ฐานเรียนรู้
-
ศูนย์รวบรวมพรรณไม้และพืชผักท้องถิ่นจังหวัดแพร่และภาคเหนือตอนบน
in ฐานเรียนรู้ที่มาและความสำคัญ ในขณะที่พื้นที่ป่าลดลงความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตก็ลดลงไปด้วย แหล่งอาหารถูกเปลี่ยนตามความต้องการของมนุษย์โดยทุกสิ่งถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีแต่กลับเกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย ทั้งที่ปัจจัยการผลิตทางเกษตรกรรมและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยธรรมชาติเป็นหลักอยู่ โดยเฉพาะพืชพรรณซึ่งถือว่าเป็นผู้ผลิตหลักในห่วงโซ่อาหารไม่มีสิ่งใดทดแทนหน้าที่นี้ได้ อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างหนึ่งเมื่อแหล่งอาหารลดลง คือ ความหลากหลายของพันธุกรรมพืชอาหารพร้อมทั้งวัฒนธรรมการปรุงอาหารที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมกำลังจะเลือนหายไปกับกาลเวลา เพื่อให้ประชาชน เยาวชนเกิดความรัก ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่หลากหลายของการบริโภคผักพื้นถิ่นที่สั่งสมจากบรรพบุรุษมานานที่ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพและการตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม และเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้เห็นได้เห็นความสำคัญของผักพื้นถิ่น นำไปสู่การวางแผนอย่างรอบคอบ ยกระดับ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดองค์ความรู้บนฐานทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดความหลากหลายของผลผลิตสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน โดยเน้นความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้จัดตั้งศูนย์รวบรวมพรรณไม้และพืชผักท้องถิ่นจังหวัดแพร่และภาคเหนือตอนบน ภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบ ในพื้นที่ประมาณ 27 ไร่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพืชและผักพื้นถิ่นและถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติแก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาพืชผักพื้นถิ่นและยกระดับเป็นพื้นที่ที่ได้รับการรอง เป็นการทำการเกษตรในระบบเกษตรเกษตรอินทรีย์ Auther : อาจารย์ ดร.มณฑล นอแสงศรี อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ แหล่งที่มา : http://www.phrae.mju.ac.th/ext/organic-agriculture/ VDO : https://youtu.be/wHxrwt-Z0E4
-
ศูนย์เรียนรู้และส่งเสริมการผลิต การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ และสารชีวภัณฑ์ ในการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดการพึ่งพาเคมีภัณฑ์เกษตร
in ฐานเรียนรู้ที่มาและความสำคัญ จุลินทรีย์มีความใกล้ชิดกับมนุษย์มาอย่างยาวนาน ประโยชน์ของจุลินทรีย์นอกเหนือจากการใช้ในการผลิตอาหารและเครื่องดื่มแล้ว แต่ยังมีบทบาทสำคัญอย่างมากในด้านการเกษตร จึงเรียกว่า “จุลินทรีย์เกษตร (Agricultural microbial)” โดยอาจจะนิยามคำว่า “จุลินทรีย์เกษตร” อย่างง่ายๆว่าเป็น จุลินทรีย์ที่อยู่ในกลุ่ม แอคติโนมัยซีส (Actinomyces) แบคทีเรีย (Bacteria) ยีตส์ (Yeast) รา (Fungi) และจุลสาหร่าย (Microalgae และ Blue green algae) ที่เติมลงไปในดิน แล้วช่วยทำให้ดินเกิดสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะปลูกพืช ทำให้พืชแข็งแรงเจริญเติบโตดี จุลินทรีย์บางสายพันธุ์สามารถใช้คลุกหรือแช่เมล็ดพันธุ์ (seed treatment) เพื่อป้องกันโรคพืชและทำให้เมล็ดพันธุ์มีอัตราการงอกที่สูงได้ และพบว่าจุลินทรีย์กลุ่มรา สามารถช่วยกำจัดแมลงและหนอนศัตรูพืชได้อีกด้วย ดังนั้นสามารถเรียกจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เหล่านี้ว่า หัวเชื้อจุลินทรีย์ (Microbial Agricultural Inoculant) หรือเรียกว่า ปุ๋ยชีวภาพ (Biofertilizer) สำหรับ สารชีวภัณฑ์ (Bio-formulation) เป็นสารสำคัญ ที่เป็นผลได้จากกระบวนการหมัก สกัดหรือแยก จากวัตถุดิบธรรมชาติ (เช่น ผัก ผลไม้ สมุนไพร เศษปลา…
-
ศูนย์เรียนรู้และส่งเสริมคุณภาพตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
in ฐานเรียนรู้ที่มาและความสำคัญ ปัจจุบันการขยายตัวทางเศรษฐกิจและระบบตลาดการค้าระหว่างประเทศส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพของสินค้าและบริการเพิ่มมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการปฏิบัติตามกรอบกติกาการค้าเสรีของ World Trade Organization (WTO) จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการผลิตและการตรวจสอบเพื่อออกใบรองรับรองคุณภาพตามาตรฐานสากล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในสินค้าและบริการ การสร้างการยอมรับในสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทยเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพและความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์รายใหญ่ของโลก มีความสำคัญ ก่อให้เกิดการสร้างมาตรฐานการผลิตด้านเกษตร ดังนั้นจึงต้องการให้เกษตรกรไทยได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ต้นแบบการทำเกษตรที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ผู้ประสานงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา พงษ์การัณยภาส อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาเกษตรป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ แหล่งที่มา : http://www.phrae.mju.ac.th/ext/organic-agriculture/ VDO : https://youtu.be/PqI_LUNBQz8
-
ฐานเรียนรู้พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทยและศูนย์เรียนรู้อัตลักษณ์วิถีเกษตรวิถีแม่โจ้
พิพิธภัณฑ์การเกษตรและวัฒนธรรมไทย ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการบริหารและจัดการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย สืบต่อจากสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
-
ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา
ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา รวบรวมข้อมูล ภูมิปัญญา ตำนาน ความเชื่อ ภาษาล้านนา
-
ฐานเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร
in ฐานเรียนรู้ฐานเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร Learning Base and Technology Transfer of Agricultural Machinery
-
ฐานเรียนรู้ปลาบึกและปลาลูกผสมบึกสยามแม่โจ้
in ฐานเรียนรู้ฐานเรียนรู้ปลาบึกและปลาหนังลูกผสมฯ ผลงานวิจัยโดย รศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน และคณะ