ผลงาน

แม่ครูศุภรัตน์ เกตุบุญเรือง ด้านนาฏศิลป์ (ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน) เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการฟ้อนเล็บและฟ้อนเทียน ที่ได้เรียนรู้สืบทอดมากันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนเกิดความชานาญและได้ไปทำการแสดงและเข้าประกวดการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียนตามงานต่างๆ ที่จัดขึ้นและได้รับรางวัลมาโดยตลอดจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดระยะเวลาประสบการณ์กว่า 40 ปี แม่ครูศุภรัตน์ เกตุบุญเรือง ได้อุทิศตนแก่สังคมเป็นครูวิทยากรได้มีหน่วยงานต่างๆ เชิญให้ไปอบรมและปฏิบัติการเรียนรู้สอนการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียนอยู่ตลอด ทั้ง 12 ตำบลในอาเภอสันทราย หน่วยงานจากเทศบาลตำบล โรงเรียน วัดต่างๆ ในอำเภอสันทราย รวมถึงอำเภอใกล้เคียง เช่น อำเภอดอยสะเก็ดและอำเภอสารภี แม่ครูศุภรัตน์ เกตุบุญเรือง ยังได้เชิญให้เข้าร่วมฟ้อนงานประเพณีเตียวขึ้นดอยสุเทพ ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารและงานใส่ขันดอกอินทขิล วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นประจาทุกปี

ในด้านการอนุรักษ์สืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมการแสดงนาฏศิลป์ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้การฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน การแต่งกายของช่างฟ้อนตามแบบโบราณ ให้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในอำเภอสันทราย และนักเรียนโรงเรียนต่างๆ และเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ประจำอำเภอสันราย จนได้รับใบประกาศเกียรติคุณจาก ดร.เจ้าแม่ดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ แม่ครูศุภรัตน์ เกตุบุญเรือง ถือได้ว่าเป็นผู้ที่สร้างคุณประโยชน์แก่สังคมในท้องถิ่นอย่างแท้จริงโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ


เครื่องแต่งกาย

  1.  เสื้อแขนยาวทรงกระบอกคอกลม
  2. ซิ้นเมืองก่าน
  3. ผ้าสไบ
  4. เล็บ/เทียน
  5. ดอกไม้แต่งผม

ท่าฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน
มี 5 แม่บท 14 ท่า
แม่บทที่ 1 ยืนตรงถอนสายบัวเท้าซ้าย นั่งลงไหว้ ท่าที่ 1 ท่าเชื่อม 1 7 ก้าว ท่าที่ 2 ตั้งวง 7 ก้าว ท่าที่ 3 ม้วนจีบไหว้ 3 ก้าว ท่าที่ 4 บิดบัวบาน 7 ก้าว ท่าที่ 5 ท่าเชื่อม 2 7 ก้าว ท่าเชื่อม 1 7 ก้าว

แม่บทที่ 2 ท่าตั้งวง 7 ก้าว ท่าที่ 6 ท่าพิสมัยเรียงหมอน ซ้าย 7 ก้าว ขวา ๗ ก้าว ท่าที่ 7 ท่าสอดกลางอัมพร ซ้าย 7 ก้าว ขวา 7 ก้าว ท่าที่ 8 ท่าบัวชูฝัก ซ้าย 7 ก้าว ขวา 7 ก้าว ท่าเชื่อม 2 7 ก้าว ท่าเชื่อม 1 7 ก้าว

แม่บทที่ 3 ท่าที่ 9 ท่าพรหมสี่หน้า 7 ก้าว ท่าที่ 10 ท่าช้างประสานงา 7 ก้าว ที่ที่ 11 ท่าจีบหน้าขา งอแขน 7 ก้าว ท่าเชื่อม

แม่บทที่ 4 ท่าตั้งวง 7 ก้าว ท่าที่ 12 ท่าโบกสะบัด 7 ก้าว ท่าที่ 13 ท่าผาลาเพียงไหล่ ซ้าย 7 ก้าว ขวา 7 ก้าว ท่าที่ 14 ท่ายอดต๋องต้องลม ซ้าย 7 ก้าว ขวา 7 ก้าว ท่าเชื่อม 2 7 ก้าว ท่าเชื่อม 1 7 ก้าว

แม่บทที่ 5 ท่าตั้งวง 7 ก้าว ท่าม้วนจีบไหว้ 7 ก้าว ท่าบิดบัวบาน 5 ก้าว ไหว้ลา

รางวัลเกียรติคุณเด่น

  • ใบประกาศเกียรติคุณศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา อำเภอสันราย จังหวัดเชียงใหม่ มอบให้โดย ดร.เจ้าแม่ดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
  • ใบประกาศเกียรติคุณ “ครูภูมิปัญญาเชียงใหม่” ประจาปี 2559 ได้รับจากนายปวิณ ชานิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
  • ใบประกาศสตรีดีเด่น จากสานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ ในวันสตรีสากลจังหวัดเชียงใหม่ ประจาปี 2548
  • ใบประกาศเกียรติคุณ ชมรมช่างฟ้อนอาเภอสันทราย ในงานยี่เป็งสันทรายถวายพุทธบูชา
  • ใบประกาศเกียรติคุณ ครูผู้สอนหลักสูตรท้องถิ่น ด้านการฟ้อนเล็บ จากโรงเรียนพงษ์พิกุลเชียงใหม่
  • ใบประกาศเกียรติคุณผู้ทาคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและสังคม ปี 2556 มอบให้โดยวัดสันทรายหลวง

แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Yaowapa Khueankham
Information Specialist at Maejo University Archives

    พ่อครูสมนึก ชัยตามล หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิก

    Previous article

    พรชัย ตุ้ยดง ด้านศิลปะการแสดงฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิงและประกอบศาสตราวุธ

    Next article

    You may also like

    More in Intellectual