Yaowapa Khueankham

  • โครงการ โรงคัดบรรจุผลิตผลเกษตรอินทรีย์
  • โครงการ ขยายผลการผลิตพันธุ์พืช และเมล็ดพันธุ์อินทรีย์แก่เกษตรกร
  • โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตปุ๋ยอินทรีย์เชิงเดี่ยวคุณภาพสูงมาตรฐาน IFOAM ในระดับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่
  • โครงการ นําร่องพัฒนาฟาร์มต้นแบบเพื่อการผลิตพืช
  • โครงการ ผลิตอาหารสัตว์และปศุสัตว์อินทรีย์
  • นวัตกรรมเกษตร IT

    นวัตกรรมเกษตร IT

    นวัตกรรมเกษตร IT และระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเกษตร คือ การทำเกษตรโดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสาร มาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่สำคัญในการทำฟาร์มเกษตรและบริหารจัดการฟาร์มอย่างอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการทำฟาร์มเกษตร โดยเทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้ อาทิเช่น เทคโนโลยี Wireless Sensor/IoT sensors , Remote sensing , Cloud Computing และ Mobile Application เป็นต้น การจัดการดังกล่าวเมื่อพิจารณากระบวนการแล้ว ก็คือการเกษตรแบบแม่นยำ (Precision farming) และฟาร์มอัจฉริยะ (Smart farming) นั่นเอง ข้อมูลที่ได้จาก sensor ต่าง ๆ จะถูกส่งผ่านเครือข่าย ของสัญญาณวิทยุมายัง Data Center และถูกประมวลผล และสั่งงานย้อนกลับไปหน้าฟาร์มหรือ แสดงค่าการพยากรณ์ การเตือน และการแนะนำผ่านแอปพลิเคชันไปยังเกษตรกรโดยตรง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดยหน่วยวิจัยเกษตรอัจฉริยะและโซลูชั่นทางการเกษตร สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้ทำการวิจัยและพัฒนา…

  • เห็ดตับเต่าสร้างรายได้

    เห็ดตับเต่าสร้างรายได้

    Maejo University Archives · IH – EP10 – เห็ดตับเต่า King Bolete Mushroom เห็ดตับเต่า (Phlebopus colossus (Heim.) Singer) เป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกันมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็ดตับเต่าเป็นเห็ดราเอ็กโตไมคอร์ไรซ่าที่อยู่กับพืชอาศัยได้หลายชนิด เช่น ลําไย หว้า หางนกยูงไทย หางนกยูงฝรั่ง ขนุน ชมพู่ ทองหลาง ผักหวานบ้าน มะกอกน้ำ มะกล่ำต้น มะม่วง มะไฟจีน เชื้อเห็ดตับเต่าช่วยให้พืชได้รับสารอาหารโดยตรงจากกระบวนการเมตะโบไลท์ และยัง ช่วยสร้างเส้นใยห่อหุ้มรากทำให้สามารถดูดซับความชุ่มชื้นจากดินและราก ทำให้พืชสามารถทนต่อ สภาวะที่แห้งแล้งได้ดี น้ำย่อยของเห็ดตับเต่าช่วยให้แร่ธาตุอาหารในดินแปรสภาพมาอยู่ในรูปที่เป็น ประโยชน์ต่อพืช อีกทั้งยังทำหน้าที่เหมือนราเจ้าถิ่นทำให้เชื้อราโรคพืชต่างๆ เข้าทำลายพืชได้ยากขึ้น จึงทำให้ต้นไม้ที่มีเชื้อเห็ดตับเต่าอาศัยอยู่มีความแข็งแรงต้านทานต่อเชื้อราโรคพืชได้ดี เส้นใยของเห็ดราเจริญห่อหุ้มรากของต้นไม้ไว้ช่วยรักษาความชื้นให้ต้นไม้ในฤดูแล้ง และเชื้อราช่วยย่อยสลายซากพืชซาก สัตว์ในดินให้เป็นธาตุอาหารในรูปที่ต้นไม้ใช้ประโยชน์ได้ทันที และเมื่ออยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะรวมตัวกันออกเป็นดอกเห็ดบริเวณโคนต้นไม้ที่มีรากพืชกระจายอยู่ นักวิจัยได้นำดอกเห็ดตับเต่ามาทำการแยกเชื้อในห้องปฏิบัติการ เลี้ยงเชื้อลงในอาหารมันฝรั่ง (PDA) เมื่อเชื้อเดินเต็มอาหาร PDA จึงย้ายเชื้อลงเลี้ยงในอาหารเมล็ดข้าวฟ่าง เพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อให้มากขึ้น…

  • เทคนิคการบังคับมัลเบอร์รี่นอกฤดูกาล

    เทคนิคการบังคับมัลเบอร์รี่นอกฤดูกาล

    มัลเบอร์รี (Mulberry) อยู่ในสกุล Moraceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus spp. สามารถเจริญเติบโตและ ปรับตัวได้ดีในหลายสภาพภูมิอากาศเป็นที่นิยมบริโภคกัน อย่างแพร่หลาย สามารถรับประทานสดและแปรรูปได้ หลากหลาย เช่น แต่งหน้าเค้ก ทำแยม น้ำมัลเบอร์รีเข้มข้น เทคนิคการโน้มกิ่งและการจัดกิ่งขึ้นค้าง การจัดการกิ่งอย่างเป็นระเบียบและประณีต จะสามารถกระตุ้นให้ออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี ทำผลผลิตให้มีคุณภาพดีและสม่ำเสมอ หลังปลูกมัลเบอร์รี่ ให้เลี้ยงกิ่งยอดเพียง 2 กิ่ง ตั้งตรงขึ้นไปเหนือระดับค้าง มีความยาวข้างละประมาณ 1.00-1.50 เมตร โน้มกิ่งทั้งสองลง ด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้กิ่งฉีกขาด เสียหาย โดยค่อย ๆ โน้มลงบนค้าง แล้วผูกด้วยเชือก ที่ยืดหยุ่นได้ เช่น เศษผ้ายืด เทปพลาสติก ผูกเป็น เปลาะ ๆ ไปตามความยาวระดับค้างขนานกับพื้นดิน โดยต้องปล่อยให้ปลายยอดยาว 50-60 ระหว่างที่เลี้ยงกิ่งให้ไต่ขนานบนค้างนี้ ตรงบริเวณโคนกิ่งหรือบริเวณที่ใกล้ ๆ มุมหรือง่ามกิ่งที่แยก ออกไปสองข้าง ซ้าย-ขวา มักจะเกิดกิ่งกระโดง (cane) ขึ้นมาก่อนและแข็งแรงกว่ากึ่งถัดไปควรมีการควบคุมระดับความความสูงไม่ให้ยาวเกินไป…

  • การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพแบบไม่พลิกกลับกอง “วิศวกรรมแม่โจ้ 1”

    การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพแบบไม่พลิกกลับกอง “วิศวกรรมแม่โจ้ 1”

    Maejo University Archives · IH-EP.4 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพแบบไม่พลิกกลับกอง “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” การผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีใหม่ “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” เป็นการค้นคว้าวิจัยของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ 2552 ได้มีนวัตกรรมใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่ต้องพลิกกลับกอง ทำให้เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีได้ในปริมาณมาก ๆ ต่อครั้ง ประมาณ 10-100 ตัน และปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้มีค่ามาตรฐานของปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2551 ใช้ระยะเวลาในการทำเพียง 60 วัน เรียกวิธีนี้ว่าวิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” ซึ่งเป็นการทำปุ๋ยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่นและน้ำเสีย วัตถุดิบที่ใช้มีเพียงเศษพืชกับมูลสัตว์เพียง 2 อย่างเท่านั้น โดยใช้เศษพืชเป็นฟางข้าว  หรือเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หรือผักตบชวา ในอัตราส่วนระหว่างฟางข้าว หรือเศษข้าวโพด หรือผักตบชวา กับมูลสัตว์ ในอัตราส่วน 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร และถ้าเป็นเศษใบไม้ใช้อัตราส่วน 3 ต่อ 1 โดยปริมาตร การทำปุ๋ยอินทรีย์…

  • ปลาลูกผสม Silver Catfish เพื่อความมั่นคงด้านอาหารและอาชีพ

    ปลาลูกผสม Silver Catfish เพื่อความมั่นคงด้านอาหารและอาชีพ

    ในการพัฒนาสายพันธุ์ปลาหนังลูกผสมชนิดใหม่ (ปลาเทโพ x ปลาสวาย) และสายพันธุ์ปลาลูกผสมแบบ สลับเพศสายพันธุ์ใหม่ (ปลาสวาย x ปลาเทโพ) ที่มีอัตราการผสม อัตราการฟัก และอัตรารอดสูง ดีกว่าปลาสวาย และเทโพ สามารถแยกลักษณะภายนอกของปลาหนังลูกผสม (ปลาสวาย x ปลาเทโพ) กับปลาสวาย ในขนาด 5 นิ้ว ได้ในปลาหนังลูกผสมมีจุดดําที่ครีบหู ความยาวครีบหูและหลัง ลําตัว และหัวกว้างมากกว่าปลาสวายการอนุบาลใน กระชังเป็นเวลา 4 เดือน พบว่า ปลาหนังลูกผสม (ปลาสวาย x ปลาเทโพ) ปลาหนังลูกผสมมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่า ปลาสวายและเทโพ ส่วนการเลี้ยงในบ่อดินให้ได้ขนาดตลาดในบ่อขนาด 300 ตารางเมตร อัตราปล่อย 2 ตัว/ตาราง เมตร ขนาด 100 กรัม เลี้ยงนาน 8 เดือน พบว่าได้ น้ำหนักปลาขนาด 1.3 กก. อัตราการโต 5…