FOLKWAYS

ข้อมูลวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ในอำเภอสันทราย

ร่องรอยการต่อสู้กับธรรมชาติ “ความเชื่อเกี่ยวกับภัยแล้ง”

ภัยแล้ง เป็นภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานานจนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน ซึ่งภัยแล้งเป็นภัยสำคัญอันดับต้น ๆ ของผู้คนในอดีต เพราะว่าชาวบ้านสมัยก่อนนิยมทำเกษตรกันเป็นอาชีพหลัก ภัยแล้งมาเยือนเมื่อไหร่ความลำบากเข้ามาหาแน่นอน ข้าวก็จะไม่มีกิน คนสมัยก่อนจึงคิดหาวิธีการรับมือกับภัยแล้งด้วยความเชื่อต่าง ๆ การรับมือกับภัยแล้ง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ...
Beliefs

“ผีหม้อนึ่ง” ที่พึ่งทางใจของชาวล้านนา

เรื่องราวของผีหม้อนึ่งที่ถูกเล่าผ่านมุมมองของผู้ที่เคยพบเห็นไม่ใช่ผู้สืบทอดโดยตรง ซึ่งเล่าเรื่องราวโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยุตภัฎ คำมูล เป็นอาจารย์สังกัดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ทำงานอยู่ภายในพื้นที่ของอำเภอสันทราย แต่อาจารย์มีความรู้เกี่ยวกับการลงผีหม้อนึ่งจากบ้านเกิดอำเภอแม่แตง ถึงแม้จะต่างอำเภอกัน มีจุดแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ใจความสำคัญเหมือนกัน และการแบ่งพื้นที่ทางวัฒนธรรมไม่มีการแบ่งที่ชัดเจนเหมือนกับการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงเป็นการใช้วัฒนธรรมของชาวล้านนาร่วมกันอีกด้วย ผีหม้อนึ่ง คือ ผีชนิดหนึ่งที่อยู่ในจำพวกผีเรือนซึ่งสถิตอยู่กับหม้อที่ใช้นึ่งข้าว และเป็นความเชื่อที่เสมือนการเสี่ยงทายรูปแบบหนึ่งเพื่อช่วยเหลือผู้คนในกรณีที่วิทยาศาสตร์ให้คำตอบไม่ได้ อย่างการเจ็บป่วยที่ไม่รู้สาเหตุ หรือ ...
Beliefs

“ผีเสื้อบ้าน” ตำนานผีล้านนา ปกปักษ์รักษาดูแลหมู่บ้าน

ผีเสื้อบ้าน คือ วิญญาณที่คอยปกป้องดูแลคนในหมู่บ้านซึ่งมีแทบจะทุกหมู่บ้าน โดยคำว่า “เสื้อ” ในภาษาล้านนา หมายถึงการปกป้อง คุ้มครอง เมื่อนำมารวมกับคำว่า “ผี” จะได้คำว่า “ผีเสื้อ” ที่ไม่ใช่แมลงมีปีก แต่มี ความหมายว่า ผีผู้ให้การปกป้องคุ้มครองซึ่งมักจะเชื่อมโยงกับสถานที่ต่าง ๆ ...
Beliefs

“ประเพณีปอยหลวง” การเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ของชาวล้านนา

คำว่า “ปอย” เป็นคำพื้นเมืองของภาคเหนือ หมายถึง งานฉลองรื่นเริง คำว่า “หลวง” หมายถึง ยิ่งใหญ่ ความเป็นมา สมัยพุทธกาลมีนางวิสาขามหาอุบาสิกา ได้สร้างวัดชื่อ “บุพพาราม” ถวายแก่พระพุทธเจ้า ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า วัดที่ประดิษฐานขึ้นมามีความงดงามมาก เมื่อสร้างเสร็จนางจึงจัดให้มีการเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่และสนุกสนาน ...
FOLKWAYS

“ตั้งธรรมหลวง” เทศน์มหาชาติ ฟังธรรมครั้งยิ่งใหญ่

ตั้งธรรมหลวง หมายถึง การเทศน์ธรรมชาดกที่ยาวกว่าเรื่องอื่น ๆ และเป็นการฟังเทศน์ครั้งใหญ่ มีคนมาร่วมฟังเทศน์กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งการฟังเทศน์ครั้งใหญ่มีทั้งการฟังเทศน์แบบธรรมวัตรและฟังมหาเวสสันดรด้วย (ปณิตา สระวาสี, 2559) รูปแบบการตั้งธรรมหลวง มี 2 แบบ (ปณิตา สระวาสี, 2559) ...
FOLKWAYS

“ตานข้าวใหม่” ประเพณีหลังฤดูเก็บเกี่ยว ระลึกถึงบุญคุณคน

ประเพณีตานข้าวใหม่ เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้า เมื่อชาวบ้านได้ยินสัญญานที่เกิดจากไม้ที่ระเบิดที่เกิดจากการทำหลัวหิงไฟพระเจ้า ก็จะนำข้าวใหม่หลังการเก็บเกี่ยวไปทำบุญที่วัด ความเป็นมา ความเป็นมาของประเพณีตานข้าวใหม่มีหลากหลายเรื่องราวที่ถูกบอกเล่าต่อ ๆ กันมามีทั้งความคล้ายคลึงกันและแตกต่างกันบางส่วน ขึ้นอยู่กับความเชื่อและมุมมองของบุคคลที่มีต่อประเพณี ถึงแม้ว่าจะเป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเดียวกัน ดังนี้ ช่วงเวลาในการจัดประเพณี ประเพณีตานข้าวใหม่นิยมจัดในช่วงเดือนสี่เป็งของภาคเหนือ หรืออยู่ในช่วงประมาณปลายเดือนธันวาคมจนถึงเดือนมกราคม ซึ่งในปี 2567 ตรงกับวันที่ ...
FOLKWAYS

“ตานหลัวหิงไฟพระเจ้า” ประเพณีที่มอบความอบอุ่นในเดือนสี่เป็ง

"ตาน" คือ ถวาย,ทาน "หลัว" คือ ฟืนที่นำมาเป็นเชื้อก่อไฟ "หิง" คือ การผิงไฟ,การก่อไฟ "พระเจ้า" คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเป็นมา ความเป็นมาของประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้ามีความสอดคล้องกับบริบททางสภาพแวดล้อม เนื่องจากเป็นพื้นที่ ๆ มีอากาศหนาวจัดมาก ...
FOLKWAYS

ปล่อย “โคม/ว่าว” สู่ฟากฟ้า เคารพบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี

ความเป็นมา หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เจ้าเมืองต่าง ๆ ก็ยกทัพมาแย่งชิงจะเอาพระธาตุไปเป็นของตนเอง โทณพราหมณ์จึงรับผิดชอบในการแบ่งพระธาตุให้กับเจ้าเมืองแต่ละเมือง แล้วได้ฉุกคิดขึ้นว่าเราเป็นคนแบ่งพระธาตุ ทำไมเราจะไม่ได้พระธาตุสักชิ้นเลย จึงทำการซ่อนพระเกศแก้วจุฬามณีไว้ในผ้าโพกผมของตนเอง ในขณะเดียวกันเหล่าเทวดาที่อยู่บนสวรรค์ก็มีความคิดว่าโทณพราหมณ์แบ่งพระธาตุไม่ได้นึกถึงเทพเทวดาเลย จึงแอบเอาพระธาตุชิ้นที่โทณพราหมณ์นั้นซ่อนไว้ และนำพระเกศแก้วจุฬามณีไปไว้บนสรวงสวรรค์ (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 ...
FOLKWAYS

“ผางประทีป”ส่องสว่างดั่งแสงนำทางแห่งชีวิต

ผางประทีป เป็นประทีปที่ใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระพุทธเจ้า และเป็นการนำไปใช้ในการบูชาสืบชะตาต่ออายุของตนเอง อีกนัยหนึ่งเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันในการจุดแทนตะเกียงช่วงเวลากลางคืน (เยาวนิจ ปั้นเทียน, 2542) คำว่า “ผาง” หมายถึง ภาชนะรองรับน้ำมันหรือไขที่เป็นเชื้อเพลิงของประทีป คำว่า “ประทีป” หมายถึง แสงไฟ ความเป็นมา ความเชื่อ ...
FOLKWAYS

“ซุ้มประตูป่า” วัฒนธรรมชาวล้านนา ต้อนรับการกลับมาของพระเวสสันดร

ซุ้มประตูป่า เป็นปากทางที่จะเข้าสู่ป่า มักจะปรากฏอยู่เป็นเสา ตั้งอยู่ที่ชายหมู่บ้าน ขนาบทางเดินที่จะเข้าป่า ซึ่งมักจะเป็นส่วนประดับอยู่ระหว่างเสาทั้งคู่ ใช้เป็นบริเวณที่ประกอบพิธีกรรมสำหรับหมู่บ้าน การทำซุ้มประตูป่าในสมัยก่อนจะแยกย้ายกันทำของบ้านตนเอง มีการนำต้นกล้วย ต้นมะพร้าว ใบกล้วย ใบมะพร้าวมาใช้ในการประดับตกแต่งซุ้มประตู ซึ่งการทำซุ้มประตูป่าของแต่ละบ้านเรือนเริ่มหายไปแล้วประมาณ 10 ปีก่อน สาเหตุที่หายไปเพราะเทศบาลของแต่ละตำบลมีการจัดประกวดซุ้มประตูป่าของหมู่บ้าน ชาวบ้านเลยไปร่วมมือกันทำที่เดียว ...
FOLKWAYS

Posts navigation

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึก