BeliefsFOLKWAYS

 “ความเชื่อกับภัยจากลมพายุ” ต่อต้านการเกิดมหัตภัยเลวร้าย

0
ภัยจากลมพายุ เป็นภัยที่เกิดขึ้นจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ 
และสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเป็นอันตรายแก่ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ทำให้เกิดการพยายามต่อสู้เอาชนะภัยจาก
ลมพายุ ถึงแม้ว่าจะสู้ไม่ได้เนื่องจากเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้นาน ผู้คนสามารถรับรู้ได้
ก่อนที่จะเกิดไม่กี่นาทีเท่านั้น จึงใช้ความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ เข้ามารับมือกับภัยจากลมพายุแทน

การรับมือกับภัยจากลมพายุ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 : การวางแผนรับมือกับภัยจากลมพายุ

  • การวางแผนจากคำพยากรณ์ในหนังสือปีใหม่เมือง ซึ่งจะมีการพยากรณ์บอกว่าปีไหนมีลมใหญ่หรือลมที่พัดแรง แต่จะมีการพยากรณ์ไว้ในหนังสือเพียงแค่บางปี
  • สังเกตจากการทำรังของมดแดง โดยดูที่ความสูงต่ำของรังมดแดง ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะมีสัญชาตญาณในตัวเองเมื่อเกิดภัยธรรมชาติต่าง ๆ มาเยือนก็จะรีบหาที่ปลอดภัย เมื่อไหร่ที่มดแดงทำรังไม่สูง คนสามารถเอื้อมมือไปหยิบได้ ทำนายว่าปีนั้นต้องระวังจะมีลมแรงพัดมา

ส่วนที่ 2 : การเตรียมตัวรับมือกับภัยจากลมพายุ

ช่วงที่มีการจัดงานสำคัญ ๆ มักจะมีลมพายุพัดแรงมาทำลายพิธีกรรมต่าง ๆ ผู้คนเชื่อว่ามีพญามารมาคอยขัดขวางไม่ให้พิธีสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

  • การใช้ไม้ไผ่ทำเป็นวงคล้ายๆกับกำไล แล้วเอาเชือกมาผูกติดกับไม้ให้เหมือนกับเบ็ดตกปลา และนำไปปักลงพื้นดินซึ่งปักไว้ที่บริเวณไหนบริเวณนั้นจะไม่มีลมพายุพัดมา
  • อันเชิญพระอุปคุตขึ้นมาจากแม่น้ำ เพื่อป้องกันเหตุภัยจากลมพายุ ไม่เพียงแค่ป้องกันภัยจากลมพายุแต่พระอุปคุตสามารถป้องกันภัยได้ทุกรูปแบบไม่ว่าจะฝนตก น้ำท่วม คนไม่ดี และช่วยสร้างความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตได้อีกด้วย

ภาพโดย : เพจวัดอุปคุต

ส่วนที่ 3 : การรับมือเมื่อทำพิธีป้องกันภัยจากลมพายุแล้ว แต่ยังเกิดขึ้นอยู่

ภัยจากลมพายุแตกต่างจากภัยอื่น ๆ ตรงที่เมื่อลมพายุเกิดขึ้นไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ ผู้คนสามารถรับรู้ได้ก่อนที่จะเกิดประมาณ 5 นาที และภัยที่เกิดจากลมพายุทุกคนต้องหาวิธีแก้ไขเฉพาะหน้าด้วยตัวเอง รวมถึงการนิยมทำขึดเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ถ้าอะไรที่จะเกิดพอขึดแล้วมันจะไม่เกิดไม่ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งดี ๆ หรือสิ่งไม่ก็ตาม ผู้คนจึงนำความเชื่อนี้ไปเป็นกลอุบายในการทำให้ลมพายุที่จะเกิดขึ้นกลับกลายเป็นไม่เกิด

  • ใช้คาถาไล่ลม แล้วเป่าสวนทางกับลมที่พัดมา                                               
  • นำฝักส้มป่อยไปย่างไฟให้มีกลิ่น โดยเชื่อว่ากลิ่นก็คือลมและส้มป่อยเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์มีพลังมากกว่าลมทั่วไปสามารถต้านให้ลมไปทางอื่นได้
  • การแทงลม เอามีดแทงฝาบ้านซึ่งบ้านในสมัยก่อนทำมาจากไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ ลมมาทางไหนก็แทงไปทางนั้น
  • นำทัพพีมาร่ายรำ
  • นำสากไปย่างไฟ
  • นึ่งข้าวแบบไม่ก่อไฟ ไม่ใส่น้ำ ไม่ใส่ข้าว ทำเหมือนนึ่งข้าวแต่ข้างในไม่มีอะไร
  • นำข้าวที่กินมาวางไว้บนหัวตัวเอง

แหล่งที่มา

ชยุตภัฎ คำมูล. (2567, มกราคม 23). ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สัมภาษณ์

Porakamol Massamer
Intern Student form Faculty of Humanities, Chiang Mai University

    ร่องรอยการต่อสู้กับธรรมชาติ “ความเชื่อเกี่ยวกับภัยแล้ง”

    Previous article

    “ความเชื่อกับภัยที่เกิดจากฝน” หนทางสู่การเอาชนะธรรมชาติ

    Next article

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

    บันทึก