ArtistIntellectualKNOWLEDGE

นายทอง สุกันธา ด้านหัตถกรรมจักสาน 

0

นายทอง สุกันธา เป็นคนตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ผลงาน 

นายทอง สุกันธา มีความสนใจการจักสานจึงได้เรียนรู้ฝึกทำด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ มีความสามารถจักสานได้หลายอย่าง ได้แก่ ก๋วยตี๋นช้าง ก๋วยสังฆทาน ไม้กวาดแข็ง ไม้กวาดอ่อน ซ้าหวด ก๋วยใส่หญ้า ฝาชี ต๋าแหลว ขันโตก ตุ้มดักปลาไหล สานสาดแหย่ง (เสื่อกก) ก๋วยสลาก จักตอก 

วัสดุเครื่องมือ การทำไม้กวาดแข็ง 

  1. ด้ามไม้กวาด ใช้ไม่ไผ่รวกหรือส่วยปลายไม่ไผ่บง 
  2. ก้านใบมะพร้าว 
  3. เชือกพลาสติก 
  4. กรรไกร 
  5. มีดเหลา 
  6. ค้อน 
  7. คีม 
  8. เหล็กปลายแหลม 
  9. มีดพร้า 
  10. เลื่อยมือ  
  11. ปากกาหรือดินสอ 
  12. ตะปู ขนาด 1 นิ้ว 

รูปอุปกรณ์การทำไม้กวาดแข็ง 

ขั้นตอนการทำไม้กวาดแข็ง 

  1. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม 
  2. ใช้มีดเหลาเหลาใบก้านมะพร้าวออกประมาณ 200-300 ก้าน จากนั้นนำโคนของก้านใบมะพร้าวไปแช่น้ำ 30 นาที 
  3. นำเชือกพลาสติกมาร้อยเข้ากับก้านใบมะพร้าวครั้งละ 2 ก้านไปเรื่อยๆ จนได้ความยาว 80-100 เซนติเมตร 
  4. เมื่อร้อยก้านใบมะพร้าวเสร็จนำปลายไม้ไผ่บ่งมาตัดให้มีความยาวประมาณ 120 เซนติเมตร เจาะปลายด้ามไม้ไผ่บงให้เป็นรูทะลุไปอีกด้านหนึ่ง 2 เซนติเมตร ใช้เลื่อยตัดไม่ไผ่ให้มีความยาว 13 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร ใช้มีดเหล่าตกแต่งให้ได้ตามขนาด แล้วนำไปใส่ในช่องที่เราเจาะไว้ จากนั้นใช้ตะปู 1 นิ้วตอกเข้าไปให้แน่นและนำเชือกพลาสติกมามัดให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง 
  5. นำก้านใบมะพร้าวที่เราร้อยเสร็จนำมามาพันกับส่วนปลายของด้ามไม้กวาดมัดให้แน่นแล้วตอกตะปูอีกครั้ง 
  6. สานปลอกรัดเข้าด้ามนาก้านมะพร้าวมาใส่เรียงกันจนรอบด้ามไม้กวาด 
  7. ใช้เลื่อยมือตัดส่วนโคนก้านใบมะพร้าวออกเพื่อให้มีความสวยงามเรียบเป็นแนวเดียวกัน 
  8. นำเชือกพลาสติกมาสานยกลายสามถักไปเรื่อยๆ ให้มีความยาวประมาณ 5 นิ้ว 
  9. นำเชือกพลาสติกมาสาน “ลายอุ่มหน้า” ถักไปจนรอบก้านใบมะพร้าว 
  10. นำเชือกพลาสติกมาสาน “ลายดูกงู” ถักไปจนรอบก้านใบมะพร้าวอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความสวยงามและก้านใบมะพร้าวจะไม่หลุดได้ง่าย 
  11. เสร็จสิ้นการทำไม้กวาดแข็ง

นายทอง สุกันธา กาลังทำไม้กวาดแข็ง 

ไม้กวาดแข็งที่ทำเสร็จแล้ว

การอนุรักษ์สืบสาน เผยแพร่และการถ่ายทอดองค์ความรู้ 

ได้มีผู้ที่ให้ความสนใจมาเรียนการจักสานที่บ้านหลายคนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ สอนให้คนอื่นรู้เพื่อเป็นวิทยาทาน และยากให้ผู้ที่มีความสนใจในด้านนี้มาเรียนรู้เพราะไม่ยากให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการจักสานหายไปจากชุมชน 

แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Yaowapa Khueankham
Information Specialist at Maejo University Archives

    นายชูชาติ ใหม่ตาคำ ปราชญ์ล้านนาหมอเมือง 

    Previous article

    นายเกษม คามี ภูมิปัญญาปราชญ์ล้านนาการสานใบมะพร้าว 

    Next article

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

    บันทึก