Porakamol Massamer
Intern Student form Faculty of Humanities, Chiang Mai University

    การฉลุลายสวยงาม สร้างตุงล้านนา เพื่อประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ

    การฉลุลาย การฉลุลาย เป็นขั้นตอนแรกในการประดิษฐ์ตุงขึ้นมา โดยการฉลุเป็นวิธีหนึ่งในการทำให้เกิดลวดลายลงบนวัสดุ ต่าง ๆ เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นไม้ แผ่นโลหะ โดยใช้เครื่องมือที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของวัสดุนั้น ๆ อย่างงานฉลุกระดาษและผ้าจะใช้สิ่วและค้อนในการตอกลงบนวัสดุให้เกิดลายสวยงาม ประวัติความเป็นมาของการฉลุลายไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่ามีที่มาอย่างไร เพียงแค่มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก่อนมีการฉลุลายในสมัยโบราณมีการตัดลายจากกระดาษตะกั่วด้วยกรรไกรเป็นวิธีการแรก ...
    FOLKWAYS

    “ส่งเคราะห์” พิธีกรรมทางล้านนา ส่งสิ่งชั่วร้าย เพื่อให้อยู่สุขสบาย ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และอันตรายทั้งปวง

    พิธีกรรมของแต่ละพื้นที่ถึงแม้จะมีชื่อเรียกและใจความสำคัญเหมือนกัน แต่รายละเอียดต่าง ๆ มีความแตกต่างกันไปเล็กน้อยตามความเชื่อและความศรัทธาของแต่ละชุมชน รวมถึงคาถาในการส่งเคราะห์ก็แตกต่างกันไปตามตำราที่บุคคลศึกษามา พิธีกรรมส่งเคราะห์ เกิดจากการที่บุคคลถูกคนทำไม่ดีใส่ ประสบอุบัติเหตุ ค้าขายไม่ได้กำไร เจ็บป่วย อย่างมีสาเหตุหรือไม่มีสาเหตุก็ได้ ถือว่าบุคคลนั้นมีเคราะห์กรรมมากระทบ ต้องทำพิธีกรรมให้หายจาก โรคภัยไข้เจ็บ ไม่ให้มีเคราะห์ ให้อยู่สุขสบาย ช่วงเวลา ...
    FOLKWAYS

    “จอบตุ่ม” การถอดพิษด้วยไข่ไก่

    การจอบตุ่มหรือความเชื่อต่าง ๆ ของผู้คนบางครั้งไม่สามารถที่จะไปหาต้นเหตุหรือความเป็นมาได้แล้ว จึงต้องอาศัยการมาเล่าสู่กันฟังจากคนที่เขาเคยทำ เคยได้ยินมาก่อน และความเชื่อของแต่ละคนมีความต่างกันนิดหน่อย บอกไม่ได้ว่าใครถูกใครผิด ถึงแม้จะอยู่ในอำเภอเดียวกัน การจอบตุ่ม เป็นพิธีกรรมหนึ่งที่ช่วยในการรักษาโรค โดยคำว่า “จอบ” หมายถึง ชักจูง หรือล่อให้ตาม ส่วนคำว่า “ตุ่ม” ...
    FOLKWAYS

    “ความเชื่อกับภัยที่เกิดจากฝน” หนทางสู่การเอาชนะธรรมชาติ

    ภัยที่เกิดจากฝน เป็นภัยที่มาจากการเกิดฝนตกหนักหรือฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งกลายเป็นน้ำท่วม และน้ำท่วมฉับพลัน โดยเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหาย ความยากลำบากและความท้าทายที่ หลากหลายให้แก่ผู้คน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนได้รับความเสียหาย ครอบครัวต้องไร้บ้านกลายเป็นผู้พลัดถิ่น สูญเสียทั้งทรัพย์สินเงิน ทอง ทำให้เกิดการรับมือกับภัยจากฝนด้วยการนำความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง การรับมือกับภัยจากฝน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ...
    Beliefs

     “ความเชื่อกับภัยจากลมพายุ” ต่อต้านการเกิดมหัตภัยเลวร้าย

    ภัยจากลมพายุ เป็นภัยที่เกิดขึ้นจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเป็นอันตรายแก่ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ทำให้เกิดการพยายามต่อสู้เอาชนะภัยจาก ลมพายุ ถึงแม้ว่าจะสู้ไม่ได้เนื่องจากเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้นาน ผู้คนสามารถรับรู้ได้ ก่อนที่จะเกิดไม่กี่นาทีเท่านั้น จึงใช้ความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ เข้ามารับมือกับภัยจากลมพายุแทน การรับมือกับภัยจากลมพายุ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ...
    Beliefs

    ร่องรอยการต่อสู้กับธรรมชาติ “ความเชื่อเกี่ยวกับภัยแล้ง”

    ภัยแล้ง เป็นภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานานจนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน ซึ่งภัยแล้งเป็นภัยสำคัญอันดับต้น ๆ ของผู้คนในอดีต เพราะว่าชาวบ้านสมัยก่อนนิยมทำเกษตรกันเป็นอาชีพหลัก ภัยแล้งมาเยือนเมื่อไหร่ความลำบากเข้ามาหาแน่นอน ข้าวก็จะไม่มีกิน คนสมัยก่อนจึงคิดหาวิธีการรับมือกับภัยแล้งด้วยความเชื่อต่าง ๆ การรับมือกับภัยแล้ง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ...
    Beliefs

    “ผีหม้อนึ่ง” ที่พึ่งทางใจของชาวล้านนา

    เรื่องราวของผีหม้อนึ่งที่ถูกเล่าผ่านมุมมองของผู้ที่เคยพบเห็นไม่ใช่ผู้สืบทอดโดยตรง ซึ่งเล่าเรื่องราวโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยุตภัฎ คำมูล เป็นอาจารย์สังกัดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ทำงานอยู่ภายในพื้นที่ของอำเภอสันทราย แต่อาจารย์มีความรู้เกี่ยวกับการลงผีหม้อนึ่งจากบ้านเกิดอำเภอแม่แตง ถึงแม้จะต่างอำเภอกัน มีจุดแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ใจความสำคัญเหมือนกัน และการแบ่งพื้นที่ทางวัฒนธรรมไม่มีการแบ่งที่ชัดเจนเหมือนกับการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงเป็นการใช้วัฒนธรรมของชาวล้านนาร่วมกันอีกด้วย ผีหม้อนึ่ง คือ ผีชนิดหนึ่งที่อยู่ในจำพวกผีเรือนซึ่งสถิตอยู่กับหม้อที่ใช้นึ่งข้าว และเป็นความเชื่อที่เสมือนการเสี่ยงทายรูปแบบหนึ่งเพื่อช่วยเหลือผู้คนในกรณีที่วิทยาศาสตร์ให้คำตอบไม่ได้ อย่างการเจ็บป่วยที่ไม่รู้สาเหตุ หรือ ...
    Beliefs

    “ผีเสื้อบ้าน” ตำนานผีล้านนา ปกปักษ์รักษาดูแลหมู่บ้าน

    ผีเสื้อบ้าน คือ วิญญาณที่คอยปกป้องดูแลคนในหมู่บ้านซึ่งมีแทบจะทุกหมู่บ้าน โดยคำว่า “เสื้อ” ในภาษาล้านนา หมายถึงการปกป้อง คุ้มครอง เมื่อนำมารวมกับคำว่า “ผี” จะได้คำว่า “ผีเสื้อ” ที่ไม่ใช่แมลงมีปีก แต่มี ความหมายว่า ผีผู้ให้การปกป้องคุ้มครองซึ่งมักจะเชื่อมโยงกับสถานที่ต่าง ๆ ...
    Beliefs

    “ประเพณีปอยหลวง” การเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ของชาวล้านนา

    คำว่า “ปอย” เป็นคำพื้นเมืองของภาคเหนือ หมายถึง งานฉลองรื่นเริง คำว่า “หลวง” หมายถึง ยิ่งใหญ่ ความเป็นมา สมัยพุทธกาลมีนางวิสาขามหาอุบาสิกา ได้สร้างวัดชื่อ “บุพพาราม” ถวายแก่พระพุทธเจ้า ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า วัดที่ประดิษฐานขึ้นมามีความงดงามมาก เมื่อสร้างเสร็จนางจึงจัดให้มีการเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่และสนุกสนาน ...
    FOLKWAYS

    “ตั้งธรรมหลวง” เทศน์มหาชาติ ฟังธรรมครั้งยิ่งใหญ่

    ตั้งธรรมหลวง หมายถึง การเทศน์ธรรมชาดกที่ยาวกว่าเรื่องอื่น ๆ และเป็นการฟังเทศน์ครั้งใหญ่ มีคนมาร่วมฟังเทศน์กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งการฟังเทศน์ครั้งใหญ่มีทั้งการฟังเทศน์แบบธรรมวัตรและฟังมหาเวสสันดรด้วย (ปณิตา สระวาสี, 2559) รูปแบบการตั้งธรรมหลวง มี 2 แบบ (ปณิตา สระวาสี, 2559) ...
    FOLKWAYS

    Posts navigation

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

    บันทึก