Sansai Discovery

พรชัย ตุ้ยดง ด้านศิลปะการแสดงฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิงและประกอบศาสตราวุธ

ผลงาน

ครูสอนฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ และศาสตราวุธต่างๆ การประกอบศาสตราวุธ ดาบ หอก ง้าว ขอช้าง ประธานชมรมรักดาบ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้จัดโครงการเสวนาและนิทรรศการ การแสดงศาสตราวุธล้านนา ซึ่งจัดมาแล้วถึง 12 ครั้ง ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่านและจังหวัดพะเยา ผู้จัดโครงการเผาข้าวหลามถามเรื่องดาบ ผู้จัดโครงการร่ายดาบวาดเจิงเพื่อสุขภาพ ผู้จัดโครงการค่ายรักดาบสัญจรปี 53 ณ วัดพญาวัดอำเภอเมือง จังหวัดน่าน แบบเรียนวิชาฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง (ลายสิบสองปันนา) ผลงานวิจัยบทบาทของดาบในสังคมล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวบรวมเอกสารประวัติกลองปูชาล้านนา ในโครงการกลองปูชาคืนสู่วัด สื่อการสอนการตอกลายกระดาษล้านนา เอกสารประกอบการเรียนตีกลองสะบัดชัย เอกสารประกอบการเรียนดนตรีพื้นเมือง

การฟ้อนดาบฟ้อนเจิง(ลายสิบสองปันนา)

  1. ย่างขุม 12
  2. ฟ้อนท่าลายมือตบมะผาบ 3 ชุด (ท่าแม่หลักขุม 3) ชุดที่ 1 ตบ 4 ครั้ง ประกอบการย่างขุม 3 ต่อชุดที่ 2 ตบ 8 ครั้ง ประกอบการย่างลงขุม เชื่อมจุดที่ 3 ตบมะผาบนกคุ่ม ตบ 2 ครั้งแล้วเปลี่ยนขุมซ้าย-ขวา
  3. มาลายมือ แม่ผัดบัวบาน แม่เกี้ยวเกล้า แม่ลายเจิง ประกอบการย่างขุม 12
  4.  แม่ลายดาบ แม่ผัดบัวบาน แม่ฝ่านสัน สูนเก๊า สูนปลาย แม่จิเตียนต๋ามส่อง แม่เสือยาดเล็บ แม่เกี้ยวเกล้า แม่ถางตีน แม่กิมไฮ แม่กะอีด แม่ปลาเลียหาด แม่เสือลากหาง แม่ฟันดอกฟันดาว แม่สี่ด้านฟันหน้าฟันหลัง แม่ก๋าตากปีกแม่ก๋าจับหลัก พร้อมย่างขุม

การฟ้อนเจิง-ดาบลายไทลื้อ(ลายงาม)

  1. แม่บทการสาวดาบ
  2. ท่าเปลี่ยนขุม สางซ้ายไปขวา
  3. เดินสามขุม ขวา-ซ้าย
  4. แม่ที ท่าปรมะ ท่าเกี้ยวเกล้าซ้ายลดศอกขวา ลดศอกซ้าย ท่าปรมะ โดยการเดน 3 ขุมข้างเดิน ยืน นั่งในท่าเกี้ยวเกล้าลดศอก
  5.  แม่ท่าเกิ๊ดหาญ เดิน 3 ขุม ขวา ซ้ายและท่าเชื่อมเกี้ยวเกล้าลดศอก
  6. แม่ท่าเกิ๊ดหาญด่างก๊ามประกอบด้วยท่าเกี้ยวเกล้าลดศอก ช้างหลั่งงา ออกวงเกวี๋ยน กวางเหลียวเหล่า ติกะ คือการเกี้ยวเกล้าขวา หงายมือรองรับ ปลายดาบชี้ลงข้างล่าง ปลายดาบวางที่มือขวา เดิน 3 ขุม แล้วเปลี่ยนเป็นข้างซ้าย นั่งลงเป็นท่าช้างหลั่งงา ออกวงเกวี๋ยน เป็นท่ากวางเหลียวเหล่า ออกท่าติกะ เดินขุมท่าต่อไป
  7. แม่ท่าบูชาตะวัน ย่างสามขุมเข้าออก หมุนตัวออกท่ากวางเหลียวเหล่า โดยการสลับซ้าย ขวา
  8. แม่ท่าลดศอกข้ามดาบ คือ ท่าลดศอกข้ามดาบซ้าย ขวา จากพื้นออกย่าง 3 ขุม เชื่อมท่าต่อไป
  9. แม่ท่าต่อยด้าม ท่าสูนเก๊า สูนปลาย คือย่าง 3 ขุม ออกซ้าย ขวา
  10. แม่ท่าแซวซูดน้ำ คือ ท่าแซวซูดน้ำ ย่าง 3 ขุม ออกซ้าย ขวา
  11. แม่ท่าขะเยาะก๋า ตอกส้นเข้าออก ท่าช้างหลั่งงา ออกวงเกวี๋ยนเล็กอก คือ ท่า ขะเยาะก๋า ตอกส้นเข้า-ออก โดยใช้ท่าช้างหลั่งงาออกวงเกวี๋ยน ออกมาในท่าติกะ ยกขึ้นเป็นท่าแม่ไฮดึงศอกลงเป็นท่าฉีกอก วางดาบกราบครู
  12. แม่ท่าพิเศษ ตบมะผาบ สาวไหม ไหว้ครู

การฟ้อนดาบ-เจิง ลายไต (ไทใหญ่)

  1. ท่าพื้นฐาน การตั้งท่ายืนนั่ง ท่าสาง แกวดาบ การใช้ดาบร่วมกับย่างขุมการย่างขุม
  2. พื้นฐานขุม 2 ตัวเปียง ขุม 3 สามแหลม ขุม 4 ถึง 21 ขุม ใช้ดาบแทง ฟัน โดยเริ่มจากขุม 2 และต่อขุม 3 4 ถึง 21
  3. การเดินตามจังหวะดนตรี ย่างขุมและท่าพิเศษดาบแม่ลาย ประกอบด้วย ท่าแม่สีใคร แม่กีมไฮ แม่ป็อดแหวน แม่แซวแซดน้ำ แม่กว้างหลวง แม่กว้างปลายฮาม แม่ก๋าซี๊ด แม่สางผม(เกี้ยวเกล้า) แม่เสือมอบ แม่งาดั่ง แม่ฟันฉีก แม่ฮ้อย แม่หาดข้าว

การฟ้อนดาบเจิง (สายพ่อครูหล้า)

  1. การย่างขุม 12 การดีดส้นเท้าสูง การยกขาสูง การสลับเท้า การตบมะผาบ ตบหน้ามือ ตบหน้าหลัง เน้นลีลาท่าทางสง่างามและสวยงาม การย่างเข้าขุมตบมะผาบ 16 และ 17
  2. ท่าฟ้อนมือ คือ ท่าบิดบัวบาน เกี้ยวเกล้า สาวไหม (บางท่า) หยุ่มสาม วิธีการ ยืนอยู่กับที่ทาท่าให้ถูกต้อง หลังจากนั้นค่อยเข้าขุม ตั้งแต่ขุม 12 ถึงขุม 17 เริ่มจากเดินธรรมดาและทาท่าตามขุม แล้วค่อยๆ เพิ่มลีลาเข้าไปเพื่อความสวยงาม เช่นการหมุน การย่อ เพิ่มท่าตามขุมจนครบ ๑๗ ขุม เริ่มจากท่าง่ายไปหายาก เริ่มจากขุม 12 ขุมที่ 16เพิ่มท่าที่ 3 ขุม 17 เพิ่มท่าที่ 4 และ 5
  3. การเรียนท่าไม้ค้อน ฝึกการเข้าขุม 12 16 17 ให้ผู้เรียนฝึกเข้าคู่กันในการเข้าขุม (ขุมกระด้าง) เรียนรู้การตี การรับ การรุกและการหลบ ฝึกความคล่องตัวในการบิด การเหลียว การใช้มือและขา
  4. การเรียนดาบ การเข้าขุม 12 ท่าดาบประจาขุม เริ่มจากการเข้ากลอน/การตั้งท่ารับ ตามแบบฉบับของครูหล้า ท่าสางดาบ ท่าตอกส้น ท่าเข้าแจ่ง ปั่นแจ่ง(หมุน) การเข้าขุม 16 17

แนวโน้มในการอนุรักษ์สืบสานเผยแพร่และการถ่ายทอดองค์ความรู้

ได้มีหน่วยงานต่างๆ เชิญให้ไปเป็นวิทยากรทั้งภาคบรรยาย ปฏิบัติและสาธิต เรื่องศาสตราวุธ การฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง เช่น โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาลัยชุมชน จังหวัดน่าน รวมถึงได้เข้าร่วมเสวนาในหลายๆ เวที ได้แก่ “สืบสานล้านนา 10 ปี แห่งการสืบสาน” “สืบสานล้านนา อยู่อย่างล้านนา เสวนาอยู่อย่างพอเพียง” โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เป็นวิทยาการการตีกลองสะบัดชัย โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์บันทึกรายการโทรทัศน์วลัยลักษณ์สู่สังคม จานวน 2 ตอน ตอนที่ 1 พรพิลาศภูมิล้านนา ตอนที่ 2 ดาบเมืองจิตวิญญาณล้านนา เป็นวิทยากรโครงการค่ายนันทนาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและนักเรียน ณ วัดศรีสุพรรณ ด้านการแสดงพื้นบ้านล้านนา การแสดงฟ้อนดาบในงานแถลงข่าวประเพณีของดีอาเภอสันทราย จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่าในด้านการอนุรักษ์ เผยแพร่และการถ่ายทอดองค์ความรู้ได้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียน เยาวชน ได้มีโอกาสเรียนรู้ศิลปะการแสดงฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ได้เห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมให้ดารงอยู่สืบไป โดยนายพรชัย ตุ้ยดง เป็นหนึ่งในผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้อันทรงคุณค่านี้

รางวัลเกียรติคุณ

  • เกียรติบัตรครูภูมิปัญญาเชียงใหม่ ปี 2559 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
  • เกียรติบัตรโครงการเครือข่ายการอนุรักษ์พื้นฟูและพัฒนาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมล้านนาและเมืองประวัติศาสตร์ (ประเพณียอสวยไหว้สาพระญามังราย วันสถาปนาเมืองเชียงใหม่ครบรอบ 721 ปี) ปี 2560 โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
  • เกียรติบัตรศิลปินผู้มีชื่อเสียงด้านสล่าศาสตราล้านนา ปี 2548 โดยศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่

แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้