Sansai Discovery

พ่อครูสมนึก ชัยตามล หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิก

ผลงาน

ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา เซรามิก ปูนปั้น รูปแบบต่างๆ ได้แก่ ชามสังคโลก แจกัน ถ้วย สัตว์ในวรรณคดี กระถางดอกไม้ พระพุทธรูป รูปเหมือน จิตรกรรมวาดภาพลวดลายต่างๆ ลงบนชิ้นงานเซรามิก ภาพผ้าใบ จัดแสดงผลงานประติมากรรมการปั้นตามสถานที่จัดแสดงต่างๆ ร่วมเขียนภาพ พระบรมสาทิสลักลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อน้อมถวาย ในวโรกาส ๗๒ พรรษา มหาราชินีและร่วมจัดแสดงผลงานสล่าล้านนา ปี ๒๕๔๗ เป็นวิทยากรบรรยาย สาธิตการปั้นดินเผา เซรามิก ทั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัย ศูนย์ฝึกฝีมือแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ฝึกฝีมือแรงงานจังหวัดลำปาง มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่มาฝึกงานการปั้นดินเผา เซรามิก การวาดภาพลงเครื่องปั้นดินเผา ณ โรงงานเตาสันทราย นอกจากนี้ยังรับงานเครื่องปั้นดินเผา เซรามิก ทุกรูปแบบ ช่วยเหลืองานทั้งภาครัฐและเอกชนมากมาย อีกทั้งยังเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งประธานมูลนิธิเพื่อนสล่าล้านนาอีกด้วย

วัสดุอุปกรณ์

  1. ดินเหนียว
  2. แท่นวางดินเหนียวไว้สาหรับปั้นดิน
  3. ไม้ขูดดิน
  4. น้ำยาเคลือบ
  5. สี
  6. ผู้กัน
  7. เตาเผาแรงดัน

ขั้นตอนการทำเซรามิกชามญี่ปุ่น

  1. นวดดินเหนียวให้เข้ากันจนเหนียว
  2. นำดินเหนียวมาวางบนแท่นปั้นขึ้นรูปเป็นรูปชามญี่ปุ่น
  3. นำไม้ขูดมาขูดให้ผิวของชามเรียบสวยงาม
  4. นำชามไปเข้าเตาเผา
  5.  นำชามที่เผาเสร็จ มาวาดรูปแต่งสีเป็นรูปปลาตกแต่งให้สวยงามแบบญี่ปุ่น
  6. นำชามที่ได้ไปชุปน้ำยาเคลือบ เพื่อให้ชามมีความเงางาม
  7. นำไปเผาอีกครั้งหนึ่ง
  8. เมื่อเผาเสร็จแล้วจะได้ชามญี่ปุ่นที่มีความสวยเงางาม

รางวัลเกียรติคุณ

  • มจ.ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ทรงประทานประกาศเกียรติคุณเป็นตัวแทนศิลปินล้านนาร่วมเขียนภาพ พระบรมสาทิสลักลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อน้อมถวาย ในวโรกาส 72 พรรษา มหาราชินีและร่วมจัดแสดงผลงานสล่าล้านนา ปี 2547
  • เกียรติบัตรโครงการเครือข่ายการอนุรักษ์พื้นฟูและพัฒนาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมล้านนาและเมืองประวัติศาสตร์ (ประเพณียอสวยไหว้สาพระญามังราย วันสถาปนาเมืองเชียงใหม่ครบรอบ 721 ปี) ปี 2560 โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มอบเกียรติบัตรที่ได้เข้าร่วมสาธิตการประกอบอาชีพพื้นบ้าน (สล่าปั้นแป้ง) ปี 2547
  • สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนาและชมรมส่งเสริมสล่าล้านนา มอบเกียรติบัตรเข้าร่วมงานแสดงการสาธิตสล่าล้านนาในงาน “ลานสรวง ข่วงศิลป์) ปี 2549
  • สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มอบเกียรติบัตรที่ได้เข้าร่วมสาธิตศิลป์พื้นเมือง ในงานสืบสานภูมิปัญญาล้านนา “สานศิลป์ กิ๋น แอ่ว อู้” ครั้งที่ 4 ปี 2548
  • โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย มอบเกียรติบัตรที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมสัปดาห์สร้างสรรค์งานศิลป์ ครั้งที่ 2 “ศิลปะควรค่า ภูมิปัญญาควรรักษ์” ปี 2548

แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้