Sansai Discovery

Mindblown: a blog about philosophy.

  • นายสงัด ชัยวรรณา ภูมิปัญญาด้านการแกะสลักไม้ 

    นายสงัด ชัยวรรณา ภูมิปัญญาด้านการแกะสลักไม้ 

    นายสงัด ชัยวรรณา อาศัยอยู่ที่บ้านสันต้นเปา ตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ แกะสลักไม้รูปเหมือน เช่น รูปเหมือนกินรี ตัวละครในวรรณคดี สัตว์ป่าหิมพานต์ ฯลฯ นอกจากจะมีความสามารถแกะสลักรูปเหมือนได้แล้วยังสามารถวาดรูปได้อีกด้วย การรับงานแกะสลักไม้จะมีลูกค้าจากบ้าน 100 อัน 1000 อย่าง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มาจ้างให้แกะสลัก ตามแบบที่ลูกค้าต้องการโดยลูกค้าจะนำไม้และแบบมาให้ คิดราคาค่าจ้างแกะสลักตามขนาดของชิ้นงานและความละเอียดเป็นหลัก  ผลงานการแกะสลักของนายสงัด ชัยวรรณา เครื่องมือและอุปกรณ์ในการแกะสลักไม้  วิธีการแกะสลักไม้  -ใช้สิ่วขนาดต่างๆ และค้อนตอกลงในท่อนไม้ให้ให้ตามรูปแบบอย่างประณีตหลังจากนั้นใช้กระดาษทรายขัดรูปทรงต่างๆ ให้เรียบ  แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา ปี 2562 โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • พระครูโกวิทธรรมโสภณ ภูมิปัญญาด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 

    พระครูโกวิทธรรมโสภณ ภูมิปัญญาด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 

    พระครูโกวิทธรรมโสภณ ชื่อเดิม ศรีผ่อง ฉายา โกวิโท นามสกุล บุญเป็ง อาศัยอยู่ที่ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พระครูโกวิทธรรมโสภณ เป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 วัตถุโบราณชิ้นแรกที่ได้มา คือแม่พิมพ์ปั้นอิฐรูปโค้ง ทำจากไม้สัก ต่อมาจึงได้เริ่มเก็บสะสมโบราณวัตถุ – ศิลปวัตถุชนิดต่างๆ และมีผู้มาบริจาคเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีวัตถุที่จัดแสดงมีมากกว่า 7,000 ชิ้น อาคารที่ใช้จัดแสดงของพิพิธภัณฑ์มีทั้งหมด 2 หลัง ได้แบ่งการจัดแสดงไว้ดังนี้  อาคารพิพิธภัณฑ์หลังที่ 1 เป็นอาคารชั้นเดียว ใช้จัดแสดงวัตถุโบราณต่างๆ ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก เช่น อาวุธโบราณ หีบธรรม เครื่องครัวโบราณ มีดหมอแหกพิษทำจากเขาควายที่ถูกฟ้าผ่าตาย วิทยุโบราณ ที่หนีบอ้อย ที่กรองน้ำโบราณ เอกสารพับสาใบลานต่างๆ ขันโบราณ เครื่องประดับ  อาคารพิพิธภัณฑ์หลังที่ 2 เป็นอาคารชั้นเดียว ใช้จัดแสดงวัตถุที่ทาจากไม้แกะสลักและชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม เช่น จองพารา ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หีบธรรม ตู้ธรรม…

  • นายเกษม คามี ภูมิปัญญาปราชญ์ล้านนาการสานใบมะพร้าว 

    นายเกษม คามี ภูมิปัญญาปราชญ์ล้านนาการสานใบมะพร้าว 

    นายเกษม คามี เป็นคนตำบลสันทรายหลวง อำภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผลงาน  การสานใบมะพร้าวรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ปลาช่อน ปลาตะเพียน จิ้งจก ซุ้มประตูรูปแบบต่างๆ หมวกใบมะพร้าว  วัสดุเครื่องมือ  ขั้นตอนวิธีการทำ การอนุรักษ์สืบสาน เผยแพร่และการถ่ายทอด  แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • นายทอง สุกันธา ด้านหัตถกรรมจักสาน 

    นายทอง สุกันธา ด้านหัตถกรรมจักสาน 

    นายทอง สุกันธา เป็นคนตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผลงาน  นายทอง สุกันธา มีความสนใจการจักสานจึงได้เรียนรู้ฝึกทำด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ มีความสามารถจักสานได้หลายอย่าง ได้แก่ ก๋วยตี๋นช้าง ก๋วยสังฆทาน ไม้กวาดแข็ง ไม้กวาดอ่อน ซ้าหวด ก๋วยใส่หญ้า ฝาชี ต๋าแหลว ขันโตก ตุ้มดักปลาไหล สานสาดแหย่ง (เสื่อกก) ก๋วยสลาก จักตอก  วัสดุเครื่องมือ การทำไม้กวาดแข็ง  รูปอุปกรณ์การทำไม้กวาดแข็ง  ขั้นตอนการทำไม้กวาดแข็ง  นายทอง สุกันธา กาลังทำไม้กวาดแข็ง  ไม้กวาดแข็งที่ทำเสร็จแล้ว การอนุรักษ์สืบสาน เผยแพร่และการถ่ายทอดองค์ความรู้  ได้มีผู้ที่ให้ความสนใจมาเรียนการจักสานที่บ้านหลายคนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ สอนให้คนอื่นรู้เพื่อเป็นวิทยาทาน และยากให้ผู้ที่มีความสนใจในด้านนี้มาเรียนรู้เพราะไม่ยากให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการจักสานหายไปจากชุมชน  แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • นายชูชาติ ใหม่ตาคำ ปราชญ์ล้านนาหมอเมือง 

    นายชูชาติ ใหม่ตาคำ ปราชญ์ล้านนาหมอเมือง 

    นายชูชาติ ใหม่ตาคำ เป็นคนตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผลงาน  หมอเมืองรักษากระดูกต่อกระดูก (กวาดซุย) เช็ดตุ่ม เป่าตา เป่าปาก (เป็นเม่า) เช็ดปวดเมื่อย รักษาโรคมะโหก (โรคริดสีดวงทวารหนัก) ซึ่งมีรูปแบบที่รักษากันไปตามโรค โดยใช้คาถาเป่า เหล้าขาว น้ำมันงา เงินแถบ ไข่ไก่ต้ม มีดแฮกเขาควาย สมุนไพรหว่านทรหด ทำการรักษาแก่ผู้ป่วยภายในหมู่บ้านและผู้ป่วยที่ทราบข่าวจากคนไข้ที่เคยรักษาแล้วหายจากโรคต่างๆ  วัสดุที่ใช้รักษาการต่อกระดูกด้วยการกวาดซุย  1. ขันตั้งสามสิบหก 1 ขัน 2. เหล้าขาว 3. น้ามันงา 4. ใบพลู 5. สาลี 6. น้ำเปล่า วิธีการรักษา  1. ตั้งขันสามสิบหก ประกอบด้วยสวยดอกไม้ธูปเทียน 36 สวย สวยหมากพลู 36 สวย หมาก 1 หัว เหล้าขาว 1 ขวด ผ้าขาว ผ้าแดง ข้าวเปลือก ข้าวสาร เงินขั้นตั้ง 136…

  • นายมานพ วังศรี ภูมิปัญญาล้านนาดนตรีพื้นเมืองประยุกต์ 

    นายมานพ วังศรี ภูมิปัญญาล้านนาดนตรีพื้นเมืองประยุกต์ 

    นายมานพ วังศรี ภูมิปัญญาล้านนาดนตรีพื้นเมืองประยุกต์และหัตถกรรมเครื่องเงิน  นายมานพ วังศรี เป็นคนบ้านแม่ย่อย ตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เคยบรรเลงกับวงอื่นมาก่อนหลายวง เช่น วงพลังหนุ่มแม่ย่อย วงขวัญใจแม่หม้าย วงกู่เสือ วงชัยนารายณ์ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย วงป่าบงศิลป์ วงศิษย์เจ็ดสี เริ่มเข้าวงเพชรพยอม เมื่อปี 2550 ประสบการณ์เป็นนักดนตรี 30 กว่าปี สามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชนิดได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเหล็ก กลองเต่งถึ้ง กลองบองโก้ คีย์บอร์ด แนหลวง ตาแหน่งประจาคือ ฆ้องวง  นอกจากเป็นนักดนตรีปี่พาทย์ล้านนาแล้วยังมีความสามารถในการดุนโลหะทำเครื่องเงินขึ้นรูปตอกลายแม่ย่อยได้อย่างชำนาญทั้งพาน สะลุง เข็มขัดเงิน เป็นต้น  วงปี่พาทย์ล้านนา “วงเพชรพยอม” แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • ปล่อย “โคม/ว่าว” สู่ฟากฟ้า เคารพบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี

    ปล่อย “โคม/ว่าว” สู่ฟากฟ้า เคารพบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี

    ความเป็นมา หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เจ้าเมืองต่าง ๆ ก็ยกทัพมาแย่งชิงจะเอาพระธาตุไปเป็นของตนเอง โทณพราหมณ์จึงรับผิดชอบในการแบ่งพระธาตุให้กับเจ้าเมืองแต่ละเมือง แล้วได้ฉุกคิดขึ้นว่าเราเป็นคนแบ่งพระธาตุ ทำไมเราจะไม่ได้พระธาตุสักชิ้นเลย จึงทำการซ่อนพระเกศแก้วจุฬามณีไว้ในผ้าโพกผมของตนเอง ในขณะเดียวกันเหล่าเทวดาที่อยู่บนสวรรค์ก็มีความคิดว่าโทณพราหมณ์แบ่งพระธาตุไม่ได้นึกถึงเทพเทวดาเลย จึงแอบเอาพระธาตุชิ้นที่โทณพราหมณ์นั้นซ่อนไว้ และนำพระเกศแก้วจุฬามณีไปไว้บนสรวงสวรรค์ (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566) ความเชื่อ การปล่อยโคมเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี เป็นความเชื่อของผู้คนที่จะทำทุกวิธีทางเพื่อให้สามารถกราบไหว้พระเกศแก้วจุฬามณีที่อยู่บนสวรรค์ได้ ทำให้เกิดโคมที่สามารถลอยขึ้นไปบนอากาศ และเชื่อกันว่าการปล่อยโคมเปรียบเสมือนการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศก (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566) สถานที่ในการปล่อยโคม ในสมัยก่อนนิยมปล่อยโคมที่หัววัดหรือวัดประจำตำบล จะไม่มีการปล่อยตามบ้านเรือนหรือวัดเล็ก ๆ ว่าวฮม/โคมลอย ภาพโดย : เพจศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่ โคมลอยมาจากศัพท์สองคำ คือ “โคม” ที่หมายถึง เครื่องใช้ที่ให้กำเนิดแสงสว่าง และคำว่า “ลอย” ที่หมายถึง ทรงตัวอยู่ในน้ำหรือในอากาศ ดังนั้น “โคมลอย” จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถลอยอยู่ได้ทั้งในน้ำและในอากาศก็ได้ทั้งสองกรณี(อุดม รุ่งเรืองศรี,2554) แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ได้ให้คำจำกัดความของ…

  • “ผางประทีป”ส่องสว่างดั่งแสงนำทางแห่งชีวิต

    “ผางประทีป”ส่องสว่างดั่งแสงนำทางแห่งชีวิต

    ผางประทีป เป็นประทีปที่ใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระพุทธเจ้า และเป็นการนำไปใช้ในการบูชาสืบชะตาต่ออายุของตนเอง อีกนัยหนึ่งเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันในการจุดแทนตะเกียงช่วงเวลากลางคืน (เยาวนิจ ปั้นเทียน, 2542) คำว่า “ผาง” หมายถึง ภาชนะรองรับน้ำมันหรือไขที่เป็นเชื้อเพลิงของประทีป คำว่า “ประทีป” หมายถึง แสงไฟ ความเป็นมา ความเชื่อ การจุดประทีปถือเป็นสัญลักษณ์ของความกตัญญูรู้คุณไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ หนังสือ ดินสอ และเป็นกลอุบายอย่างหนึ่งที่ทำให้คนได้รำลึกถึงสิ่งที่มีบุญคุณกับตัวเรา นอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บุพการีแล้ว ยังรวมไปถึงความเชื่อที่อยากให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงความทุกข์ยากลำบากของคนเฒ่าคนแก่ในสมัยก่อนว่ามีการใช้ชีวิตอย่างไร (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566) การวางผางประทีป การวางผางประทีปในสมัยก่อนจะวางไว้ตามรั้ว หัวเสา ประตู หน้าต่าง คอกวัว และคอกควาย รวมถึงการวางไว้ใกล้กับเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการทำมาหากิน หรือเป็นการวางไว้ตามสถานที่ที่ผู้คนได้พึ่งพาอาศัยสิ่งเหล่านั้นสำหรับการสร้างประโยชน์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566) แหล่งที่มา เยาวนิจ  ปั้นเทียน. (2542).…

  • “ซุ้มประตูป่า” วัฒนธรรมชาวล้านนา ต้อนรับการกลับมาของพระเวสสันดร

    “ซุ้มประตูป่า” วัฒนธรรมชาวล้านนา ต้อนรับการกลับมาของพระเวสสันดร

    ซุ้มประตูป่า เป็นปากทางที่จะเข้าสู่ป่า มักจะปรากฏอยู่เป็นเสา ตั้งอยู่ที่ชายหมู่บ้าน ขนาบทางเดินที่จะเข้าป่า ซึ่งมักจะเป็นส่วนประดับอยู่ระหว่างเสาทั้งคู่ ใช้เป็นบริเวณที่ประกอบพิธีกรรมสำหรับหมู่บ้าน การทำซุ้มประตูป่าในสมัยก่อนจะแยกย้ายกันทำของบ้านตนเอง มีการนำต้นกล้วย ต้นมะพร้าว ใบกล้วย ใบมะพร้าวมาใช้ในการประดับตกแต่งซุ้มประตู ซึ่งการทำซุ้มประตูป่าของแต่ละบ้านเรือนเริ่มหายไปแล้วประมาณ 10 ปีก่อน สาเหตุที่หายไปเพราะเทศบาลของแต่ละตำบลมีการจัดประกวดซุ้มประตูป่าของหมู่บ้าน ชาวบ้านเลยไปร่วมมือกันทำที่เดียว ไม่มีการทำของแต่ละบ้านแล้ว ในช่วงกลางคืนก็มีการจัดดนตรี มีฟ้อนรำให้คนมาร่วมสนุก รอประกาศผลการทำซุ้มประตูป่า (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566) ความเป็นมา ชาวบ้านจะเตรียมตัวจัดตกแต่งประตูบ้านและประตูวัดให้เป็นซุ้มประตูป่าอย่างสวยงาม เพื่อเป็นเครื่องสักการะถวายการต้อนรับพระเวสสันดรในเดือนยี่เป็ง ครั้งเสด็จออกจากป่าเข้าสู่เมือง ซึ่งปรากฏในเวสสันดรชาดก อันเป็นชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะประสูติเป็นพระพุทธเจ้า และเชื่อกันว่าถ้าใครตกแต่งซุ้มประตูป่าได้งดงาม อาจทำให้พระเวสสันดรเสด็จหลงเข้ามาในซุ้มประตูป่าที่จำลองเป็นป่าภายในบ้าน และจะทำให้ได้อานิสงส์อย่างมาก (มณี พยอมยงค์, 2547; สงวน โชติสุขรัตน์, 2511) ความเชื่อ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำซุ้มประตูป่าสามารถนำวัสดุอะไรมาทำก็ได้ เพราะไม่มีการจำกัดอุปกรณ์ในการทำ และไม่มีความหมายที่สำคัญแอบแฝง การนำต้นมะพร้าว ต้นกล้วยมาทำเนื่องจากหาได้ง่ายและสร้างความสวยงามให้แก่ซุ้มประตูป่าได้ แต่พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม กล่าวว่า การนำต้นกล้วยมาทำซุ้มประตูอาจจะสื่อถึงการเป็นของเย็น…

  • มนต์เสน่ห์วัฒนธรรมลอยกระทงแบบล้านนา “ประเพณียี่เป็ง”

    มนต์เสน่ห์วัฒนธรรมลอยกระทงแบบล้านนา “ประเพณียี่เป็ง”

    ประเพณียี่เป็ง เป็นประเพณีเก่าแก่ของภาคเหนือที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 ในภาษาเหนือ คำว่า “ยี่” แปลว่า สอง ส่วนคำว่า “เป็ง” แปลว่า เพ็ญ หรือ พระจันทร์เต็มดวง โดยเดือนทางภาคเหนือจะนับเร็วกว่า 2 เดือน ซึ่งเดือนยี่ของภาคเหนือตรงกับเดือน 12 ของภาคกลางหรือวันลอยกระทง ความเป็นมา ความเชื่อ ความเชื่อของประเพณียี่เป็ง เป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่อยู่ในมหาสมุทร อีกความเชื่อหนึ่งเป็นการบูชาพระแม่คงคา บูชาน้ำ ขอโทษขออภัยและขอบคุณที่ให้น้ำในการนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันเป็นการลอยกระทงเพื่อหาคู่ และมีบางคนที่ตัดเล็บตัดผมใส่ไปด้วยถือเป็นการลอยเคราะห์ (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566) กิจกรรมของประเพณียี่เป็ง ความแตกต่างของประเพณียี่เป็งในอดีตและปัจจุบัน ในอดีตการจัดงานประเพณียี่เป็งเป็นแบบเรียบง่าย แต่ในปัจจุบันประเพณียี่เป็งมีการสร้างสรรค์งานอย่างอลังการ ไม่มีแก่นแท้ของประเพณีว่าประเพณีนี้มีความเป็นมาอย่างไร จัดขึ้นมาเพื่อสาเหตุอะไร และน้อยคนที่จะเห็นถึงความงดงามของประเพณีจริง ๆ รวมถึงมีการแอบแฝงไปด้วยการแสวงหาผลประโยชน์จากตุง โคมแขวน โคมไฟ เมื่อก่อนผู้คนจะไม่นำสิ่งเหล่านี้ไปไว้ตามบ้านเรือนมีเพียงแค่ที่วัดเท่านั้น สมัยนี้ตุง โคมแขวนกลายเป็นของประดับตกแต่ง และสังคมไทยโดนวัตถุนิยมครอบงำ คิดที่จะทำสิ่งใดก็จะต้องมีเงินเป็นค่าตอบแทน คนจึงฉวยโอกาสจากประเพณีไปใช้ในการหาเงินในการขายเหล้า ขายเบียร์…

Got any book recommendations?