Sittichai Wimala
-
การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด
in องค์ความรู้เห็ด จัดเป็นอาหารประเภทผักที่ปราศจากไขมัน มีปริมาณน้ำตาลและเกลือค่อนข้างต่ำ และยังเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี เมื่อเทียบกับผักอีกหลายชนิด อีกทั้งยังมีรสชาติและกลิ่นที่ชวนรับประทาน ซึ่งรสชาติที่โดดเด่นนี้เกิดจากการที่เห็ดมีกรดอะมิโนกลูตามิคเป็นองค์ประกอบ โดยกรดอะมิโนตัวนี้จะทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นประสาทการรับรู้รสอาหารของลิ้นให้ไวกว่าปกติ และทำให้มีรสชาติคล้ายกับเนื้อสัตว์ นอกจากนี้เห็ดยังอุดมไปด้วยวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบีรวม (ไรโบฟลาวิน) และไนอาซิน ซึ่งจะช่วยควบคุมการทำงานของระบบย่อยอาหาร (http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=1393) การผลิตน้ำพริกเผาเห็ดนางฟ้า สูตรการผลิต เห็ดนางฟ้าย่าง หรือ นึ่ง 400 กรัม พริกแห้งแกะเม็ดทอดสุก 20 เม็ด กระเทียมเจียว 80 กรัม หอมแดงเจียว 80 กรัม น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วยตวง เกลือ 4 ช้อนโต๊ะ น้ำมะขาม 1 ถ้วยตวง น้ำมันพืช 1 ถ้วยตวง ขั้นตอนการผลิต นำพริกแห้ง หอม กระเทียม โขลกรวมกันให้ละเอียด นำเห็ดนางฟ้าย่างหรือนึ่ง บีบน้ำออก สับให้ละเอียด นำน้ำมะขาม น้ำตาลปี๊บ ตั้งไฟอ่อน เคี่ยวจนเข้ากันดี…
-
ฐานเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ หัวใจคนก้าวหน้า
in Open Farmความเป็นมาเกษตรทฤษฎีใหม่ ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 40 ปีแล้ว (2517) ตั้งแต่ก่อนวิกฤติทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทรงประกาศเกษตรทฤษฎีใหม่ครั้งแรกที่แม่โจ้ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2538 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงประกาศเกษตรทฤษฎีใหม่ครั้งแรกในประเทศไทย ณ อาคารแผ่พืชน์ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ความว่า “ทฤษฎีใหม่เป็นวิธีปฏิบัติการเกษตรอีกแนวทางหนึ่งสำหรับเกษตรกรที่มีที่ดินจำนวนน้อย มีหลักสำคัญอยู่ว่า แต่ละแปลงจะแบ่งออกเป็นส่วน สมมติว่าแปลงหนึ่งมี 15 ไร่ จะปลูกข้าว 5 ไร่ ปลูกไม้ผล พืชไร่ และพืชผักสวนครัว 5 ไร่ ขุดสระน้ำ 3 ไร่ ปลูกที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ อีก 2 ไร่” ผู้เยี่ยมชม แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะได้รับประสบการณ์ ความรู้…
-
ศูนย์รวบรวมพรรณไม้และพืชผักท้องถิ่นจังหวัดแพร่และภาคเหนือตอนบน
in ฐานเรียนรู้ที่มาและความสำคัญ ในขณะที่พื้นที่ป่าลดลงความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตก็ลดลงไปด้วย แหล่งอาหารถูกเปลี่ยนตามความต้องการของมนุษย์โดยทุกสิ่งถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีแต่กลับเกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย ทั้งที่ปัจจัยการผลิตทางเกษตรกรรมและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยธรรมชาติเป็นหลักอยู่ โดยเฉพาะพืชพรรณซึ่งถือว่าเป็นผู้ผลิตหลักในห่วงโซ่อาหารไม่มีสิ่งใดทดแทนหน้าที่นี้ได้ อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างหนึ่งเมื่อแหล่งอาหารลดลง คือ ความหลากหลายของพันธุกรรมพืชอาหารพร้อมทั้งวัฒนธรรมการปรุงอาหารที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมกำลังจะเลือนหายไปกับกาลเวลา เพื่อให้ประชาชน เยาวชนเกิดความรัก ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่หลากหลายของการบริโภคผักพื้นถิ่นที่สั่งสมจากบรรพบุรุษมานานที่ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพและการตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม และเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้เห็นได้เห็นความสำคัญของผักพื้นถิ่น นำไปสู่การวางแผนอย่างรอบคอบ ยกระดับ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดองค์ความรู้บนฐานทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดความหลากหลายของผลผลิตสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน โดยเน้นความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้จัดตั้งศูนย์รวบรวมพรรณไม้และพืชผักท้องถิ่นจังหวัดแพร่และภาคเหนือตอนบน ภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบ ในพื้นที่ประมาณ 27 ไร่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพืชและผักพื้นถิ่นและถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติแก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาพืชผักพื้นถิ่นและยกระดับเป็นพื้นที่ที่ได้รับการรอง เป็นการทำการเกษตรในระบบเกษตรเกษตรอินทรีย์ Auther : อาจารย์ ดร.มณฑล นอแสงศรี อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ แหล่งที่มา : http://www.phrae.mju.ac.th/ext/organic-agriculture/ VDO : https://youtu.be/wHxrwt-Z0E4
-
การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผัก ผลไม้ และสมุนไพร
in องค์ความรู้การแปรรูปเครื่องดื่มพาสเจอร์ไรส์ในภาชนะบรรจุปิด เครื่องดื่มพาสเจอร์ไรส์ที่บรรจุในภาชนะปิดสนิทเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก สามารถผลิตได้ง่ายโดยใช้เครื่องมือ วิธีการที่ไม่ซับซ้อน และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมักเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่มีในท้องถิ่น การพาสเจอร์ไรส์เป็นการให้ความร้อนแก่อาหารเพื่อทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค มี 2 ระดับ วิธีใช้ความร้อนต่ำ – เวลานาน (LTLT : Low Temperature – Long Time) วิธีนี้ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 62.8 – 65.6 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที วิธีใช้ความร้อนสูง – เวลาสั้น (HTST : High Temperature – Short Time) วิธีนี้ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่าวิธีแรก แต่ใช้เวลาน้อยกว่าคืออุณหภูมิ 71.1 องศาเซลเซียส คงไว้เป็นเวลา 15 วินาที การผลิตน้ำตะไคร้ สูตรการผลิต น้ำ 1 ลิตร ใบเตยหั่นเป็นชิ้นเล็ก 100 กรัม ตะไคร้ทุบ 4 ต้น…
-
ศูนย์เรียนรู้และส่งเสริมการผลิต การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ และสารชีวภัณฑ์ ในการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดการพึ่งพาเคมีภัณฑ์เกษตร
in ฐานเรียนรู้ที่มาและความสำคัญ จุลินทรีย์มีความใกล้ชิดกับมนุษย์มาอย่างยาวนาน ประโยชน์ของจุลินทรีย์นอกเหนือจากการใช้ในการผลิตอาหารและเครื่องดื่มแล้ว แต่ยังมีบทบาทสำคัญอย่างมากในด้านการเกษตร จึงเรียกว่า “จุลินทรีย์เกษตร (Agricultural microbial)” โดยอาจจะนิยามคำว่า “จุลินทรีย์เกษตร” อย่างง่ายๆว่าเป็น จุลินทรีย์ที่อยู่ในกลุ่ม แอคติโนมัยซีส (Actinomyces) แบคทีเรีย (Bacteria) ยีตส์ (Yeast) รา (Fungi) และจุลสาหร่าย (Microalgae และ Blue green algae) ที่เติมลงไปในดิน แล้วช่วยทำให้ดินเกิดสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะปลูกพืช ทำให้พืชแข็งแรงเจริญเติบโตดี จุลินทรีย์บางสายพันธุ์สามารถใช้คลุกหรือแช่เมล็ดพันธุ์ (seed treatment) เพื่อป้องกันโรคพืชและทำให้เมล็ดพันธุ์มีอัตราการงอกที่สูงได้ และพบว่าจุลินทรีย์กลุ่มรา สามารถช่วยกำจัดแมลงและหนอนศัตรูพืชได้อีกด้วย ดังนั้นสามารถเรียกจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เหล่านี้ว่า หัวเชื้อจุลินทรีย์ (Microbial Agricultural Inoculant) หรือเรียกว่า ปุ๋ยชีวภาพ (Biofertilizer) สำหรับ สารชีวภัณฑ์ (Bio-formulation) เป็นสารสำคัญ ที่เป็นผลได้จากกระบวนการหมัก สกัดหรือแยก จากวัตถุดิบธรรมชาติ (เช่น ผัก ผลไม้ สมุนไพร เศษปลา…
-
การผลิตพืชอินทรีย์
in องค์ความรู้Maejo University Archives · IH-EP11 การปลูกพืชอินทรีย์ การจัดเตรียมความพร้อมของสภาพดิน สภาพน้ำ ให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการปลูกพืชอินทรีย์ มารู้จักกับดินในพื้นที่ของตนเอง ดินร่วน เป็นดินที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียด เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกนุ่มมือ มีสภาพค่อนข้างดีกว่าดินชนิดอื่น ปรุงง่าย ฐานดินดี สามารถระบายน้ำได้ดีปานกลางเหมาะสำหรับกำรปลูกพืชเกือบทุกชนิด แต่ควรระวังเรื่องโรคในดิน ดินทราย เป็นดินที่เมื่อเปียกแล้วยืดหยุ่น ไม่เหมาะกับการปลูกพืชเกือบทุกชนิด แต่เหมาะกับการปลูกพืชหัวบางชนิด เช่น แครท หัวไชท้าว เพราะต้องใช้น้ำในปริมาณที่มากพอสมควร ดินเหนียว เป็นดินที่ไม่ค่อยดีเพราะค่อนข้างแข็ง หากจะใช้งำนต้องผ่านการปรับปรุงดินเยอะที่สุด เหมาะกับการปลูกพืชชนิดข้าว ผักกระเฉด ผักบุ้งแก้ว ดินร่วนปนทราย เป็นดินที่มีเนื้อหยาบเล็กน้อยเหมาะแก่การปลูกพืชหัว ดินเหนียวปนทราย ควรปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักค่อนข้างเยอะเพราะดินชนิดนี้เวลารดน้ำ จะแบ่งชั้นดินระหว่างดินเหนียวและดินทรายทำให้นำมาใช้ประโยชน์ได้ยาก หากจะนำมาใช้งานต้องผ่านการปรุงดินเยอะ เหมาะกับการปลูกพืชเถาบางชนิด เช่น แตงโม ฟักทองบางพันธุ์ เป็นต้น การจัดการทรัพยากรน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของพื้นดิน “ถ้ารู้ว่าน้ำไม่เพียงพอ เราต้องจัดการระบบน้ำให้ดี น้ำไม่เพียงพอรู้ได้อย่างไร ?” สำรวจจากตัวเองก่อนว่าจะปลูกพืชชนิดไหน ใช้น้ำมากน้อยเพียงใด ถ้าน้ำพียงพอ ต่อการเกษตรทั้งปีก็ใช้ได้เลย แต่ถ้าใช้เยอะก็ควรหาแนวทางแก้ไขโดยเราควรประเมินจากพืชก่อน เช่น ผักสลัดจะต้องให้น้ำช่วงเช้า…
-
ศูนย์เรียนรู้และส่งเสริมคุณภาพตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
in ฐานเรียนรู้ที่มาและความสำคัญ ปัจจุบันการขยายตัวทางเศรษฐกิจและระบบตลาดการค้าระหว่างประเทศส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพของสินค้าและบริการเพิ่มมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการปฏิบัติตามกรอบกติกาการค้าเสรีของ World Trade Organization (WTO) จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการผลิตและการตรวจสอบเพื่อออกใบรองรับรองคุณภาพตามาตรฐานสากล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในสินค้าและบริการ การสร้างการยอมรับในสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทยเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพและความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์รายใหญ่ของโลก มีความสำคัญ ก่อให้เกิดการสร้างมาตรฐานการผลิตด้านเกษตร ดังนั้นจึงต้องการให้เกษตรกรไทยได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ต้นแบบการทำเกษตรที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ผู้ประสานงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา พงษ์การัณยภาส อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาเกษตรป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ แหล่งที่มา : http://www.phrae.mju.ac.th/ext/organic-agriculture/ VDO : https://youtu.be/PqI_LUNBQz8
-
ฐานเรียนรู้ ความงดงามแห่งพืชผัก
in Open Farmเมื่อเอ่ยถึงพืชผักคนส่วนใหญ่มักจะเห็นประโยชน์ในด้านการเป็นพืชอาหาร โดยเฉพาะอาหารคาว ซึ่งในความเป็นจริงคุณค่าที่งดงามของความเป็นพืชผักมีความหมายที่กว้างขวางยิ่งนัก ในงานเปิดฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ครั้งนี้จะนำประโยชน์ของพืชผักในมุมมองบางมุม ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่มาเยือน ทุกท่านที่มาถึงพื้นที่นี้จะได้รับคุณค่าความงดงามของพืชผักที่ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากล กลับไปอย่างแน่นอน โดยในงานจะมีกิจกรรมดังนี้ คุณค่าแห่งพืชพันธุ์ เป็นพื้นที่แสดงพันธุ์พืชที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อให้เกษตรกร รวมถึงผู้สนใจได้มาเห็นวิธี การปลูก การดูแลรักษา พืชผักนานาพันธุ์ มหัศจรรย์ทุ่งดอกผัก เป็นการทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ผักในระบบเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ 3 ไร่ มาบูรณาการเพื่อการท่องเที่ยวที่แปลกไปกว่าที่คุ้นเคยพบเห็นมาก่อน จากสวนครัวหลังบ้านสู่ สวนสวยรอบบ้าน ในยุคที่ต้องพึ่งพาตัวเองในการสร้างอาหารกับพื้นที่รอบบ้าน คุณจะได้ไอเดียในการจัดสวนสวยด้วยพืชผัก จากศิษย์เก่าแม่โจ้แบบง่ายๆ ที่คุณก็ทำได้ พร้อมกับคำแนะนำการปลูก การดูแล จากนักศึกษา อีกทั้งมีต้นกล้าและเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์จำหน่ายในงาน สำหรับนำไปปลูกที่บ้านอีกด้วย “งอก=งาม” สาธิตการผลิตผักงอกต่าง ๆ ในระบบเกษตรอินทรีย์แบบง่าย ๆ ที่สามารถนำไปสร้างอาชีพได้ ศิลปะจากพืชผัก เป็นการทำความงดงามของพืชผักสู่งานศิลปะภาพวาดโดยมีการจัดประกวดวาดภาพของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ขาย-คุณ-ค่า เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาทำธุรกิจโดยให้นักศึกษามาฝึกการขายเช่นการขายผัก ไอศครีมผัก รวมถึงความรู้ความสามารถต่างๆในตัวของนักศึกษาในการสร้างมูลค่า เปิดตัว บริษัท เฟิร์สท์ ออแกนิก ซีดส์ เป็นบริษัทเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมกับพันธมิตร *หมายเหตุฐานเรียนรู้นี้จัดขึ้นภายใต้โครงการเปิดฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Maejo Open Farm…
-
ฐานเรียนรู้ แปลงกัญชาเพื่อรักษาโรค ใหญ่ที่สุดในอาเซียน
in Open Farmสืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ลงนามความร่วมมือ วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชาและกัญชงเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์กับกรมการแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนาพืชกัญชาและกัญชงในระบบเกษตรอินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรม โดยได้ปลูกกัญชาจำนวนทั้งสิ้น 16,700 ต้น เป็นแปลงปลูกกัญชาที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน กิจกรรมสำคัญของฐานเรียนรู้ จัดนิทรรศการ ให้องค์ความรู้เกี่ยวกับพืชกัญชาและกัญชง ในเรื่อง ลักษณะของกัญชากัญชง การนำไปใช้ประโยชน์ การปลูกพืชกัญชาและการจัดการแปลงปลูก เป็นต้น ถ่ายภาพกับแปลงปลูกกัญชารูปแบบการปลูกนอกโรงเรือน (Out Door) ให้องค์ความรู้เรื่องการผลิตปัจจัยการผลิตพืชในระบบอินทรีย์ เช่น การผลิตปุ๋ยหมักระดับอุตสาหกรรม การเลี้ยงไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ เป็นต้น *หมายเหตุฐานเรียนรู้นี้จัดขึ้นภายใต้โครงการเปิดฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Maejo Open Farm 14 – 17 มกราคม 2564 ผู้รับผิดชอบ หัวหน้าโครงการ ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช ผู้ร่วมโครงการ นายไพบูลย์ โพธิ์ทอง โทร ภายใน 3730 มือถือ 084-4888374 ผู้ประสานงาน นายไพบูลย์ โพธิ์ทอง โทร ภายใน 3730 มือถือ…
-
ฐานเรียนรู้ Amazing ชีวภัณฑ์ระดับโลก
in Open Farmนวัตกรรมสารชีวภัณฑ์ ซิลเวอร์นาโน ผลิตจากซิลเวอร์หรือโลหะเงินที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% ด้วยเทคโนลียีนาโน ทำให้มีอนุภาคขนาดเล็กจิ๋ว เทียบเท่าดีเอ็นเอของมนุษย์ ด้วยขนาดที่เล็กจิ๋วนี้ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสัมผัสเชื้อโรค ซึ่งซิลเวอร์นาโน ถูกใช้และได้รับการยอมรับในประสิทธิภาพการป้องกัน เชื้อโรคโดยใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ และทำความสะอาดเครื่องมือผ่าตัด รวมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ อย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ทั้งอเมริกาและยุโรป ซิลเวอร์นาโนเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้งาน ใช้ได้กับทุกพื้นผิว และทุกพื้นที่ สัมผัสร่างกายได้ ความปลอดภัยของซิลเวอร์นาโน การผลิตจากซิลเวอร์หรือโลหะเงินที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% มีค่าพีเอช (pH) เป็นกลาง ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อนผิวหนัง และพื้นผิวที่สัมผัส รวมทั้งซิลเวอร์นาโนในต่างประเทศทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริการับรองให้ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ปลอดเชื้อที่มีความปลอดภัยสูง นักวิจัยผู้คิดค้น ซิลเวอร์นาโนได้นำผลงานเข้าตรวจทดสอบค่าความเป็นพิษต่อเซลล์มนุษย์ กับศูนย์พันธุวิศวกรรมแห่งชาติ (BIOTECH) พบว่า ซิลเวอร์นาโน ไม่มีความเป็นพิษ (Non-Cytotoxic) ต่อเซลล์มนุษย์ ในตัวอย่างที่ส่งทดสอบ มากกว่านั้น ซิลเวอร์นาโนก็ได้พัฒนานำมาใช้ในการเกษตรกรรมด้วยเช่นกัน คือ ยากำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าหญ้ามีการใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมียาฆ่าหญ้าหลายประเภท หลายยี่ห้อ ที่นำออกมาจำหน่ายในรูปแบบต่างๆ ให้เกษตรกรได้เลือกใช้ เนื่องจากวัชพืชหรือหญ้านั้นเป็นปัญหาต่อผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรอย่างมาก เพราะคนไทยหรือประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ มักจะประกอบอาชีพเกษตรกร การเพาะปลูก การปลูกพืชผักผลไม้ต่างๆ อีกมากมาย โดยการขึ้นของวัชพืชเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตของพืชเป็นไปได้อย่างช้าลงส่งผลให้ ได้ผลผลิตช้าเพราะวัชพืชนั้นเป็นตัวการในการแย่งน้ำ แร่ธาตุ…