แม่โจ้ในอดีต
-
ชีวิตนักเรียน ครูกสิกรรมแม่โจ้
ช. มณีมาโรจน์ การสถาปนา ชีวิตให้รุ่งโรจน์ โชติช่วง นั้นต้องอาศัยวิริยภาพและปัญญาอันหลักแหลม ประหนึ่ง เป็นประทีปดวงใหญ่ที่คอยให้ความสว่าง ขจัด ความมืดมนอนธการทั้งมวลให้ปลาตสิ้นศูนย์ ธรรมชาติได้ เสกสรรค์มาตั้งแต่ดั้งเดิมแล้ว สมองและพละกําลัง เป็นสิ่งจําเป็น แก่นักเรียน ครูกสิกรรมอย่างที่สุด จะให้ลด หย่อน ทางใดทางหนึ่งย่อมไม่ได้ งานศิลปที่ทําเป็นหลักปฏิบัติหลังจากที่เราได้ ศึกษาความลึกลับมหัศจรรย์ของ พฤกษชาติแล้ว ศิลปบางชนิดเราต้องใช้ความอุตสาหะพากเพียรของเรารวม หน่วยเพื่อให้บรรลุ ความสําเร็จเป็นประโยชน์แก่สถานศึกษาของเรา นักเรียนที่ปราศจากวิริยภาพในงานศิลป์ จะแข็งแกร่งทรหด อยู่ในโรงเรียนของเราไม่ได้ เพราะขาดกําลังจิตใจ […]
-
เมื่อผมสอบเข้า แม่โจ้
ผมเป็นเด็กต่างจังหวัด เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก็เข้ามาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ โดยเลือกเรียน ภาษาต่างประเทศ มีโครงการว่าจะไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ แต่ไอ้การที่เป็นคนไม่รักดี เรียนยังไม่ทัน สิ้นปีก็เปลี่ยนโครงการใหม่ ในที่สุดก็สอบตก หลังจากได้ใบสุทธิแล้ว ผมก็มุ่งหน้าขึ้นสู่เชียงใหม่ ถิ่นไทยงาม เนื่องจากผมเป็นคนชอบอ่านนวนิยาย เป็นอย่างยิ่ง ทำให้ผมรู้จัก “เสือ กลิ่นสัก” ในร้อยป่า และ “เลิศ แหลมฉาน” จากธาตุกระทิง และก็รู้จักแม่โจ้ สถาบันที่พระเอกทั้งสองได้เข้าเรียน ถูกแล้วครับ ผมขึ้นเชียงใหม่ เพื่อจะสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อที่แม่โจ้ และก็เป็นโอกาสอันดีที่จะได้เที่ยวสงกรานต์เชียงใหม่ […]
-
ชีวิตรุ่น 33
ณ. ที่นี้ขอกล่าวย้อนหลังไปอีก 3 ปี ปีที่ทุกคนไม่อาจลืมได้จนชั่วชีวิต ความหวังก่อนหน้านั้น ทุกคนมาศึกษาแม่โจ้เพื่อเป็นบันไดต่อชีวิตให้กับอนาคตและชีวิตของตัวเอง สิ่งที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไปไม่ได้ก็คือ “การใช้ชีวิตร่วมแห่งสถาบันเดียวกัน” ครั้งแรกจะไม่มีใครคิดเฉลี่ยวใจเลยว่าการดำเนินชีวิตในแม่โจ้นั้น มันมีความเข้มข้นเพียงใดและเกี่ยวโยงกับอนาคตกาลข้างหน้าของเรา ๆ อย่างไร? ทั้งนี้เพราะว่าทุกคนมัวหลงระเริงอยู่กับคำสรรเสริญเยินยอที่ได้รับจากรุ่นพี่ก็อาจเป็นได้ โดยไม่มีใครล่วงรู้เลยนั่นเป็นชีวิตอีกแง่หนึ่งใน จํานวนหลาย ๆ แบบ ในแม่โจ้ซึ่งผู้ที่เคยเหยียบผืนดินแห่งนี้มาก่อนได้ช่วยกันขนานนามให้เสียอย่างโก้หรูว่า “ประเทศแม่โจ้” หลังจากวันที่ 7 มิถุนายน ไปแล้วนั่นแหละทุกคนจึงรู้ว่า ตนเองได้ตกอยู่ภายใต้ขอบเขต – กฎของธรรมนูญอีกฉบับหนึ่ง นับเป็นครั้งที่ 33 ลูก […]
-
โรงเรียนเกษตรแม่โจ้สมัยบุกเบิก
กําจร บุญแปง สิ่งประทับใจครั้งแรก ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2477 ผมได้ไปรายงานตัวที่แผนกศึกษาธิการในฐานะเป็น นักเรียนทุนครูเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ แล้วก็เดินทางออกจากจังหวัดกลับไปบ้านที่บ้านต้นซาง หมู่ที่ 9 ต. สันทรายหลวง อ. สันทราย โดยพาหนะรถจักรยานสามล้อแบบตอปิโด (คือรถพ่วงข้าง คนโดยสารนั่งข้างคนขี่รถ แต่หันหน้าไปข้างหน้า 1 คน และหันหน้าไปทางท้ายรถ 9 คน) เสียค่ารถหนึ่งสลึง (25 สตางค์) สำหรับระยะทางราว 10 กม. […]
-
“งานหนักไม่เคยฆ่าคน”
“งานหนักไม่เคยฆ่าคน” หากได้ยินคำนี้จะทำให้เรานึกถึงลูกแม่โจ้ แต่หลายท่านอาจจะไม่รู้ประวัติความเป็นของปรัชญางานหนักไม่เคยฆ่าคน ฝ่ายจดหมายเหตุและคอลชั่นพิเศษ จึงขอกล่าวถึงเรื่องราวความเป็นมาของประวัติปรัชญางานหนักไม่เคยฆ่าคน ศาตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ให้ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2497 ศาตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ได้รับราชการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ นับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ โดยรับจำนวนนักศึกษาเกินกว่าที่กรมอาชีวศึกษากำหนด จึงต้องพิสูจน์ให้เห็นว่านักศึกษาเหล่านั้นมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ด้วยการทำงานหนักหลังผ่านการทดสอบได้เดือนเศษ ท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่เหลืออยู่ว่า “การเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ถ้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก ท่านขอให้จดจำคำพูดของท่านเสมอว่า […]
-
สระเกษตรสนาน
งานฤดูหนาวจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2478 นั้น เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2478 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2479 ทางสถานีทดลองกสิกรรม และโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ก็ได้จัดนิทรรศการแสดงกิจกรรมการเกษตรด้วยโดยใช้อาคาร “เรือนเพชร” โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยเป็นที่จัดแสดงเป็นครั้งแรกที่มีการออกร้านนิทรรศการของหน่วยงานราชการ จากส่วนกลางไปร่วมงานฤดูหนาวเชียงใหม่ วันที่ 18 ธันวาคม 2478 อาจารย์ใหญ่ คุณพระช่วงฯ ได้หารือกับนักเรียนทั้งหมด 266 คน ในวันปิดภาคเรียนเทอมกลาง […]
-
“ความรู้สึกของข้าพเจ้าต่อสถาบันแม่โจ้”
“ความรู้สึกของข้าพเจ้าต่อสถาบันแม่โจ้” โดย นายอนันต์ โกเมศ ข้าพเจ้าคิดว่ามีคนจํานวนไม่น้อยที่รู้จักและคุ้นเคยกับคําว่า “แม่โจ้” ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาทางการเกษตรที่เก่าแก่สถาบันหนึ่งของประเทศไทย ที่ได้ผลิตนักศึกษาหรือบุคคลากรด้านเกษตรออกไปประกอบอาชีพในสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งในภาคเอกชนด้วยเป็นจํานวนมาก ข้าพเจ้าก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้ผ่านการศึกษาจากสถาบันนี้ ซึ่งในขณะนั้น “แม่โจ้” มีฐานะเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหลักสูตร 2 ปี เมื่อสําเร็จแล้วบางท่านก็ออกไปประกอบอาชีพรับราชการตามกรมต่าง ๆ และประกอบอาชีพส่วนตัวก็มีมาก และที่เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็มีเป็นบางส่วน และมีส่วนน้อยที่ได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอื่น เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงแม้ว่าจะแยกย้ายกันไปหลังจากสําเร็จการศึกษาแล้วก็ตาม แต่ความผูกพันต่อสถาบันแม่โจ้ ต่อเพื่อนร่วมชั้นและร่วมสถาบันยังคงมีอยู่อย่างแน่นแฟ้นและมิได้เลือนลางไปจากจิตใจของทุกคน ถ้าจะพูดถึงสปิริตแล้วลูกแม่โจ้ทุกคนมีสปิริตสูง […]
-
ชีวิตสองปีในแม่โจ้
ชีวิตสองปีในแม่โจ้ โดย บุญช่วย เลี้ยงสกุล การศึกษาทำให้นิสัยของมนุษย์งามน่าชม หลายคนที่พูดว่าการ กสิกรรมไม่ต้องศึกษาก็ทําได้ แน่นอน ใคร ๆ ก็ทำการกสิกรรมได้ แต่ผู้ที่มีการศึกษาสูงจึงจะทราบได้ว่า การศึกษากสิกรรมดีอย่างไร ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาคงทราบไม่ได้ว่า วิชากสิกรรมมีหลักอย่างไรบ้าง สําหรับผู้ที่ได้เรียนได้รู้คงทราบว่า วิชากสิกรรมเป็นวิชาที่ยาก ไม่ใช่เรียนจากการพูดหรือตำหรับตำราเท่านั้น ต้องอาศัยความชำนาญทางปฏิบัติเป็นส่วนมาก จึงจะยังผลให้สําเร็จได้ ผู้ใดที่ไม่นึกเช่นนี้ ก็เท่ากับไม่ได้เรียนหลักกสิกรรม กสิกรรมเป็นการกระทำที่ยากลําบาก กสิกรต้องศึกษาและปฏิบัติงานด้วยความสามารถ ทั้งต้องเป็นผู้อดทน และ ขยันขันแข็ง จึงจะทราบผลว่าการกสิกรรมเป็นอย่างไร พวกเราได้อุทิศร่างกายและใจบากบั่นมาเป็นกสิกรก็ด้วยเหตุผลที่กล่าวนั้น […]
-
อาจารย์ใหญ่คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ
อาจารย์ใหญ่คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ โดย นายธีระ นาคะธีรานนท์ อาจารย์ใหญ่หรืออาจารย์พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นเสมือนบิดาหรือผู้บุกเบิก “แม่โจ้” ในตําแหน่งราชการท่านคืออาจารย์ใหญ่ ร.ร. ฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ และร.ร.มัธยมวิสามัญเกษตรกรรมแม่โจ้จังหวัดเชียงใหม่ สําหรับโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมเริ่มตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2477 เป็นรุ่นที่ 1 โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม เริ่มตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2478 เป็นรุ่นที่ 1 ผู้เขียนจบจากโรงเรียนฝึกหัดครู รุ่นที่ 3 พ.ศ. 2479-2480 โดยเป็นนักเรียนในนามของจังหวัดนครสวรรค์เป็นผู้คัดเลือกส่งไป การเดินทางจากจังหวัดนครสวรรค์ไปจังหวัดเชียงใหม่ในสมัยนั้นถือว่าเป็นระยะทางที่แสนไกล […]
-
ไม่มีชนเหนือชั้นในแม่โจ้
ไม่มีชนเหนือชั้นในแม่โจ้ โดย กัสสปะ อัคนิทัต ผู้เขียนหลายท่าน ได้บรรยายไว้ค่อนข้างละเอียดถึงบุคคลิกลักษณะ อุปนิสัย ความรู้ ความสามารถ ความเมตตาปราณี ความมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานทุกชนชั้น ตลอดจนการบําเพ็ญตนในฐานะอาจารย์ต่อศิษย์ได้ครบถ้วนของอาจารย์พระช่วงเกษตรศิลปการ โดยเขียนตามทรรศนะของแต่ละท่าน แต่ทั้งหลายทั้งสิ้นก็มารวมเป็นทรรศนะเดียวกันเป็นเอกฉันท์ คือท่านอาจารย์พระช่วงฯ เป็นบุคคลที่ควรแก่การเทิดทูน เคารพ บูชา และควรถือเป็นแบบอย่างของผู้ที่เป็นครูอาจารย์ ทั้งมวลที่รักและประสงค์จะเป็นครูอาจารย์ที่เพียบพร้อมด้วยคุณงามความดี เพื่อตนเองและเพื่อการศึกษาของประเทศ อีกทรรศนะหนึ่งที่ยังไม่มีผู้ใดกล่าวถึง ซึ่งได้มีความคิดคํานึงว่า การปฏิบัติตนอันเป็นอุปนิสัยของอาจารย์ในเรื่องนี้มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องที่บันดาลให้แม่โจ้เป็นดินแดนแห่งความสงบ ร่มเย็น ปราศจากการแตกแยกไม่ว่าจะเป็น ระหว่างนักเรียนต่อนักเรียน (จํานวน […]
-
เยาว์วัยในแม่โจ้
เยาว์วัยในแม่โจ้ โดย ชื่นสุข โลจายะ จําได้ว่าขณะที่อยู่กับคุณพ่อที่แม่โจ้นั้น ดิฉันเพิ่งอายุแค่ 4 ขวบ อยู่ที่นั่นจนกระทั่ง อายุ 6 ขวบ จึงกลับมาอยู่กรุงเทพฯ เราเริ่มต้นที่แม่โจ้ด้วยการอยู่ในบ้านกระต๊อบหลังคามุงด้วยใบตองตึง (ใบพลวง) ใบตองตึงเป็นใบไม้ใหญ่ รูปไข่คล้ายใบหูกวาง เอามาเย็บติดต่อกันเป็นตับๆ คล้ายตับจาก เวลาจะเดินทางจากบ้านแม่โจ้เข้าเมืองเชียงใหม่ บางครั้งไม่มีเกวียนจะนั่งก็ต้องเดิน เอาใบตองตึงมาปิดศีรษะกันแดด ตอนขากลับเข้าแม่โจ้เวลากลางคืน คุณพ่อเอาปืนมาวางบนตัก เกรงจะมีอันตรายกลางทาง เพราะเป็นการเดินทางในป่าที่แสนมืด ช่างน่ากลัวเสียจริง ๆ เด็ก ๆ […]