท้าทายที่ หลากหลายให้แก่ผู้คน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนได้รับความเสียหาย ครอบครัวต้องไร้บ้านกลายเป็นผู้พลัดถิ่น สูญเสียทั้งทรัพย์สินเงิน ทอง ทำให้เกิดการรับมือกับภัยจากฝนด้วยการนำความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง การรับมือกับภัยจากฝน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 : การวางแผนรับมือกับภัยจากฝน ส่วนที่ ...
Beliefs

 “ความเชื่อกับภัยจากลมพายุ” ต่อต้านการเกิดมหัตภัยเลวร้าย

ภัยจากลมพายุ เป็นภัยที่เกิดขึ้นจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเป็นอันตรายแก่ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ทำให้เกิดการพยายามต่อสู้เอาชนะภัยจาก ลมพายุ ถึงแม้ว่าจะสู้ไม่ได้เนื่องจากเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้นาน ผู้คนสามารถรับรู้ได้ ก่อนที่จะเกิดไม่กี่นาทีเท่านั้น จึงใช้ความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ เข้ามารับมือกับภัยจากลมพายุแทน การรับมือกับภัยจากลมพายุ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 : การวางแผนรับมือกับภัยจากลมพายุ ส่วนที่ ...
Beliefs

ร่องรอยการต่อสู้กับธรรมชาติ “ความเชื่อเกี่ยวกับภัยแล้ง”

ภัยแล้ง เป็นภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานานจนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน ซึ่งภัยแล้งเป็นภัยสำคัญอันดับต้น ๆ ของผู้คนในอดีต เพราะว่าชาวบ้านสมัยก่อนนิยมทำเกษตรกันเป็นอาชีพหลัก ภัยแล้งมาเยือนเมื่อไหร่ความลำบากเข้ามาหาแน่นอน ข้าวก็จะไม่มีกิน คนสมัยก่อนจึงคิดหาวิธีการรับมือกับภัยแล้งด้วยความเชื่อต่าง ๆ การรับมือกับภัยแล้ง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 : การวางแผนรับมือกับภัยแล้ง เป็นการคาดการณ์ว่าแต่ละปีจะเกิดภัยแล้งมากน้อยเพียงใด ถึงแม้ว่าปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยและฟังจากกรมอุตุนิยมวิทยาได้ แต่คนสมัยก่อนเขาไม่มีสิ่งเหล่านี้และไม่นิ่งนอนใจเรื่องภัยแล้งจึงมีการสังเกตแล้วก็สอนกันมาอย่างยาวนาน   ...
Beliefs

“ผีหม้อนึ่ง” ที่พึ่งทางใจของชาวล้านนา

เรื่องราวของผีหม้อนึ่งที่ถูกเล่าผ่านมุมมองของผู้ที่เคยพบเห็นไม่ใช่ผู้สืบทอดโดยตรง ซึ่งเล่าเรื่องราวโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยุตภัฎ คำมูล เป็นอาจารย์สังกัดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ทำงานอยู่ภายในพื้นที่ของอำเภอสันทราย แต่อาจารย์มีความรู้เกี่ยวกับการลงผีหม้อนึ่งจากบ้านเกิดอำเภอแม่แตง ถึงแม้จะต่างอำเภอกัน มีจุดแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ใจความสำคัญเหมือนกัน และการแบ่งพื้นที่ทางวัฒนธรรมไม่มีการแบ่งที่ชัดเจนเหมือนกับการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงเป็นการใช้วัฒนธรรมของชาวล้านนาร่วมกันอีกด้วย ผีหม้อนึ่ง คือ ผีชนิดหนึ่งที่อยู่ในจำพวกผีเรือนซึ่งสถิตอยู่กับหม้อที่ใช้นึ่งข้าว และเป็นความเชื่อที่เสมือนการเสี่ยงทายรูปแบบหนึ่งเพื่อช่วยเหลือผู้คนในกรณีที่วิทยาศาสตร์ให้คำตอบไม่ได้ อย่างการเจ็บป่วยที่ไม่รู้สาเหตุ หรือ การเจ็บป่วยบ่อยเกินกว่าปกติ อุปกรณ์ในการลงผีหม้อนึ่ง 1. หม้อนึ่ง2. ไหข้าว3. ข้าวสารประมาณ ...