FOLKWAYSRituals

“จอบตุ่ม” การถอดพิษด้วยไข่ไก่

0

การจอบตุ่มหรือความเชื่อต่าง ๆ ของผู้คนบางครั้งไม่สามารถที่จะไปหาต้นเหตุหรือความเป็นมาได้แล้ว จึงต้องอาศัยการมาเล่าสู่กันฟังจากคนที่เขาเคยทำ เคยได้ยินมาก่อน และความเชื่อของแต่ละคนมีความต่างกันนิดหน่อย บอกไม่ได้ว่าใครถูกใครผิด ถึงแม้จะอยู่ในอำเภอเดียวกัน

การจอบตุ่ม เป็นพิธีกรรมหนึ่งที่ช่วยในการรักษาโรค โดยคำว่า “จอบ” หมายถึง ชักจูง หรือล่อให้ตาม ส่วนคำว่า “ตุ่ม” หมายถึง เม็ดที่เกิดขึ้นตามผิวหนัง ดังนั้น “การจอบตุ่ม” เป็นการล่อให้ตุ่มหรือพิษ
ออกจากร่างกายเมื่อบุคคลนั้นไม่สบาย ไข้ไม่ยอมลด แม้จะให้ยากินแล้วก็ตาม ชาวบ้านเชื่อกันว่า 
อาจมีตุ่มลี้หรือตุ่มที่มีพิษซ่อนอยู่ในร่างกายแต่ไม่ปรากฏออกมาตามผิวหนัง จึงต้องทำพิธีการจอบตุ่ม
ให้พิษต่าง ๆ ออกมา ด้วยการใช้เหรียญแถบเป็นตัวล่อ (สนั่น ธรรมธิ,2553)

ภาพโดย : เพจ mgronline

ช่วงเวลา

ไม่มีช่วงเวลาที่แน่นอน โดยจะทำพิธีก็ต่อเมื่อมีผู้เจ็บป่วยต้องการให้คนทำพิธีรักษาให้ เนื่องจากรักษาด้วยทางการแพทย์แล้วยังคงมีอาการเจ็บป่วยอยู่ (สุรพล สุเทนะ, สัมภาษณ์, 30 มกราคม 2567)

สถานที่ในการทำพิธี

สถานที่ในการทำพิธีสามารถทำได้ทั้งบ้านของคนทำพิธีและบ้านของผู้ป่วยเองแล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน (สุรพล สุเทนะ, สัมภาษณ์, 30 มกราคม 2567)

อุปกรณ์

1. เหรียญแถบหรือเงินแถบ 1 เหรียญ (ถ้าไม่สามารถหาได้สามารถนำเงินแท้มาทำเป็นเหรียญใช้แทนได้)

2. ถ้วย

3. ข้าวตอกดอกไม้

4. ธูป

5. เทียน

6. เงิน 50 บาทขึ้นไป

7. ไข่ไก่ที่สุกแล้ว

ขั้นตอน

1. นำผู้ป่วยมาทำพิธีพร้อมด้วยอุปกรณ์สำหรับทำพิธี

2. คนทำพิธีนำไข่ไก่ที่ต้มสุกแล้ว ผ่าแบ่งครึ่งเป็นสองซีกแล้วเอาไข่แดงออกทั้งหมด เหลือไว้แค่ไข่ขาว

(บางพื้นที่ปอกเปลือกไข่ก่อนผ่าแต่บางพื้นที่ก็ไม่ปอกเปลือกไข่ แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน)

3. ใส่เหรียญแถบลงไประหว่างไข่ทั้งสองซีก แล้วห่อด้วยผ้ารอบไข่ไก่

4. เสกคาถาที่ไข่ แล้วนำไปเช็ดผู้ป่วยตั้งแต่ศีรษะลงไปจนถึงลำตัว

5. เช็ดไปเรื่อย ๆ พร้อมทั้งสลับกับการท่องคาถาไปด้วย

6. เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 30 นาทีให้แกะไข่เอาเหรียญแถบออกมาดูว่าสีของเหรียญแถบเปลี่ยนไปหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนเป็นสีดำแบบช้ำเลือดช้ำหนองแสดงว่ามีพิษอยู่ในร่างกาย หากสีเหรียญแถบไม่เปลี่ยนแสดงว่าไม่มีพิษอยู่ภายในร่างกาย

7. เช็ดและแกะออกมาดูอย่างน้อย 3 รอบ หรือจนกว่าเหรียญแถบจะเป็นสีปกติ

8. แต่ถ้าอาการป่วยกลับมาอีกครั้ง สามารถทำพิธีนี้ซ้ำได้

คาถา

อาสะกะกา จะกะกา ทาวันนัง คาถาติ  (พูด 3 รอบ)

ข้อห้าม!!

  • ห้ามใช้ไข่ชนิดอื่น สามารถใช้ไข่ไก่ได้อย่างเดียว
  • ห้ามนำไข่ไก่ไปเช็ดตัวของผู้ป่วยบริเวณที่ต่ำกว่าสะดือ
  • ห้ามทำการเช็ดจากข้างล่างไปข้างบน เพราะคาถาจะไม่ดี

การสืบทอด

ใครจะมาสืบทอดหรือมาเรียนจากผู้มีวิชาก็ได้ ไม่จำกัดคุณสมบัติ แต่ถ้าคนที่ผ่านการบวชสามเณรและบวชเรียนเป็นพระภิกษุเมื่อท่องคาถาจะขลังกว่าคนธรรมดา (สุรพล สุเทนะ, สัมภาษณ์, 30 มกราคม 2567)

ความรู้เพิ่มเติม

  • คาถาแก้ปวดหัว “โอมซีแซ แจแงแง โอมจุ๊ต่อ บ่อสหวาหาย”  โดยจะท่องคาถาพร้อมทั้งใช้มือลูบไปด้วยบริเวณที่มีการปวดหัว และถ้าคนป่วยเป็นผู้หญิงจะไม่สามารถลูบบริเวณหน้าได้ แต่จะทำที่หัวเข่าของคนทำพิธีแทน (สุรพล สุเทนะ, สัมภาษณ์, 30 มกราคม 2567)
  • เหรียญแถบ หรือเงินแถบ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “เงินรูปี” เป็นเงินตราของอังกฤษที่ใช้ในประเทศอินเดีย ซึ่งมีรูปกษัตริย์ของอังกฤษอยู่บนเหรียญ ต่อมาเมื่ออังกฤษยึดประเทศพม่าได้ อังกฤษก็นำเอาเงินรูปีจากอินเดียเข้ามาและนิยมใช้ทางตอนใต้ของประเทศพม่า เมื่อชาวอังกฤษมีการติดต่อค้าขายกับทางล้านนา จึงได้ขออนุญาตต่อรัฐบาลไทยนำเงินแถบเข้ามาใช้ในล้านนาด้วย แต่ว่ารัฐบาลไทยไม่อาจผลิตเงินตราออกมาใช้ได้มากตามความต้องการของตลาดโดยเฉพาะในภาคเหนือที่มีกระแสการหมุนเวียนของเงินสูงมากเพราะมีการค้าไม้สัก ชาวล้านนาจึงนิยมใช้เงินรูปีมากกว่าเงินตราจากกรุงเทพ เพราะเงินแถบผลิตจากเงินที่ดีมีเนื้อเงินมาก ต่างกับวัตถุที่ใช้แทนค่าเงินของกรุงเทพที่ทำด้วยทองแดง

ภาพโดย : เพจ mgronline

แหล่งที่มา

“เงินแถบ (เงินตรา).” (2542). ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม 3, หน้า 1393). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

สนั่น ธรรมธิ. 2553. ร้อยสาระสรรพล้านนาคดี. โรงพิมพ์นันทกานต์กราฟฟิคการพิมพ์.  

สุรพล สุเทนะ. (2567, มกราคม 30). ค้าขาย. สัมภาษณ์

Porakamol Massamer
Intern Student form Faculty of Humanities, Chiang Mai University

    “ความเชื่อกับภัยที่เกิดจากฝน” หนทางสู่การเอาชนะธรรมชาติ

    Previous article

    “ส่งเคราะห์” พิธีกรรมทางล้านนา ส่งสิ่งชั่วร้าย เพื่อให้อยู่สุขสบาย ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และอันตรายทั้งปวง

    Next article

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

    บันทึก