ArtistCraftsmanKNOWLEDGE

อนันต์ สุจริต ภูมิปัญญาการทําโคมแขวนล้านนา

0

ภูมิปัญญาการทําาโคมแขวนล้านนา

นายอนันต์ สุจริต ตําบลสันนาเม็ง อําเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ผลงานการทําโคมแขวนล้านนา ขนาด 5 นิ้ว 4 นิ้ว 6 นิ้ว 14 นิ้ว 15 นิ้วและขนาด 1 เมตร ทํา โคมเงี้ยว โคมร่ม โคมดาว ตุงชัย โดมทรงเพชร โคมประยุกต์ ตุงจ่อและโคมเพชรฐานบัว ออกแบบและ พัฒนาโคมให้มีลักษณะที่แตกต่างจากที่อื่น โดยใช้วัสดุทั้งที่เป็นผ้าผ้าและกระดาษสา

โดมแขวนจะนิยมซอกันในช่วงประเพณียี่เป็งหรืองานลอยกระทง เพื่อนําไปแขวนประดับตามบ้านเรือน วัดวาอาราม แล้วจุดผางประทีปใส่ในโคมเพื่อเป็นการบูชาและสร้างความสวยงามในยาม กลางคืน โดมที่มีผู้นิยมซื้อจํานวนมาก คือโคมแขวนการดาษสาขนาด 5 นิ้ว ราคา 20-25 บาท นอกจากจะได้ขายในประเพณีที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังสามารถนําไปตกแต่งตามโรงแรม รีสอร์ท หรือการ จัดงานต่างๆ ตาม Theme งานที่กําหนดไว้ หรืออาจจะนําไปใช้ในขบวนแห่ได้อีกด้วย


ผลิตภัณฑ์ของนายอนันต์ สุจริต 

ขั้นตอนการประดิษฐ์โคมแขวนอย่างง่ายดังนี้ วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ทําโคมแขวน

ไม้เฮี้ย/ไม้ข้าวหลาม แม็กเย็บ พิมพ์ที่หักไม้ตอก กาว เชือกฝ้าย ตัวหนีบ กระดาษต้องลาย กระดาษสา ผ้า กระดาษทองและกรรไกร

วิธีทำ

  1. นําไม้เฮี้ย/ไม้ข้าวหนาม มาจักเป็นตอก จากนั้นนําตอกมาหักกับพิมพ์ตามขนาดที่เราต้องการ เพื่อให้ได้โครงของโคม ใช้ไม้ที่เราหักไว้ 4 อัน เพื่อทําเป็นแนวตั้ง และหักเพื่อทําเป็นโครงแนวนอนด้าน ในอีก 2 อัน หลังจากนั้นนํามาประกอบกันให้เป็นลูก โดยใช้กาวหยอดและใช้ที่หนีบหนีบไว้จนกาวแห้งสนิท
  2. การทํามงกุฎหรือหูแมว ซึ่งจะติดอยู่ด้านบนของตัวโคม หักดอกไม้เฮี้ย/ไม้ข้าวหลาว โดยท่า ฐานเป็นสี่เหลี่ยมตามขนาดที่เราทําไว้ในข้อที่ 1 โดยทํ 2 อัน เพื่อจะทํามงกุฎและติดหางโคม จากนั้น หักตอกให้เป็นสามเหลี่ยมและติดทั้งสี่ด้านจะได้ออกมาเหมือนมงกุฎหรือหูแมว
  3. ตัดกระดาษสาหรือผ้าขาวผ้าสี ให้มีขนาดเท่ากับโครงของโคมในแต่ละด้านจนทั่วทั้งโคมแล้ว ใช้กาวติดและใช้กรรไกรตัดตกแต่งให้สวยงาม
  4. ตัดกระดาษทองขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร เป็นเส้นยาวนํามาติดตรงครอบของโคมทั่ว ทั้งใบ และติดการดาษทองลายต้องตามช่องของโคมเพื่อให้เกิดความสวยงาม
  5. การทําหางโคม ใช้กรรไกรตัดกระดาษสาหรือผ้าขาว ประมาณ 60-80 เซนติเมตร ให้มี ความสมส่วนกับขนาดของโคมที่เราทํา และตัดตรงปลายหางและด้านข้างให้เป็นสามเหลี่ยม แล้วนํามา ติดตรงด้านล่างของโดมทั้งสี่ด้าน จากนั้นใช้เชือกฝ้ายผูกโคมเพื่อไว้สําหรับแขวน
  6. เสร็จการทําโคมแขวน

โคมร่มเพชร 

แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Yaowapa Khueankham
Information Specialist at Maejo University Archives

    อัมพร คงใหญ่ ภูมิปัญญาการทําสมุนไพรพื้นบ้าน

    Previous article

    มนต์เสน่ห์วัฒนธรรมลอยกระทงแบบล้านนา “ประเพณียี่เป็ง”

    Next article

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

    บันทึก