Sansai Discovery

แม่ครูศุภรัตน์ เกตุบุญเรือง ด้านนาฏศิลป์ (ฟ้อนเล็บ)

ผลงาน

แม่ครูศุภรัตน์ เกตุบุญเรือง ด้านนาฏศิลป์ (ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน) เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการฟ้อนเล็บและฟ้อนเทียน ที่ได้เรียนรู้สืบทอดมากันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนเกิดความชานาญและได้ไปทำการแสดงและเข้าประกวดการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียนตามงานต่างๆ ที่จัดขึ้นและได้รับรางวัลมาโดยตลอดจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดระยะเวลาประสบการณ์กว่า 40 ปี แม่ครูศุภรัตน์ เกตุบุญเรือง ได้อุทิศตนแก่สังคมเป็นครูวิทยากรได้มีหน่วยงานต่างๆ เชิญให้ไปอบรมและปฏิบัติการเรียนรู้สอนการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียนอยู่ตลอด ทั้ง 12 ตำบลในอาเภอสันทราย หน่วยงานจากเทศบาลตำบล โรงเรียน วัดต่างๆ ในอำเภอสันทราย รวมถึงอำเภอใกล้เคียง เช่น อำเภอดอยสะเก็ดและอำเภอสารภี แม่ครูศุภรัตน์ เกตุบุญเรือง ยังได้เชิญให้เข้าร่วมฟ้อนงานประเพณีเตียวขึ้นดอยสุเทพ ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารและงานใส่ขันดอกอินทขิล วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นประจาทุกปี

ในด้านการอนุรักษ์สืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมการแสดงนาฏศิลป์ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้การฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน การแต่งกายของช่างฟ้อนตามแบบโบราณ ให้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในอำเภอสันทราย และนักเรียนโรงเรียนต่างๆ และเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ประจำอำเภอสันราย จนได้รับใบประกาศเกียรติคุณจาก ดร.เจ้าแม่ดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ แม่ครูศุภรัตน์ เกตุบุญเรือง ถือได้ว่าเป็นผู้ที่สร้างคุณประโยชน์แก่สังคมในท้องถิ่นอย่างแท้จริงโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ


เครื่องแต่งกาย

  1.  เสื้อแขนยาวทรงกระบอกคอกลม
  2. ซิ้นเมืองก่าน
  3. ผ้าสไบ
  4. เล็บ/เทียน
  5. ดอกไม้แต่งผม

ท่าฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน
มี 5 แม่บท 14 ท่า
แม่บทที่ 1 ยืนตรงถอนสายบัวเท้าซ้าย นั่งลงไหว้ ท่าที่ 1 ท่าเชื่อม 1 7 ก้าว ท่าที่ 2 ตั้งวง 7 ก้าว ท่าที่ 3 ม้วนจีบไหว้ 3 ก้าว ท่าที่ 4 บิดบัวบาน 7 ก้าว ท่าที่ 5 ท่าเชื่อม 2 7 ก้าว ท่าเชื่อม 1 7 ก้าว

แม่บทที่ 2 ท่าตั้งวง 7 ก้าว ท่าที่ 6 ท่าพิสมัยเรียงหมอน ซ้าย 7 ก้าว ขวา ๗ ก้าว ท่าที่ 7 ท่าสอดกลางอัมพร ซ้าย 7 ก้าว ขวา 7 ก้าว ท่าที่ 8 ท่าบัวชูฝัก ซ้าย 7 ก้าว ขวา 7 ก้าว ท่าเชื่อม 2 7 ก้าว ท่าเชื่อม 1 7 ก้าว

แม่บทที่ 3 ท่าที่ 9 ท่าพรหมสี่หน้า 7 ก้าว ท่าที่ 10 ท่าช้างประสานงา 7 ก้าว ที่ที่ 11 ท่าจีบหน้าขา งอแขน 7 ก้าว ท่าเชื่อม

แม่บทที่ 4 ท่าตั้งวง 7 ก้าว ท่าที่ 12 ท่าโบกสะบัด 7 ก้าว ท่าที่ 13 ท่าผาลาเพียงไหล่ ซ้าย 7 ก้าว ขวา 7 ก้าว ท่าที่ 14 ท่ายอดต๋องต้องลม ซ้าย 7 ก้าว ขวา 7 ก้าว ท่าเชื่อม 2 7 ก้าว ท่าเชื่อม 1 7 ก้าว

แม่บทที่ 5 ท่าตั้งวง 7 ก้าว ท่าม้วนจีบไหว้ 7 ก้าว ท่าบิดบัวบาน 5 ก้าว ไหว้ลา

รางวัลเกียรติคุณเด่น

  • ใบประกาศเกียรติคุณศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา อำเภอสันราย จังหวัดเชียงใหม่ มอบให้โดย ดร.เจ้าแม่ดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
  • ใบประกาศเกียรติคุณ “ครูภูมิปัญญาเชียงใหม่” ประจาปี 2559 ได้รับจากนายปวิณ ชานิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
  • ใบประกาศสตรีดีเด่น จากสานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ ในวันสตรีสากลจังหวัดเชียงใหม่ ประจาปี 2548
  • ใบประกาศเกียรติคุณ ชมรมช่างฟ้อนอาเภอสันทราย ในงานยี่เป็งสันทรายถวายพุทธบูชา
  • ใบประกาศเกียรติคุณ ครูผู้สอนหลักสูตรท้องถิ่น ด้านการฟ้อนเล็บ จากโรงเรียนพงษ์พิกุลเชียงใหม่
  • ใบประกาศเกียรติคุณผู้ทาคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและสังคม ปี 2556 มอบให้โดยวัดสันทรายหลวง

แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้