FOLKWAYS

“ประเพณีปอยหลวง” การเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ของชาวล้านนา

คำว่า “ปอย” เป็นคำพื้นเมืองของภาคเหนือ หมายถึง งานฉลองรื่นเริง คำว่า “หลวง” หมายถึง ยิ่งใหญ่ ความเป็นมา สมัยพุทธกาลมีนางวิสาขามหาอุบาสิกา ได้สร้างวัดชื่อ “บุพพาราม” ถวายแก่พระพุทธเจ้า ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า วัดที่ประดิษฐานขึ้นมามีความงดงามมาก เมื่อสร้างเสร็จนางจึงจัดให้มีการเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่และสนุกสนาน รวมถึงนางวิสาขามหาอุบาสิกาได้พาลูกหลานมาฟ้อนรำรอบวิหาร ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้มีการจัดงานประเพณีปอยหลวงขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน ความสำคัญ ประเพณีปอยหลวง เป็นการเฉลิมฉลองถาวรวัตถุของวัดหรือสิ่งก่อสร้างที่ผู้คนช่วยกันประดิษฐานขึ้นมาเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ และเพื่อให้เกิดอานิสงส์แก่ตนเองและครอบครัวถือว่าได้บุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ...
FOLKWAYS

“ตานข้าวใหม่” ประเพณีหลังฤดูเก็บเกี่ยว ระลึกถึงบุญคุณคน

ประเพณีตานข้าวใหม่ เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้า เมื่อชาวบ้านได้ยินสัญญานที่เกิดจากไม้ที่ระเบิดที่เกิดจากการทำหลัวหิงไฟพระเจ้า ก็จะนำข้าวใหม่หลังการเก็บเกี่ยวไปทำบุญที่วัด ความเป็นมา ความเป็นมาของประเพณีตานข้าวใหม่มีหลากหลายเรื่องราวที่ถูกบอกเล่าต่อ ๆ กันมามีทั้งความคล้ายคลึงกันและแตกต่างกันบางส่วน ขึ้นอยู่กับความเชื่อและมุมมองของบุคคลที่มีต่อประเพณี ถึงแม้ว่าจะเป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเดียวกัน ดังนี้ ช่วงเวลาในการจัดประเพณี ประเพณีตานข้าวใหม่นิยมจัดในช่วงเดือนสี่เป็งของภาคเหนือ หรืออยู่ในช่วงประมาณปลายเดือนธันวาคมจนถึงเดือนมกราคม ซึ่งในปี 2567 ตรงกับวันที่ 27 มกราคม เช่นเดียวกับประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้า ขั้นตอนในงานประเพณีตานข้าวใหม่ ประเพณีตานข้าวใหม่มีความเกี่ยวข้องกับประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้า เนื่องจากชาวบ้านได้ยินเสียงระเบิดที่เกิดจากการทำหลัวหิงไฟพระเจ้าเป็นการส่งสัญญาณให้ชาวบ้านมาทำบุญที่วัด ...
FOLKWAYS

“ตานหลัวหิงไฟพระเจ้า” ประเพณีที่มอบความอบอุ่นในเดือนสี่เป็ง

"ตาน" คือ ถวาย,ทาน "หลัว" คือ ฟืนที่นำมาเป็นเชื้อก่อไฟ "หิง" คือ การผิงไฟ,การก่อไฟ "พระเจ้า" คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเป็นมา ความเป็นมาของประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้ามีความสอดคล้องกับบริบททางสภาพแวดล้อม เนื่องจากเป็นพื้นที่ ๆ มีอากาศหนาวจัดมาก มีป่าไม้ที่อุดสมบูรณ์ ต้นไม้ขึ้นหนาแน่น และมีความชื้นสูง นอกจากนี้ชาวบ้านนิยมไปทำบุญตักบาตรช่วงเช้าที่มีอากาศหนาวเย็น ผู้คนในสมัยก่อนจึงมีการคิดหากุศโลบายว่า ให้ชาวบ้านเอาไม้ไปคนละวา ...
FOLKWAYS

มนต์เสน่ห์วัฒนธรรมลอยกระทงแบบล้านนา “ประเพณียี่เป็ง”

ประเพณียี่เป็ง เป็นประเพณีเก่าแก่ของภาคเหนือที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 ในภาษาเหนือ คำว่า “ยี่” แปลว่า สอง ส่วนคำว่า “เป็ง” แปลว่า เพ็ญ หรือ พระจันทร์เต็มดวง โดยเดือนทางภาคเหนือจะนับเร็วกว่า 2 เดือน ซึ่งเดือนยี่ของภาคเหนือตรงกับเดือน 12 ของภาคกลางหรือวันลอยกระทง ความเป็นมา ความเชื่อ ความเชื่อของประเพณียี่เป็ง ...