Yaowapa Khueankham

  • วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล

    วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล

    วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล ตั้งอยู่ที่ 467 หมู่ 5 ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีประวัติอันยาวนาน โดยเป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ และเคยเป็นที่ที่ตั้งทัพของพญามังรายมมหาราช อายุมากกว่า 735 ปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัดแรกของอําเภอพร้าว โดยวัดพระธาตุดอยเวียงชัยก่อนที่จะมีการบูรณปฏิสังขรณ์จนเป็นวัดพระธาตุดอยเวียงชัยในปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 5 ยุคด้วยกัน คือ ยุคที่ 1 อ้างในตำนานพระเจ้าเลียบโลก เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิเขตล้านนาไทย พระพุทธองค์ทรงเสด็จมายังม่อนดอยเวียง (ปัจจุบันคือวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล) พร้อมพระอานนท์เถระ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวจึงได้พากันมาทำบุญใส่บาตรฟังธรรมอุปัฏฐากดูแลพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอานนท์ทุกวัน […]

  • โรงเรียนเกษตรแม่โจ้สมัยบุกเบิก

    โรงเรียนเกษตรแม่โจ้สมัยบุกเบิก

    กําจร บุญแปง สิ่งประทับใจครั้งแรก ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2477 ผมได้ไปรายงานตัวที่แผนกศึกษาธิการในฐานะเป็น นักเรียนทุนครูเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ แล้วก็เดินทางออกจากจังหวัดกลับไปบ้านที่บ้านต้นซาง หมู่ที่ 9 ต. สันทรายหลวง อ. สันทราย โดยพาหนะรถจักรยานสามล้อแบบตอปิโด (คือรถพ่วงข้าง คนโดยสารนั่งข้างคนขี่รถ แต่หันหน้าไปข้างหน้า 1 คน และหันหน้าไปทางท้ายรถ 9 คน) เสียค่ารถหนึ่งสลึง (25 สตางค์) สำหรับระยะทางราว 10 กม. […]

  • วัดดอยแท่นพระผาหลวง “พระบิ่นหลังต๋ำ”

    วัดดอยแท่นพระผาหลวง “พระบิ่นหลังต๋ำ”

    วัดเก่าแก่ที่ซ่อนตัวบนภูเขาหลังอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ เป็นวัดที่มีตำนานที่เล่าขานกันมาเกี่ยวกับการสร้างวัดตั้งแต่สมัยมีการสร้างเมืองเชียงใหม่ ตำนานเกี่ยวกับ ”พระบิ่นหลังต๋ำ” แห่งวัดดอยแท่นพระผาหลวง ตัววัดตั้งอยู่ที่ ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ จากเส้นทางถนน เชียงใหม่-พร้าว ขับรถมาเรื่อย ๆ เลยตลาดแม่โจ้ไปกลับรถที่หน้าศูนย์วิจัยพืชไร่ และมีเลี้ยวเข้าซอยขวามือทางไปอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ขับรถตามเส้นทางไปเรื่อย ๆ จะมีทางเลี้ยวซ้ายเข้าไปที่อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ เส้นทางผ่านป่าชุมชน พอเลยอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ขึ้นไป จะมองเห็นพระนอนองค์ใหญ่สีเหลืองอร่าม อยู่บริเวณตีนเขา มีปู่เทพอสูร คอยปกปักรักษาพื้นที่ของวัด และ เพื่อรอรับพุทธศาสนิกชนที่จะขึ้นไปสักการะพระพุทธรูปในตำนาน “พระบิ่นหลังต๋ำ” ซึ่งเป็นภาษาเหนือ “บิดหลัง” คือการหันหลัง […]

  • อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ทะเลสาบแห่งผืนป่าบ้านโปง

    อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ทะเลสาบแห่งผืนป่าบ้านโปง

       เมื่อมีคนถามว่าแม่โจ้มีสถานที่สวย ๆ หรือเปล่า ตอบเลยว่ามีค่ะ มีหลายที่ด้วย และหนึ่งในนั้นคือ อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ  ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มีความสวยงามไม่แพ้ที่ใด  อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ตั้งอยู่บริเวณชุมชนบ้านโปง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน  เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2527 ให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อส่งน้ำเสริมให้กับพื้นที่จัดสรรของราษฎรที่อพยพจากเขตน้ำท่วม 300 ครอบครัว […]

  • สระเกษตรสนาน

    สระเกษตรสนาน

    งานฤดูหนาวจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2478 นั้น เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2478 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2479 ทางสถานีทดลองกสิกรรม และโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ก็ได้จัดนิทรรศการแสดงกิจกรรมการเกษตรด้วยโดยใช้อาคาร “เรือนเพชร” โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยเป็นที่จัดแสดงเป็นครั้งแรกที่มีการออกร้านนิทรรศการของหน่วยงานราชการ จากส่วนกลางไปร่วมงานฤดูหนาวเชียงใหม่ วันที่ 18 ธันวาคม 2478 อาจารย์ใหญ่ คุณพระช่วงฯ ได้หารือกับนักเรียนทั้งหมด 266 คน ในวันปิดภาคเรียนเทอมกลาง […]

  • อาหารท้องถิ่นภาคเหนือ : คั่วเห็ดถอบ (คั่วเห็ดเผาะ)

    อาหารท้องถิ่นภาคเหนือ : คั่วเห็ดถอบ (คั่วเห็ดเผาะ)

               “เห็ดถอบ” ภาษาเหนือหรือเรียกกันอีกชื่อว่า เห็ดเผาะ  เป็นเห็ดพื้นบ้านที่จะออกในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือและภาคอีสาน มีรูปร่างกลม หรือรี  เนื้อสัมผัสกรุบกรอบ มีรสชาติดี และสามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู   ราคาค่อนข้างสูง และหายาก เห็ดถอบหรือเห็ดเผาะ เป็นเห็ดราชั้นสูงที่อาศัยเจริญเติบโตและการสังเคราะห์แสงจากรากพืช ที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็น เห็ดถอบหนัง และ เห็ดถอบฝ้าย ส่วนใหญ่พบในป่าเต็งรัง และป่าสนเขา เกิดในดินที่เป็นดินเหนียวปนดินแดง ซึ่งปกติมักจะออกในบริเวณโคนต้นยาง     […]

  • อาหารท้องถิ่นชนเผ่าปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง)  : ข้าวต้มมัด (เมตอ)

    อาหารท้องถิ่นชนเผ่าปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) : ข้าวต้มมัด (เมตอ)

                 “เมตอ” (ข้าวต้มมัด) เป็นอาหารท้องถิ่นของชนเผ่าปะกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) บ้านห้วยผักกูด ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมนูอาหารที่ได้มาจากพืชผักที่หาได้จากธรรมชาติ “เมตอ” เป็นเมนูอาหารที่ชาวปะกาเกอะญอ นำมาใช้ประกอบในพิธีมงคลต่างๆ เช่น พิธีมงคลสมรส พิธีมัดมือคนในครอบครัว พิธีมัดมือสัตว์เลี้ยง (ช้าง และ กระบือ) โดยมีความเชื่อว่าจะทำให้เกิดความรักความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เฉกเช่นข้าวต้มที่มัดอยู่ด้วยกัน พิธีมัดข้อมือเรียกขวัญ เชื่อว่าจะทำให้เกิดความรัก […]

  • คุตีข้าว

    คุตีข้าว

    ในการทำนาของภาคเหนือ เมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าว ก็ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับเกี่ยวข้าว ตีข้าว และเก็บข้าวขึ้นยุ้งฉาง การในตีข้าวสามารถตีได้หลายวิธี ไม่ว่าจะทำตาราง โดยการนำขี้วัว มาทาบริเวณพื้นนา รอให้แห้งแล้ว เอาฟ่อนข้าวมาตีกับตารางได้เลย หรือจะใช้คุสำหรับตีข้าว ซึ่งคุสำหรับตีข้าวเป็นเครื่องจักสานขนาดใหญ่ที่ทำจากไม้ไผ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 – 2.50 เมตร สูงประมาณ 90-100 เซนติเมตร โดยจะนำคุไปวางที่ใกล้ ๆ กองข้าวที่เกี่ยวเรียบร้อยแล้ว โดยมีการปูเสื่อไม้ เรียกว่า “สาดกะลา” (เสื่อกะลา) สานด้วยผิวไม้บง มาปูไว้ด้านหนึ่งของคุ […]

  • วัดทุ่งหมื่นน้อย

    วัดทุ่งหมื่นน้อย

    วัดทุ่งหมื่นน้อย ตั้งอยู่ เลขที่ 289 หมู่ 9 บ้านทุ่งหมื่นน้อย ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ถนนสายเชียงใหม่-พร้าว เขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ เดิมวัดทุ่งหมื่นน้อยนี้เป็นวัดร้าง วัดสร้างเมื่อไรนั้นไม่มีประวัติเพียงแต่มีคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้น จากคำบอกเล่าว่ามีขาวบ้านชื่อพ่ออุ้ยหมื่น และแม่อุ้ยหน้อย เป็นคนบริจาคที่เพื่อสร้างวัด แต่กระนั้นก็ไม่ได้มีหลักฐานชี้ชัดว่าเป็นเช่นนั้นหรือไม่ อีกข้อสันนิฐานหนึ่งอาจเป็นชื่อของผู้ที่มอบพื้นที่ให้สร้างวัดที่มีตำแหน่งทางราชการเป็นท่านหมื่น อันนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดเช่นเดียวกัน สมัยก่อนชาวบ้านอาศัยอยู่ท้ายวัด วัดจะอยู่หัวบ้าน แต่มาตอนหลังทางท้ายหมู่บ้านเกิดน้ำท่วมชาวบ้านเลยหนีขึ้นมาปลูกบ้านบนที่ดอน ปัจจุบันวัดเลยอยู่ท้ายหมู่บ้าน วัดนี้ถือว่าเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในอำเภอสันทราย ในสมัยก่อนมีพระภิกษุเวียนมาจำพรรษาบ้าง ไม่มีบ้าง จนกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาเป็นช่วงเวลาหนึ่ง ไม่มีคนดูแลวัดชาวบ้านเลยเอาวัวเอาควายมาเลี้ยงที่บริเวณวัด  และวัดนี้ได้เจริญขึ้นมาในสมัยที่หลวงพ่อชัย ชยฺยวุฒฺโฑ ได้เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด ปัจจุบันมีเนื้อที่ 4 […]

  • วัดจันทร์

    วัดจันทร์

      ประวัติและความเป็นมามีหลากหลายเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัดจันทร์ ดังนี้ วัดจันทร์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ วัดจันทร์ มีการสันนิษฐานว่า มีการสร้างมานานกว่า 300 ปีได้มีชนเผ่าลั๊วะที่มาบุกเบิกสร้างหมู่บ้านอย่างไม่เป็นทางการมีการปักหลักที่อยู่ในท้องที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งแบ่งกันเป็นกลุ่มในการสร้างวัดขึ้นเป็นจำนวนมาก ที่มีความเลื่อมใสพระพุทธศาสนาในสมัยเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น ซึ่งในพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์และพื้นที่ใกล้เคียงมีหลักฐานว่าเป็นวัดร้างจำนวนมาก ต่อมาชาวลั๊วะก็ได้โยกย้ายจึงทำให้เป็นวัดร้างไป เหลือแต่เจดีย์ที่ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านจันทร์ที่สร้างขึ้นมาของชาวลั๊วะกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่มีคนมาบูรณปฎิสังขรณ์เพื่อเป็นที่สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านจนถึงปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันบ้านจันทร์ก็มีชื่อเป็นภาษาท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอว่า “โข่ค่อทิ” ซึ่ง “โข่” แปลว่าพระเจดีย์ จึงมีความหมายว่า “บ้านตีนธาตุ) เป็นเจดีย์องค์แรก จากนั้นมีการสร้างพระเจดีย์เพิ่มอีก […]

  •  “ร้อยป่า” จากชีวิตจริง เสือ กลิ่นสัก สุภาพบุรุษแม่โจ้

     “ร้อยป่า” จากชีวิตจริง เสือ กลิ่นสัก สุภาพบุรุษแม่โจ้

     “ร้อยป่า” จากชีวิตจริง เสือ กลิ่นสัก สุภาพบุรุษแม่โจ้                     จากบันทึกของคุณสมพันธุ์ ปานะถึก (วิเทศวรกิจ) แม่โจ้รุ่น 11 บุตรของหลวงวิเทศวรกิจและคุณวงศ์ ปานะถึก ท่านเกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2470 ที่กรุงเทพฯ  เข้าเรียนแม่โจ้เมื่อปี พ.ศ. 2487 ซึ่งท่านได้เล่าว่า เมื่อตอนมาเรียน แม่โจ้นั้นยังห่างไกลตัวเมืองเชียงใหม่มาก มีถนนลาดยางจากอำเภอเมืองถึงอำเภอสันทราย จากอำเภอสันทรายถึงแม่โจ้เป็นถนนดินลูกรัง พวกนักเรียนจะเข้าตัวเมือเชียงใหม่ต้องเดินประมาณ 3-4 ชั่วโมง […]

  • “ความรู้สึกของข้าพเจ้าต่อสถาบันแม่โจ้”

    “ความรู้สึกของข้าพเจ้าต่อสถาบันแม่โจ้”

    “ความรู้สึกของข้าพเจ้าต่อสถาบันแม่โจ้” โดย นายอนันต์ โกเมศ ข้าพเจ้าคิดว่ามีคนจํานวนไม่น้อยที่รู้จักและคุ้นเคยกับคําว่า “แม่โจ้” ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาทางการเกษตรที่เก่าแก่สถาบันหนึ่งของประเทศไทย ที่ได้ผลิตนักศึกษาหรือบุคคลากรด้านเกษตรออกไปประกอบอาชีพในสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งในภาคเอกชนด้วยเป็นจํานวนมาก ข้าพเจ้าก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้ผ่านการศึกษาจากสถาบันนี้ ซึ่งในขณะนั้น “แม่โจ้” มีฐานะเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหลักสูตร 2 ปี เมื่อสําเร็จแล้วบางท่านก็ออกไปประกอบอาชีพรับราชการตามกรมต่าง ๆ และประกอบอาชีพส่วนตัวก็มีมาก และที่เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็มีเป็นบางส่วน และมีส่วนน้อยที่ได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอื่น เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงแม้ว่าจะแยกย้ายกันไปหลังจากสําเร็จการศึกษาแล้วก็ตาม แต่ความผูกพันต่อสถาบันแม่โจ้ ต่อเพื่อนร่วมชั้นและร่วมสถาบันยังคงมีอยู่อย่างแน่นแฟ้นและมิได้เลือนลางไปจากจิตใจของทุกคน ถ้าจะพูดถึงสปิริตแล้วลูกแม่โจ้ทุกคนมีสปิริตสูง […]