Tag: ปราชญ์ล้านนา
-
มานิตย์ บุญศรี ภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว
ภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว นายมานิตย์ บุญศรี ตําบลหนองแหย่ง อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผลงานการทํากระบวย ทัพพี แก้วกาแฟ แก้ววาย กระปุกออมสิน พาน (ขัน) ซึ่งทําจาก กะลามะพร้าว และยังทําด้ามมีด ด้ามขวาน การกลึงไม้รูปแบบต่างๆ แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
-
โสภิณ อุ่นเมือง ภูมิปัญญาการจักสานใบมะพร้าวและแกะสลักไม้
ภูมิปัญญาการจักสานใบมะพร้าวและแกะสลักไม้ นางโสภิณ อุ่นเมือง บ้านหนองแหย่ง ตําบลหนองแหย่ง อําาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผลิตภัณฑ์สานใบมะพร้าว ได้แก่หมวก พาน ซุ้มโค้ง ซุ้มประตูป่าแบบต่างๆ พัด สลิ่ง แกะสลัก ผัก ผลไม้ และยังสามารถแกะสลักไม้รูปแบบต่างๆ ได้อีกด้วย ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรสอนการสานใบมะพร้าวตามสถานศึกษาได้แก่ โรงเรียนบ้านลวงเหนือ โรงเรียนชลประทานผาแตก โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ และสาธิตให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเทศ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และมีผู้เชิญให้ไปสาธิตและบรรยายในสถานที่ต่างๆ ได้ใบประกาศเกียรติคุณจาก เครือข่ายกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตรธารา เป็นครูภูมิปัญญาชุมชนของสถานศึกษาในตําบลลวงเหนือ อําเภอ ดอยสะเก็ด จังวัดเชียงใหม่ ผลิตภัณฑ์จากใบมะพร้าว แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
-
รัตนา บุญจันต๊ะ ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง
ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง นางรัตนา บุญจันต๊ะ ตําบลหนองแหย่ง อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การทอผ้าพื้นเมือง ได้แก่ ซิ่นไตลื้อ ซิ่นลายน้ําไหล ซิ่นก่าน ผ้าซิ่นยกลาย ผ้าตัดเสื้อ ผ้าขาวม้า ตุงชัย ถุงย่ามและการทอเย็บกระเป๋า ซิ่นลายที่เป็นเอกลักษณ์และได้รับรางวัลของดีอําเภอสันทราย คือ “ซิ่นหมาต่าควายหลวง” วัสดุและอุปกรณ์ ฝ้าย กระบวนการและขั้นตอนการผลิต ด้านการอนุรักษ์และเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้ ได้ไปเป็นวิทยากรสอนการทอผ้าพื้นเมืองแก่ กลุ่มแม่บ้านบ้านศรีงาม ตําบลแม่แฝก อําเภอสันทราย กลุ่มสตรีแม่บ้านบ้านดงเจริญชัย ตําบลหนองแหย่ง มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และนักเรียนต่างๆ มาเก็บข้อมูลการทอผ้าแบบพื้นเมืองและลายผ้าต่างๆ ได้ไปสาธิตการทอผ้า ตามสถานที่ต่างๆ เช่น สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานของดีอําเภอสันทราย และสวนพฤกษาศาสตร์ทวีชล เป็นต้น การทอผ้าแบบพื้นเมืองจะต้องใช้ความอดทน ความพยายาม ทักษะและใจรัก อยากให้กลุ่มเยาวชนหรือผู้ที่สนใจมาเรียนรู้การทอผ้าแบบพื้นเมือง ลายผ้าที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะ รูปแบบและการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือให้ดํารงอยู่ในวิถีชีวิตของคนในสังคม ต่อไป นางรัตนา บุญจันต๊ะ ได้เป็นวิทยากรและสาธิตการทอผ้ามือแบบพื้นเมือง รวมถึงการประกวด ลายทอผ้า…
-
เพ็ญศรี บุญเพิ่มพูน ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง
ภูมิปัญญาการทําผ้าทอมือพื้นเมือง นางเพ็ญศรี บุญเพิ่มพูน ตําบลหนองแหย่ง อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การทําผ้าทอมือ ผ้าซิ่น ผ้าพื้น ผ้าคลุมไหล่ การทอตุงชัย การทําถุงย่าม การทําผ้าขาวม้าและได้รับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรบรรยายและสาธิตตามสถานที่ต่างๆ ได้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านบ้านสัน หลวง กลุ่มสตรีแม่บ้านบ้านเจดีย์แม่ครัว มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลล้านนา นักเรียนมาศึกษาเก็บข้อมูลการทอผ้า ไปสาธิตการทอผ้าที่สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปสาธิตการทอผ้างานของดีอําเภอสันทราย ไปออกสินค้าในงานประชารัฐของเทศบาลตําบลหนองจ๊อมและเทศบาลตําบลหนองแหย่ง กลุ่มทอผ้าบ้านดงเจริญชัย ได้รับวุฒิบัตรจาการฝึกอบรมส่งเสริมผู้นําองค์กรวิสาหกิจชุมชนใน การจัดทําแผนธุรกิจรุ่นที่ 4 มอบให้โดยนายสุวัฒน์ ตันติพิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ใบ เกียรติบัตรภูมิปัญญาการทอผ้าของดีอําเภอสันทราย ได้รับประกาศนียบัตร ผ้าทอพื้นเมืองลายดอก- ลายน้ําไหล ตามโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2547 (OTOP) ประเภท 3 ดาว แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
-
คำจันทร์ จองฟอง ภูมิปัญญาปราชญ์ล้านนาการทำหมากไหม
ผลงาน การทำหมากไหม หมากแก่นแห้ง สาหรับใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ของชาวล้านนาหรือนำไปกินและ ใช้เป็นยาสมุนไพร แก้ไข้ แก้เบาหวาน ใช้ย้อมสีน้ำหมาก ยาถ่ายพยาธิ หมากไหม คือ การนำหมากที่เป็นลูกนำมาผ่าเป็นกลีบ 5-6 กลีบแล้วนำมาร้อยเป็นเส้นหรือ ร้อยไหม 1 เส้น เรียกว่า 1 ไหม 10 ไหม เรียกว่า 1 หัว 10 หัว เรียกว่า หมากหมื่น หรือ มีร้อยไหม, ร้อยเส้น การคัดเลือกต้นป๋อที่จะมาทาเป็นเชือกร้อยหมาก คือต้น ป๋อที่ดีต้องมีลักษณะที่ลำต้นตรง มีอายุ 5 ปีขึ้นไปต้องเป็นต้นป๋อที่มียอดใบสีแดงจะได้เชือกป๋อที่ดีมากถ้าเป็นป๋อยอดขาวจะได้เชือกป๋อที่พอใช้ ต้นป๋อที่ไม่สมควรนามาใช้ คือ ป๋อต่าง ป๋อริมน้ำ ป๋อแอ่นอกม้า ป๋อเกี้ยวต้น ซึ่งป๋อเหล่านี้เมื่อนำเอาเยื่อ ป๋อออกมาแล้วจะได้เส้นใยที่ไม่ตรง ฉีกขาดง่าย และต้นป๋อออกดอกออกผลจะไม่ตัดเพราะจะได้เยื่อเส้น ใยที่บางและมีน้อย เมื่อได้ต้นป๋อตามขนาดที่ต้องการแล้วตัดยาว 1 เมตร ปลอกเปลือกแล้วเอาเยื่อป๋อ ออกจะได้…
-
ศุภจิตรา คำราพิช ภูมิปัญญาด้านการทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม
ผลงาน การทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม รูปแบบผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นขนาดพอดีคำ ข้าวแต๋นรูปหัวใจ ข้าวแต๋น ขนาดทั่วไป แบบราดน้ำอ้อยและแบบไม่ราดน้ำอ้อย และนำเศษข้าวแต๋นที่แตกหักหรือเป็นเม็ดมาทำเป็นข้าวแต๋นอัด ได้ออกรายการทีวีโทรทัศน์ รายการไอเดียทำเงิน ออกอาศทางช่อง ๕ และรายการของเชพโรเจอร์ แวนแดม เชฟระดับมิชชลิน ผู้ชำนาญทางด้านขนมหวานและเบเกอร์รี่ ออกอากาศที่ประเทศเบลเยี่ยม ตอน Roger Van Damme in Thailand รับออกงานสาธิตนอกสถานที่ เช่น คุ้มขันโต๊ก ร้านม่อนฝ้าย แสดงและสาธิตผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นให้นักท่องเที่ยวได้ชมและชิม รวมทั้งยังเป็นสถานที่ที่ให้นักเรียน นักศึกษามาบันทึกถ่ายทำภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำข้าวแต๋นอีกด้วย วัสดุเครื่องมือการทำข้าวแต๋น ข้าวเหนียว กข. 6 แตงโม งาดำ น้ำอ้อย น้ำตาลปีบ เกลือ น้ำมัน พิมพ์สำหรับกดข้าวแต๋น เตาอบ กระทะ ขั้นตอนการทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม ปั้นแตงโมกรองเอาแต่น้ำแตงโมนำมาผสมกับน้ำตาลปีบและเกลือ แช่ข้าวเหนียว กข.6 1 คืน นำมานึ่งให้สุกราดน้ำแตงโมและผสมเข้ากับงาดำ นำมากดใส่พิมพ์ข้าวแต๋น นำไปอบหรือนำไปตากให้แห้ง ตั้งกระทะใส่น้ำมันแล้วนำไปทอดแล้วนำมาราดด้วยน้ำอ้อย ใส่ถุงบรรจุภัณฑ์ ด้านการอนุรักษ์สืบสานเผยแพร่และการถ่ายทอดองค์ความรู้…
-
รินทอง ธินะ ปราชญ์ล้านนาด้านงานใบตอง ดอกไม้สด
ผลงาน งานใบตอง ดอกไม้สด งานบายศรีบวงสรวง บายศรีพรหม บายศรีเทพ บายศรีปากชาม ขันผูกมือ บายศรีหลัก บายศรีประกอบพิธีต่างๆ มาลัยบ่าวสาว มาลัยข้อพระกร ช่อดอกไม้สด ช่อดอกไม้เงิน ช่อดอกไม้จากใบเตย ปลาตะเพียนใบเตย พานไหว้ครู กระทงรูปทรงต่างๆ กรวยดอกไม้ จัดดอกไม้สดรูปทรงต่างๆ และเครื่องสักการะล้านนา วัสดุอุปกรณ์การทำพานไหว้ครู ใบตองตานี 5 เข็มหมุด ดอกกล้วยไม้ 6 เข็ม ด้าย ดอกบานไม่รู้รวย 7 พาน ดอกพุด 8 โฟมพุ่ม ขั้นตอนวิธีการทำ ทำงานใบตองกลีบคอม้า กลีบผกา กลีบเล็บมือนาง เป็นส่วนประกอบหลักการทาพานไหว้ครู เย็บแบบขอบใบตองกล้วยไม้ชั้นใน ประกอบงานใบตองที่ทาไว้แล้วเข้ากับโฟมพุ่มบานพานปักเข็มหมุดยึดให้แน่น ตกแต่งด้วยดอกกล้วยไม้ให้สวยงาม ร้อยมาลัยคาดพานพุ่มที่ตกแต่งแล้วยึดติดให้แน่น ทำมาลัยตูมด้วยดอกกล้วยไม้เสียตรงยอดพานพุ่ม จะได้พานพุ่มไหว้ครูที่เสร็จเรียบร้อย ด้านการเผยแพร่ อนุรักสืบสานและถ่ายทอดองค์ความรู้ ได้เชิญให้ไปเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ โรงเรียนบ้านบวกเปา โรงเรียนบ้านหัวฝาย กลุ่มผู้สูงอายุภายในหมู่บ้าน เทศบาลตาบลสันทรายหลวง สาธิตการทำงานใบตองและเครื่องสักการะล้านนาแก่ชาวต่างชาติ ให้สัมภาษณ์แก่นักศึกษาปริญญาเอก…
-
แม่ครูบัวจันทร์ นนทวาสี หัตถกรรมเครื่องสักการะล้านนาและการทําข้าวแต๋น
ผลงาน เครื่องสักการะล้านนา หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นผึ้ง ต้นเทียน ต้นดอก การทำข้าวแต๋น ได้เชิญให้ไปเป็นวิทยากรบรรยายและสถานที่ต่างๆ ทั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัยและเทศบาลตำบล จนเป็นที่ยอบรับได้รับรางวัลเกียรติคุณจากหลายหน่วยงาน การทำเครื่องสักการะล้านนา หมากสุ่ม จัดเตรียมต้อมก้อมหรือต้นกล้วยที่มีขนาดพอเหมาะประมาณ 60-80 เซนติเมตรพร้อมทำฐานต้นกล้วย ดัดไม้หรือลวดให้เป็นทรงพุ่ม นำหมากแห้งที่ร้อยเป็นเส้นแล้วมาผูกกับไม้หรือลวดที่ดัดเป็นทรงพุ่ม นำดอกไม้มาประดับตรงฐานของพุ่มหมากสุ่มให้สวยงาม หมากเบ็ง จัดเตรียมต้อมก้อมหรือต้นกล้วยที่มีขนาดพอเหมาะประมาณ 60-80 เซนติเมตรพร้อมทาฐานต้นกล้วย นำใบพลูสองใบมาพับแล้วนำมาไขว้กันเสียบไว้กับไม้เสียบลูกชิ้นพร้อมกับนำผลหมากดิบ จานวน 24 อัน นำไปเสียบกับขันต้อมก้อมหรือต้นกล้วยให้เป็นทรงพุ่ม ใช้ดอกไม้สดประดับตกแต่งฐานต้อมก้อนหรือต้นกล้วยให้สวยงาม ต้นผึ้ง จัดเตรียมต้อมก้อมหรือต้นกล้วยที่มีขนาดพอเหมาะประมาณ 60-80 เซนติเมตรพร้อมทำฐานต้นกล้วย นำขี้ผึ้งที่เป็นแผ่นมาตัดให้เป็นรูปดอกไม้แล้วปักไม้เสียบลูกชิ้นจานวน 24 อัน แล้วนำไปเสียบกับต้อมก้อมหรือต้นกล้วยให้เป็นพุ่ม นำดอกไม้สดมาตกแต่งให้เป็นพุ่มสวยงาม ต้นเทียน จัดเตรียมต้อมก้อมหรือต้นกล้วยที่มีขนาดพอเหมาะประมาณ 50-80 เซนติเมตรพร้อมทาฐานต้นกล้วย นำเทียนสองเล่มมัดตรงสนวนเข้าด้วยกันกับไม้เสียบลูกชิ้น จานวน 24 อัน แล้วนำไปเสียบกับต้อมก้อมหรือต้นกล้วยให้เป็นพุ่ม นำดอกไม้สดมาตกแต่งให้เป็นพุ่มสวยงาม ต้นเทียนดอก จัดเตรียมต้อมก้อมหรือต้นกล้วยที่มีขนาดพอเหมาะประมาณ 60-80 เซนติเมตรพร้อมทำฐานต้นกล้วย นำดอกไม้สดมาตกแต่งเป็นพุ่มให้สวยงาม รางวัลเกียรติคุณ…
-
พรชัย ตุ้ยดง ด้านศิลปะการแสดงฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิงและประกอบศาสตราวุธ
ผลงาน ครูสอนฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ และศาสตราวุธต่างๆ การประกอบศาสตราวุธ ดาบ หอก ง้าว ขอช้าง ประธานชมรมรักดาบ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้จัดโครงการเสวนาและนิทรรศการ การแสดงศาสตราวุธล้านนา ซึ่งจัดมาแล้วถึง 12 ครั้ง ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่านและจังหวัดพะเยา ผู้จัดโครงการเผาข้าวหลามถามเรื่องดาบ ผู้จัดโครงการร่ายดาบวาดเจิงเพื่อสุขภาพ ผู้จัดโครงการค่ายรักดาบสัญจรปี 53 ณ วัดพญาวัดอำเภอเมือง จังหวัดน่าน แบบเรียนวิชาฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง (ลายสิบสองปันนา) ผลงานวิจัยบทบาทของดาบในสังคมล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวบรวมเอกสารประวัติกลองปูชาล้านนา ในโครงการกลองปูชาคืนสู่วัด สื่อการสอนการตอกลายกระดาษล้านนา เอกสารประกอบการเรียนตีกลองสะบัดชัย เอกสารประกอบการเรียนดนตรีพื้นเมือง การฟ้อนดาบฟ้อนเจิง(ลายสิบสองปันนา) ย่างขุม 12 ฟ้อนท่าลายมือตบมะผาบ 3 ชุด (ท่าแม่หลักขุม 3) ชุดที่ 1 ตบ 4 ครั้ง ประกอบการย่างขุม 3 ต่อชุดที่ 2 ตบ 8 ครั้ง…