Northern Articles

  • ติ๊สี่ก่าจึ๊ (ยามือหัก)

    ติ๊สี่ก่าจึ๊ (ยามือหัก)

    ชื่อทางการ สะพานก๊น ชื่อวิทยาศาสตร์ Caprifoliace (Sambucus javanica Blume) ติ๊สี่ก่าจึ๊ แปลตรง ๆ เป็นภาษาไทยว่า “ยามือหัก” ซึ่งมาจากคำ 2 คำ มารวมกันคือ ติ๊สี่ และ ก่าจึ๊ คำว่า ติ๊สี่ แปลว่า ยา ส่วนคำว่า ก่าจิ๊ นั้นถ้าเรียกโดด ๆ หรือ เรียกคำเดียว มาจากคำว่า […]

  • ผึ้งโก๋น (ผึ้งโพรง) แมลงตัวจิ๋ว ผู้รังสรรค์ธรรมชาติให้สมบูรณ์

    ผึ้งโก๋น (ผึ้งโพรง) แมลงตัวจิ๋ว ผู้รังสรรค์ธรรมชาติให้สมบูรณ์

          ผึ้ง… แมลงตัวจิ๋ว แต่มีความมหัศจรรย์และสร้างสรรค์โลกให้อุดมสมบูรณ์ แบ่งปันความสุขให้โลกมาหลายสหัสวรรษ มนุษย์รู้จักผึ้งมานานกว่า 7,000 ปีแล้ว โดยใช้ประโยชน์จากผึ้งในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร อันเป็นผลงานของผึ้ง ที่ช่วยผสมเกสรให้พืชนานาชนิดมีลูกผลดก และขยายพืชพันธุ์ออกไปได้มากมาย อีกทั้งใช้ประโยชน์จากน้ำผึ้งในการถนอมอาหาร ด้วยวิธีดองอาหารหรือทานสด ๆ ก็ได้คุณประโยชน์มหาศาล นอกจากนี้ยังใช้น้ำผึ้งช่วยดูแลในเรื่องความงามอีกด้วย           ตามธรรมชาติผึ้งอาศัยอยู่ตามโพรงไม้หรือกิ่งไม้  ส่วนผึ้งเลี้ยง (ผึ้งโก๋น) ก็อยู่ในรังในหีบเลี้ยง (โก๋น) […]

  • ฉุ่ยโพข่อหล่อเด๊าะ (ใบบัวบก)

    ฉุ่ยโพข่อหล่อเด๊าะ (ใบบัวบก)

    ชื่อท้องถิ่น (บ้านห้วยผักกูด) ฉุ่ยโพข่อหล่อเด๊าะ ชื่อทางการ ใบบัวบก ชื่อท้องถิ่น (บ้านห้วยผักกูด) ฉุ่ยโพข่อหล่อเด๊าะ ฉุ่ยโพข่อหล่อเด๊าะ เป็นภาษาท้องถิ่นบ้านห้วยผักกูด ตำบลแม่ศึกษา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นชาติพันธุ์ “ชนเผ่ากะเหรี่ยง หรือปาเกอะญอ” คำว่า ฉุ่ยโพข่อหล่อเด๊าะ แปลตรง ๆ เป็นภาษาไทยว่า “รอยเท้าลูกสุนัข” ซึ่งมีที่มาจากผู้เฒ่าสมัยก่อนเดินเข้าป่าเพื่อหาอาหารเลี้ยงชีพ ได้เจอพืชผักใบบัวบก สามารถรับประทานเป็นอาหารได้ แต่ไม่รู้จะเรียกชื่อว่าอะไร นั่งไตร่ตรอง และคิดชื่ออยู่นาน บังเอิญแลเห็นรอยเท้าลูกสุนัขผู้ติดตาม มีลักษณะคล้ายกับใบของใบบัวบก […]

  • วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล

    วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล

    วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล ตั้งอยู่ที่ 467 หมู่ 5 ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีประวัติอันยาวนาน โดยเป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ และเคยเป็นที่ที่ตั้งทัพของพญามังรายมมหาราช อายุมากกว่า 735 ปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัดแรกของอําเภอพร้าว โดยวัดพระธาตุดอยเวียงชัยก่อนที่จะมีการบูรณปฏิสังขรณ์จนเป็นวัดพระธาตุดอยเวียงชัยในปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 5 ยุคด้วยกัน คือ ยุคที่ 1 อ้างในตำนานพระเจ้าเลียบโลก เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิเขตล้านนาไทย พระพุทธองค์ทรงเสด็จมายังม่อนดอยเวียง (ปัจจุบันคือวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล) พร้อมพระอานนท์เถระ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวจึงได้พากันมาทำบุญใส่บาตรฟังธรรมอุปัฏฐากดูแลพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอานนท์ทุกวัน […]

  • วัดดอยแท่นพระผาหลวง “พระบิ่นหลังต๋ำ”

    วัดดอยแท่นพระผาหลวง “พระบิ่นหลังต๋ำ”

    วัดเก่าแก่ที่ซ่อนตัวบนภูเขาหลังอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ เป็นวัดที่มีตำนานที่เล่าขานกันมาเกี่ยวกับการสร้างวัดตั้งแต่สมัยมีการสร้างเมืองเชียงใหม่ ตำนานเกี่ยวกับ ”พระบิ่นหลังต๋ำ” แห่งวัดดอยแท่นพระผาหลวง ตัววัดตั้งอยู่ที่ ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ จากเส้นทางถนน เชียงใหม่-พร้าว ขับรถมาเรื่อย ๆ เลยตลาดแม่โจ้ไปกลับรถที่หน้าศูนย์วิจัยพืชไร่ และมีเลี้ยวเข้าซอยขวามือทางไปอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ขับรถตามเส้นทางไปเรื่อย ๆ จะมีทางเลี้ยวซ้ายเข้าไปที่อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ เส้นทางผ่านป่าชุมชน พอเลยอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ขึ้นไป จะมองเห็นพระนอนองค์ใหญ่สีเหลืองอร่าม อยู่บริเวณตีนเขา มีปู่เทพอสูร คอยปกปักรักษาพื้นที่ของวัด และ เพื่อรอรับพุทธศาสนิกชนที่จะขึ้นไปสักการะพระพุทธรูปในตำนาน “พระบิ่นหลังต๋ำ” ซึ่งเป็นภาษาเหนือ “บิดหลัง” คือการหันหลัง […]

  • อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ทะเลสาบแห่งผืนป่าบ้านโปง

    อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ทะเลสาบแห่งผืนป่าบ้านโปง

       เมื่อมีคนถามว่าแม่โจ้มีสถานที่สวย ๆ หรือเปล่า ตอบเลยว่ามีค่ะ มีหลายที่ด้วย และหนึ่งในนั้นคือ อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ  ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มีความสวยงามไม่แพ้ที่ใด  อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ตั้งอยู่บริเวณชุมชนบ้านโปง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน  เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2527 ให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อส่งน้ำเสริมให้กับพื้นที่จัดสรรของราษฎรที่อพยพจากเขตน้ำท่วม 300 ครอบครัว […]

  • “ผำ”พืชที่กำลังได้รับความนิยมในการนำมาปรุงเป็นอาหาร

    “ผำ”พืชที่กำลังได้รับความนิยมในการนำมาปรุงเป็นอาหาร

    ผำ หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ แต่อีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่เคยรู้จัก  บางคนอาจรู้จักแต่ไม่เคยได้ลิ้มลองรสชาติของผำส่วนใหญ่จะมีขายที่ตลาดใส่ถุงไว้เป็นสีเขียวสดๆ  หรือหลายคนอาจรู้จักในชื่อ ไข่แหน, ไข่น้ำ, ไข่ขำ “ผำ” เป็นพืชที่มีดอกขนาดเล็กที่สุด อาศัยลอยอยู่บนผิวน้ำ อาจลอยอยู่เป็นกลุ่มล้วนๆหรือลอยปนกับพืชชนิดอื่นๆก่อได้ อยู่บนผิวหนองน้ำหรือบ่อน้ำ ในน้ำนิ่งๆที่ต้องสะอาด มองไกลๆ คล้ายๆกับจอกแหน แต่ถ้าเข้ามาดูใกล้ๆจะเห็นว่า หน้าตาของมันดูคล้ายสาหร่ายหรือไข่ปลาจิ๋วๆ มากว่า ผำอาศัยอยู่บนน้ำ มีรูปร่างรีๆ ค่อนข้างกลม มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ต้นจะมีสีเขียวสดเม็ดเล็กละเอียด ไม่มีรากไม่มีใบ เห็นเล็กๆแบบนี้ ผำ ยังเต็มไปด้วยสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีนและกรดไขมันโอเมก้า […]

  • อาหารท้องถิ่นภาคเหนือ : คั่วเห็ดถอบ (คั่วเห็ดเผาะ)

    อาหารท้องถิ่นภาคเหนือ : คั่วเห็ดถอบ (คั่วเห็ดเผาะ)

               “เห็ดถอบ” ภาษาเหนือหรือเรียกกันอีกชื่อว่า เห็ดเผาะ  เป็นเห็ดพื้นบ้านที่จะออกในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือและภาคอีสาน มีรูปร่างกลม หรือรี  เนื้อสัมผัสกรุบกรอบ มีรสชาติดี และสามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู   ราคาค่อนข้างสูง และหายาก เห็ดถอบหรือเห็ดเผาะ เป็นเห็ดราชั้นสูงที่อาศัยเจริญเติบโตและการสังเคราะห์แสงจากรากพืช ที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็น เห็ดถอบหนัง และ เห็ดถอบฝ้าย ส่วนใหญ่พบในป่าเต็งรัง และป่าสนเขา เกิดในดินที่เป็นดินเหนียวปนดินแดง ซึ่งปกติมักจะออกในบริเวณโคนต้นยาง     […]

  • อาหารท้องถิ่นชนเผ่าปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง)  : ข้าวต้มมัด (เมตอ)

    อาหารท้องถิ่นชนเผ่าปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) : ข้าวต้มมัด (เมตอ)

                 “เมตอ” (ข้าวต้มมัด) เป็นอาหารท้องถิ่นของชนเผ่าปะกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) บ้านห้วยผักกูด ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมนูอาหารที่ได้มาจากพืชผักที่หาได้จากธรรมชาติ “เมตอ” เป็นเมนูอาหารที่ชาวปะกาเกอะญอ นำมาใช้ประกอบในพิธีมงคลต่างๆ เช่น พิธีมงคลสมรส พิธีมัดมือคนในครอบครัว พิธีมัดมือสัตว์เลี้ยง (ช้าง และ กระบือ) โดยมีความเชื่อว่าจะทำให้เกิดความรักความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เฉกเช่นข้าวต้มที่มัดอยู่ด้วยกัน พิธีมัดข้อมือเรียกขวัญ เชื่อว่าจะทำให้เกิดความรัก […]

  • คุตีข้าว

    คุตีข้าว

    ในการทำนาของภาคเหนือ เมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าว ก็ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับเกี่ยวข้าว ตีข้าว และเก็บข้าวขึ้นยุ้งฉาง การในตีข้าวสามารถตีได้หลายวิธี ไม่ว่าจะทำตาราง โดยการนำขี้วัว มาทาบริเวณพื้นนา รอให้แห้งแล้ว เอาฟ่อนข้าวมาตีกับตารางได้เลย หรือจะใช้คุสำหรับตีข้าว ซึ่งคุสำหรับตีข้าวเป็นเครื่องจักสานขนาดใหญ่ที่ทำจากไม้ไผ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 – 2.50 เมตร สูงประมาณ 90-100 เซนติเมตร โดยจะนำคุไปวางที่ใกล้ ๆ กองข้าวที่เกี่ยวเรียบร้อยแล้ว โดยมีการปูเสื่อไม้ เรียกว่า “สาดกะลา” (เสื่อกะลา) สานด้วยผิวไม้บง มาปูไว้ด้านหนึ่งของคุ […]

  • วัดทุ่งหมื่นน้อย

    วัดทุ่งหมื่นน้อย

    วัดทุ่งหมื่นน้อย ตั้งอยู่ เลขที่ 289 หมู่ 9 บ้านทุ่งหมื่นน้อย ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ถนนสายเชียงใหม่-พร้าว เขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ เดิมวัดทุ่งหมื่นน้อยนี้เป็นวัดร้าง วัดสร้างเมื่อไรนั้นไม่มีประวัติเพียงแต่มีคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้น จากคำบอกเล่าว่ามีขาวบ้านชื่อพ่ออุ้ยหมื่น และแม่อุ้ยหน้อย เป็นคนบริจาคที่เพื่อสร้างวัด แต่กระนั้นก็ไม่ได้มีหลักฐานชี้ชัดว่าเป็นเช่นนั้นหรือไม่ อีกข้อสันนิฐานหนึ่งอาจเป็นชื่อของผู้ที่มอบพื้นที่ให้สร้างวัดที่มีตำแหน่งทางราชการเป็นท่านหมื่น อันนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดเช่นเดียวกัน สมัยก่อนชาวบ้านอาศัยอยู่ท้ายวัด วัดจะอยู่หัวบ้าน แต่มาตอนหลังทางท้ายหมู่บ้านเกิดน้ำท่วมชาวบ้านเลยหนีขึ้นมาปลูกบ้านบนที่ดอน ปัจจุบันวัดเลยอยู่ท้ายหมู่บ้าน วัดนี้ถือว่าเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในอำเภอสันทราย ในสมัยก่อนมีพระภิกษุเวียนมาจำพรรษาบ้าง ไม่มีบ้าง จนกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาเป็นช่วงเวลาหนึ่ง ไม่มีคนดูแลวัดชาวบ้านเลยเอาวัวเอาควายมาเลี้ยงที่บริเวณวัด  และวัดนี้ได้เจริญขึ้นมาในสมัยที่หลวงพ่อชัย ชยฺยวุฒฺโฑ ได้เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด ปัจจุบันมีเนื้อที่ 4 […]

  • วัดจันทร์

    วัดจันทร์

      ประวัติและความเป็นมามีหลากหลายเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัดจันทร์ ดังนี้ วัดจันทร์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ วัดจันทร์ มีการสันนิษฐานว่า มีการสร้างมานานกว่า 300 ปีได้มีชนเผ่าลั๊วะที่มาบุกเบิกสร้างหมู่บ้านอย่างไม่เป็นทางการมีการปักหลักที่อยู่ในท้องที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งแบ่งกันเป็นกลุ่มในการสร้างวัดขึ้นเป็นจำนวนมาก ที่มีความเลื่อมใสพระพุทธศาสนาในสมัยเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น ซึ่งในพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์และพื้นที่ใกล้เคียงมีหลักฐานว่าเป็นวัดร้างจำนวนมาก ต่อมาชาวลั๊วะก็ได้โยกย้ายจึงทำให้เป็นวัดร้างไป เหลือแต่เจดีย์ที่ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านจันทร์ที่สร้างขึ้นมาของชาวลั๊วะกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่มีคนมาบูรณปฎิสังขรณ์เพื่อเป็นที่สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านจนถึงปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันบ้านจันทร์ก็มีชื่อเป็นภาษาท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอว่า “โข่ค่อทิ” ซึ่ง “โข่” แปลว่าพระเจดีย์ จึงมีความหมายว่า “บ้านตีนธาตุ) เป็นเจดีย์องค์แรก จากนั้นมีการสร้างพระเจดีย์เพิ่มอีก […]