Category: FOLKWAYS
-
“ผีหม้อนึ่ง” ที่พึ่งทางใจของชาวล้านนา
เรื่องราวของผีหม้อนึ่งที่ถูกเล่าผ่านมุมมองของผู้ที่เคยพบเห็นไม่ใช่ผู้สืบทอดโดยตรง ซึ่งเล่าเรื่องราวโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยุตภัฎ คำมูล เป็นอาจารย์สังกัดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ทำงานอยู่ภายในพื้นที่ของอำเภอสันทราย แต่อาจารย์มีความรู้เกี่ยวกับการลงผีหม้อนึ่งจากบ้านเกิดอำเภอแม่แตง ถึงแม้จะต่างอำเภอกัน มีจุดแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ใจความสำคัญเหมือนกัน และการแบ่งพื้นที่ทางวัฒนธรรมไม่มีการแบ่งที่ชัดเจนเหมือนกับการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงเป็นการใช้วัฒนธรรมของชาวล้านนาร่วมกันอีกด้วย ผีหม้อนึ่ง คือ ผีชนิดหนึ่งที่อยู่ในจำพวกผีเรือนซึ่งสถิตอยู่กับหม้อที่ใช้นึ่งข้าว และเป็นความเชื่อที่เสมือนการเสี่ยงทายรูปแบบหนึ่งเพื่อช่วยเหลือผู้คนในกรณีที่วิทยาศาสตร์ให้คำตอบไม่ได้ อย่างการเจ็บป่วยที่ไม่รู้สาเหตุ หรือ การเจ็บป่วยบ่อยเกินกว่าปกติ อุปกรณ์ในการลงผีหม้อนึ่ง 1. หม้อนึ่ง2. ไหข้าว3. ข้าวสารประมาณ 1 ลิตร4. กระด้งใส่ข้าวสาร5. เงิน ซึ่งแต่ละชุมชนมีความแตกต่างกันไป อย่างของอำเภอแม่แตงจะใช้เงินจำนวน 22 บาท แต่ในหนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือเขียนไว้ว่าใช้เงินจำนวน 13 สตางค์6. ดอกไม้ธูปเทียน7. เสื้อ 1 ตัว8. ไม้ที่ยาวประมาณ 2 ศอก สามารถนำสอดแขนเสื้อทั้งข้างซ้ายและข้างขวาได้ ภาพโดย : สมาคมคนเหนือ ภาพโดย : อักขณิช ศรีดารัตน์ ขั้นตอนในการทำพิธี 1. เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ มาทำพิธีที่บ้านของผู้ทำพิธี2.…
-
“ผีเสื้อบ้าน” ตำนานผีล้านนา ปกปักษ์รักษาดูแลหมู่บ้าน
ผีเสื้อบ้าน คือ วิญญาณที่คอยปกป้องดูแลคนในหมู่บ้านซึ่งมีแทบจะทุกหมู่บ้าน โดยคำว่า “เสื้อ” ในภาษาล้านนา หมายถึงการปกป้อง คุ้มครอง เมื่อนำมารวมกับคำว่า “ผี” จะได้คำว่า “ผีเสื้อ” ที่ไม่ใช่แมลงมีปีก แต่มี ความหมายว่า ผีผู้ให้การปกป้องคุ้มครองซึ่งมักจะเชื่อมโยงกับสถานที่ต่าง ๆ ผีเสื้อบ้านส่วนใหญ่จะไม่มีคนทรง ไม่มีชื่อประจำเสื้อบ้านเนื่องจากเสื้อบ้านเปรียบเสมือนเจ้าที่ในแต่ละหมู่บ้าน แต่เสื้อบ้านของหมู่บ้านทุ่งหมื่นน้อยมีหอเสื้อบ้านและเขียนชื่อติดไว้ และบริเวณที่ตั้งหอเสื้อบ้านแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน บางพื้นที่ตั้งหอเสื้อบ้านไว้ข้างถนนหรือบางพื้นที่ตั้งไว้ว่างท้ายหมู่บ้านแล้วแต่ความเชื่อของแต่ละหมู่บ้าน เจ้าหน่อย กาบแก้ว : หอเสื้อบ้านชุมชนทุ่งหมื่นน้อย หอเสื้อบ้าน หอเสื้อบ้าน เป็นกะท่อมที่ทำไว้เพื่อเป็นที่สิงสถิตของพระภูมิเจ้าที่หรือดวงวิญญาณที่คอยรักษาบ้านเรือน ส่วนใหญ่ทำด้วยไม้ หลังขนาดไม่ใหญ่นักมีความกว้างประมาณ 1 ศอก ยาวประมาณ 2 ศอก สูงประมาณ 2 ศอก แต่บางแห่งก็มีขนาดใหญ่มาก สามารถอยู่ได้ 20-30 คน ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนวัสดุในการสร้างหอเสื้อบ้านตามแล้วแต่หมู่บ้านจะสะดวกและการตั้งหอเสื้อบ้านจะตั้งในบริเวณที่ว่างของท้ายหมู่บ้านหรือสถานที่ที่คนในหมู่บ้านคิดว่าเหมาะสม ส่วนใหญ่จะเป็นที่เงียบสงบ ร่มครื้น มีต้นไม้ใหญ่หนาแน่น พ่อหมื่นคำก๋อง : หอเสื้อบ้านชุมชนทุ่งหมื่นน้อย สิ่งของที่มีอยู่บนหอเสื้อบ้าน 1. เสื้อ 1 ผืนปูเรียบร้อย…
-
“ประเพณีปอยหลวง” การเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ของชาวล้านนา
คำว่า “ปอย” เป็นคำพื้นเมืองของภาคเหนือ หมายถึง งานฉลองรื่นเริง คำว่า “หลวง” หมายถึง ยิ่งใหญ่ ความเป็นมา สมัยพุทธกาลมีนางวิสาขามหาอุบาสิกา ได้สร้างวัดชื่อ “บุพพาราม” ถวายแก่พระพุทธเจ้า ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า วัดที่ประดิษฐานขึ้นมามีความงดงามมาก เมื่อสร้างเสร็จนางจึงจัดให้มีการเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่และสนุกสนาน รวมถึงนางวิสาขามหาอุบาสิกาได้พาลูกหลานมาฟ้อนรำรอบวิหาร ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้มีการจัดงานประเพณีปอยหลวงขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน ความสำคัญ ประเพณีปอยหลวง เป็นการเฉลิมฉลองถาวรวัตถุของวัดหรือสิ่งก่อสร้างที่ผู้คนช่วยกันประดิษฐานขึ้นมาเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ และเพื่อให้เกิดอานิสงส์แก่ตนเองและครอบครัวถือว่าได้บุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องแสดงถึงความสามัคคีกลมเกลียวของคณะสงฆ์และชาวบ้าน ไม่เพียงแค่มีการฉลองที่ยิ่งใหญ่แต่ยังมีการจัดงานประเพณีปอยหลวงที่นิยมทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พ่อแม่ปู่ย่าตายาย หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ได้จากการจัดงานประเพณีปอยหลวงก็คือการแสดงความชื่นชม ยินดีร่วมกันและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่คนในท้องถิ่นด้วยการจัดมหรสพ เช่น หนังใหญ่ ลิเก โนรา และการฟ้อนรำ (ยุพา พลสามารถ, 2557) ช่วงเวลาในการจัดประเพณีปอยหลวง ประเพณีปอยหลวงมักจัดในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนยี่จนถึงเดือนหกของภาคเหนือ ซึ่งตรงกับเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคมของภาคกลาง (พระครูจันทสรการ, สัมภาษณ์, 19 มกราคม 2567) ขั้นตอนในการจัดงานประเพณีปอยหลวง 1. วัดที่ต้องการจัดงานประเพณีปอยหลวงจะต้องมีการก่อสร้างถาวรวัตถุ เช่น โบสถ์ วิหาร กุฏิสงฆ์ เจดีย์ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งหลักเกณฑ์นี้ขึ้นอยู่กับความเจริญของแต่ละพื้นที่…
-
“ตั้งธรรมหลวง” เทศน์มหาชาติ ฟังธรรมครั้งยิ่งใหญ่
ตั้งธรรมหลวง หมายถึง การเทศน์ธรรมชาดกที่ยาวกว่าเรื่องอื่น ๆ และเป็นการฟังเทศน์ครั้งใหญ่ มีคนมาร่วมฟังเทศน์กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งการฟังเทศน์ครั้งใหญ่มีทั้งการฟังเทศน์แบบธรรมวัตรและฟังมหาเวสสันดรด้วย (ปณิตา สระวาสี, 2559) รูปแบบการตั้งธรรมหลวง มี 2 แบบ (ปณิตา สระวาสี, 2559) ดังนี้ วัตถุประสงค์ ช่วงเวลาในการตั้งธรรมหลวง การตั้งธรรมหลวงส่วนใหญ่จะจัดในช่วงเดือนยี่เป็งหรือวันลอยกระทง และมีการจัดในช่วงเดือนสี่เป็ง นอกจากนี้ยังมีการตั้งธรรมฟังเทศน์มหาชาติในกรณีพิเศษ คือ การฉลองพระชนมพรรษต่าง ๆ และวาระโอกาสสำคัญของแต่ละสถานที่ การตั้งธรรมหลวงของวัดทุ่งหมื่นน้อย วัดทุ่งหมื่นน้อยมีการตั้งธรรมหลวงช่วงสิ้นปีเป็นการรวมเข้าด้วยกันกับการจัดสวดมนต์ข้ามปี แต่การตั้งธรรมหลวงมีตั้งแต่เช้า เพื่อดึงญาติโยมให้อยู่วัดทั้งวัน การตั้งธรรมหลวงจัดขึ้นแต่ละครั้งนั้นยาก เพราะต้องใช้ความสมัครสมานสามัคคีและความพร้อมในหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นผู้คน สถานที่ ซึ่งการตั้งธรรมหลวงของวัดทุ่งหมื่นน้อยถือว่าเป็นการสืบชะตาอายุตามแต่ละปีนักกษัตร โดยจะมีการเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ แต่ปีนักกษัตรมีเพียง 12 ปีเท่านั้น จึงจัดให้การเทศน์มหาชาติกัณฑ์ที่ 13 เป็นการชุมนุมรวมชะตาทุกปีเกิด รวมทั้งมีการจำลองเขาวงกต ซึ่งเป็นเรื่องราวตอนหนึ่งในมหาเวสสันดรชาดกตอนที่ พระเวสสันดรออกจากเมืองไปบำเพ็ญบารมีในป่าเขาวงกต เด็ก ๆ ที่มาวัดได้มาเล่นเขาวงกตนี้ก็จะรู้สึกสนุกสนานไปด้วย (พระครูจันทสรการ, สัมภาษณ์, 19 มกราคม…
-
“ตานข้าวใหม่” ประเพณีหลังฤดูเก็บเกี่ยว ระลึกถึงบุญคุณคน
ประเพณีตานข้าวใหม่ เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้า เมื่อชาวบ้านได้ยินสัญญานที่เกิดจากไม้ที่ระเบิดที่เกิดจากการทำหลัวหิงไฟพระเจ้า ก็จะนำข้าวใหม่หลังการเก็บเกี่ยวไปทำบุญที่วัด ความเป็นมา ความเป็นมาของประเพณีตานข้าวใหม่มีหลากหลายเรื่องราวที่ถูกบอกเล่าต่อ ๆ กันมามีทั้งความคล้ายคลึงกันและแตกต่างกันบางส่วน ขึ้นอยู่กับความเชื่อและมุมมองของบุคคลที่มีต่อประเพณี ถึงแม้ว่าจะเป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเดียวกัน ดังนี้ ช่วงเวลาในการจัดประเพณี ประเพณีตานข้าวใหม่นิยมจัดในช่วงเดือนสี่เป็งของภาคเหนือ หรืออยู่ในช่วงประมาณปลายเดือนธันวาคมจนถึงเดือนมกราคม ซึ่งในปี 2567 ตรงกับวันที่ 27 มกราคม เช่นเดียวกับประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้า ขั้นตอนในงานประเพณีตานข้าวใหม่ ประเพณีตานข้าวใหม่มีความเกี่ยวข้องกับประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้า เนื่องจากชาวบ้านได้ยินเสียงระเบิดที่เกิดจากการทำหลัวหิงไฟพระเจ้าเป็นการส่งสัญญาณให้ชาวบ้านมาทำบุญที่วัด โดยหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อยจะนำข้าวเปลือกไปเก็บไว้ในยุ้งข้าว แล้วนำข้าวเหล่านั้นไปนึ่งให้สุก และจัดเตรียมสิ่งของต่าง ๆ มาเพื่อถวายพระสงฆ์ หลังจากถวายเสร็จจะมีการรับศีล รับพร และกรวดน้ำ (รุ่งนภา สงวนศักดิ์ศรี, 2563; สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่, 2565) การสืบสานประเพณีให้ยังคงอยู่ต่อไป ประเพณีตานข้าวใหม่จะยังคงอยู่เพียงแค่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ถึงแม้ว่าประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้าที่มีความเกี่ยวข้องกันกำลังจะสูญหายไปโดยประเพณีนี้ผู้คนจะนำข้าวเปลือกที่ตนเองได้จากการทำไร่ทำนามาถวายพระ แต่ในปัจจุบันผู้คนทำเกษตร ปลูกข้าวกันน้อยลงจึงมีการปรับเปลี่ยนจากการนำข้าวเปลือกข้าวสารที่ปลูกด้วยตนเองเป็นการซื้อข้าวเปลือกข้าวสารจากร้านค้าแทน และการจัดประเพณีนี้จะยังจัดในช่วงเดือน 4 เป็งอยู่ แต่บางคนจะถวายข้าวเปลือกก่อนจะถึงเดือน 4 เป็ง แล้วแต่ความสะดวกของผู้คนในปัจจุบัน (นพดล พิมาสน, สัมภาษณ์, 17 มกราคม 2567) แหล่งที่มา…
-
“ตานหลัวหิงไฟพระเจ้า” ประเพณีที่มอบความอบอุ่นในเดือนสี่เป็ง
“ตาน” คือ ถวาย,ทาน “หลัว” คือ ฟืนที่นำมาเป็นเชื้อก่อไฟ “หิง” คือ การผิงไฟ,การก่อไฟ “พระเจ้า” คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเป็นมา ความเป็นมาของประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้ามีความสอดคล้องกับบริบททางสภาพแวดล้อม เนื่องจากเป็นพื้นที่ ๆ มีอากาศหนาวจัดมาก มีป่าไม้ที่อุดสมบูรณ์ ต้นไม้ขึ้นหนาแน่น และมีความชื้นสูง นอกจากนี้ชาวบ้านนิยมไปทำบุญตักบาตรช่วงเช้าที่มีอากาศหนาวเย็น ผู้คนในสมัยก่อนจึงมีการคิดหากุศโลบายว่า ให้ชาวบ้านเอาไม้ไปคนละวา เพื่อนำไปทำหลัวหิงไฟพระเจ้า เพราะกลัวว่าพระพุทธรูปที่อยู่ในวัดจะหนาว แต่ความจริงก่อไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่พระสงฆ์ และชาวบ้านที่ไปทำบุญ ด้วยเหตุที่ว่าในสมัยก่อนไม่มีเครื่องนุ่งห่มที่สามารถป้องกันความหนาวเย็นได้เท่ากับปัจจุบัน (นพดล พิมาสน, สัมภาษณ์, 17 มกราคม 2567) ความเชื่อ ช่วงเวลา ประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้านิยมจัดในช่วงเดือนสี่เป็งของภาคเหนือ หรืออยู่ในช่วงประมาณปลายเดือนธันวาคมจนถึงเดือนมกราคม ซึ่งในปี 2567 ตรงกับวันที่ 27 มกราคม และ 1 ปีมีการจัดเพียงแค่ 1 ครั้งเท่านั้น โดยกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เคยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 แต่ในปีต่อ…
-
ปล่อย “โคม/ว่าว” สู่ฟากฟ้า เคารพบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี
ความเป็นมา หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เจ้าเมืองต่าง ๆ ก็ยกทัพมาแย่งชิงจะเอาพระธาตุไปเป็นของตนเอง โทณพราหมณ์จึงรับผิดชอบในการแบ่งพระธาตุให้กับเจ้าเมืองแต่ละเมือง แล้วได้ฉุกคิดขึ้นว่าเราเป็นคนแบ่งพระธาตุ ทำไมเราจะไม่ได้พระธาตุสักชิ้นเลย จึงทำการซ่อนพระเกศแก้วจุฬามณีไว้ในผ้าโพกผมของตนเอง ในขณะเดียวกันเหล่าเทวดาที่อยู่บนสวรรค์ก็มีความคิดว่าโทณพราหมณ์แบ่งพระธาตุไม่ได้นึกถึงเทพเทวดาเลย จึงแอบเอาพระธาตุชิ้นที่โทณพราหมณ์นั้นซ่อนไว้ และนำพระเกศแก้วจุฬามณีไปไว้บนสรวงสวรรค์ (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566) ความเชื่อ การปล่อยโคมเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี เป็นความเชื่อของผู้คนที่จะทำทุกวิธีทางเพื่อให้สามารถกราบไหว้พระเกศแก้วจุฬามณีที่อยู่บนสวรรค์ได้ ทำให้เกิดโคมที่สามารถลอยขึ้นไปบนอากาศ และเชื่อกันว่าการปล่อยโคมเปรียบเสมือนการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศก (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566) สถานที่ในการปล่อยโคม ในสมัยก่อนนิยมปล่อยโคมที่หัววัดหรือวัดประจำตำบล จะไม่มีการปล่อยตามบ้านเรือนหรือวัดเล็ก ๆ ว่าวฮม/โคมลอย ภาพโดย : เพจศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่ โคมลอยมาจากศัพท์สองคำ คือ “โคม” ที่หมายถึง เครื่องใช้ที่ให้กำเนิดแสงสว่าง และคำว่า “ลอย” ที่หมายถึง ทรงตัวอยู่ในน้ำหรือในอากาศ ดังนั้น “โคมลอย” จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถลอยอยู่ได้ทั้งในน้ำและในอากาศก็ได้ทั้งสองกรณี(อุดม รุ่งเรืองศรี,2554) แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ได้ให้คำจำกัดความของ…
-
“ผางประทีป”ส่องสว่างดั่งแสงนำทางแห่งชีวิต
ผางประทีป เป็นประทีปที่ใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระพุทธเจ้า และเป็นการนำไปใช้ในการบูชาสืบชะตาต่ออายุของตนเอง อีกนัยหนึ่งเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันในการจุดแทนตะเกียงช่วงเวลากลางคืน (เยาวนิจ ปั้นเทียน, 2542) คำว่า “ผาง” หมายถึง ภาชนะรองรับน้ำมันหรือไขที่เป็นเชื้อเพลิงของประทีป คำว่า “ประทีป” หมายถึง แสงไฟ ความเป็นมา ความเชื่อ การจุดประทีปถือเป็นสัญลักษณ์ของความกตัญญูรู้คุณไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ หนังสือ ดินสอ และเป็นกลอุบายอย่างหนึ่งที่ทำให้คนได้รำลึกถึงสิ่งที่มีบุญคุณกับตัวเรา นอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บุพการีแล้ว ยังรวมไปถึงความเชื่อที่อยากให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงความทุกข์ยากลำบากของคนเฒ่าคนแก่ในสมัยก่อนว่ามีการใช้ชีวิตอย่างไร (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566) การวางผางประทีป การวางผางประทีปในสมัยก่อนจะวางไว้ตามรั้ว หัวเสา ประตู หน้าต่าง คอกวัว และคอกควาย รวมถึงการวางไว้ใกล้กับเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการทำมาหากิน หรือเป็นการวางไว้ตามสถานที่ที่ผู้คนได้พึ่งพาอาศัยสิ่งเหล่านั้นสำหรับการสร้างประโยชน์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566) แหล่งที่มา เยาวนิจ ปั้นเทียน. (2542).…
-
“ซุ้มประตูป่า” วัฒนธรรมชาวล้านนา ต้อนรับการกลับมาของพระเวสสันดร
ซุ้มประตูป่า เป็นปากทางที่จะเข้าสู่ป่า มักจะปรากฏอยู่เป็นเสา ตั้งอยู่ที่ชายหมู่บ้าน ขนาบทางเดินที่จะเข้าป่า ซึ่งมักจะเป็นส่วนประดับอยู่ระหว่างเสาทั้งคู่ ใช้เป็นบริเวณที่ประกอบพิธีกรรมสำหรับหมู่บ้าน การทำซุ้มประตูป่าในสมัยก่อนจะแยกย้ายกันทำของบ้านตนเอง มีการนำต้นกล้วย ต้นมะพร้าว ใบกล้วย ใบมะพร้าวมาใช้ในการประดับตกแต่งซุ้มประตู ซึ่งการทำซุ้มประตูป่าของแต่ละบ้านเรือนเริ่มหายไปแล้วประมาณ 10 ปีก่อน สาเหตุที่หายไปเพราะเทศบาลของแต่ละตำบลมีการจัดประกวดซุ้มประตูป่าของหมู่บ้าน ชาวบ้านเลยไปร่วมมือกันทำที่เดียว ไม่มีการทำของแต่ละบ้านแล้ว ในช่วงกลางคืนก็มีการจัดดนตรี มีฟ้อนรำให้คนมาร่วมสนุก รอประกาศผลการทำซุ้มประตูป่า (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566) ความเป็นมา ชาวบ้านจะเตรียมตัวจัดตกแต่งประตูบ้านและประตูวัดให้เป็นซุ้มประตูป่าอย่างสวยงาม เพื่อเป็นเครื่องสักการะถวายการต้อนรับพระเวสสันดรในเดือนยี่เป็ง ครั้งเสด็จออกจากป่าเข้าสู่เมือง ซึ่งปรากฏในเวสสันดรชาดก อันเป็นชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะประสูติเป็นพระพุทธเจ้า และเชื่อกันว่าถ้าใครตกแต่งซุ้มประตูป่าได้งดงาม อาจทำให้พระเวสสันดรเสด็จหลงเข้ามาในซุ้มประตูป่าที่จำลองเป็นป่าภายในบ้าน และจะทำให้ได้อานิสงส์อย่างมาก (มณี พยอมยงค์, 2547; สงวน โชติสุขรัตน์, 2511) ความเชื่อ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำซุ้มประตูป่าสามารถนำวัสดุอะไรมาทำก็ได้ เพราะไม่มีการจำกัดอุปกรณ์ในการทำ และไม่มีความหมายที่สำคัญแอบแฝง การนำต้นมะพร้าว ต้นกล้วยมาทำเนื่องจากหาได้ง่ายและสร้างความสวยงามให้แก่ซุ้มประตูป่าได้ แต่พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม กล่าวว่า การนำต้นกล้วยมาทำซุ้มประตูอาจจะสื่อถึงการเป็นของเย็น…
-
มนต์เสน่ห์วัฒนธรรมลอยกระทงแบบล้านนา “ประเพณียี่เป็ง”
ประเพณียี่เป็ง เป็นประเพณีเก่าแก่ของภาคเหนือที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 ในภาษาเหนือ คำว่า “ยี่” แปลว่า สอง ส่วนคำว่า “เป็ง” แปลว่า เพ็ญ หรือ พระจันทร์เต็มดวง โดยเดือนทางภาคเหนือจะนับเร็วกว่า 2 เดือน ซึ่งเดือนยี่ของภาคเหนือตรงกับเดือน 12 ของภาคกลางหรือวันลอยกระทง ความเป็นมา ความเชื่อ ความเชื่อของประเพณียี่เป็ง เป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่อยู่ในมหาสมุทร อีกความเชื่อหนึ่งเป็นการบูชาพระแม่คงคา บูชาน้ำ ขอโทษขออภัยและขอบคุณที่ให้น้ำในการนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันเป็นการลอยกระทงเพื่อหาคู่ และมีบางคนที่ตัดเล็บตัดผมใส่ไปด้วยถือเป็นการลอยเคราะห์ (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566) กิจกรรมของประเพณียี่เป็ง ความแตกต่างของประเพณียี่เป็งในอดีตและปัจจุบัน ในอดีตการจัดงานประเพณียี่เป็งเป็นแบบเรียบง่าย แต่ในปัจจุบันประเพณียี่เป็งมีการสร้างสรรค์งานอย่างอลังการ ไม่มีแก่นแท้ของประเพณีว่าประเพณีนี้มีความเป็นมาอย่างไร จัดขึ้นมาเพื่อสาเหตุอะไร และน้อยคนที่จะเห็นถึงความงดงามของประเพณีจริง ๆ รวมถึงมีการแอบแฝงไปด้วยการแสวงหาผลประโยชน์จากตุง โคมแขวน โคมไฟ เมื่อก่อนผู้คนจะไม่นำสิ่งเหล่านี้ไปไว้ตามบ้านเรือนมีเพียงแค่ที่วัดเท่านั้น สมัยนี้ตุง โคมแขวนกลายเป็นของประดับตกแต่ง และสังคมไทยโดนวัตถุนิยมครอบงำ คิดที่จะทำสิ่งใดก็จะต้องมีเงินเป็นค่าตอบแทน คนจึงฉวยโอกาสจากประเพณีไปใช้ในการหาเงินในการขายเหล้า ขายเบียร์…