องค์ความรู้
-
การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผัก ผลไม้ และสมุนไพร
in องค์ความรู้การแปรรูปเครื่องดื่มพาสเจอร์ไรส์ในภาชนะบรรจุปิด เครื่องดื่มพาสเจอร์ไรส์ที่บรรจุในภาชนะปิดสนิทเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก สามารถผลิตได้ง่ายโดยใช้เครื่องมือ วิธีการที่ไม่ซับซ้อน และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมักเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่มีในท้องถิ่น การพาสเจอร์ไรส์เป็นการให้ความร้อนแก่อาหารเพื่อทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค มี 2 ระดับ วิธีใช้ความร้อนต่ำ – เวลานาน (LTLT : Low Temperature – Long Time) วิธีนี้ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 62.8 – 65.6 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที วิธีใช้ความร้อนสูง – เวลาสั้น (HTST : High Temperature – Short Time) วิธีนี้ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่าวิธีแรก แต่ใช้เวลาน้อยกว่าคืออุณหภูมิ 71.1 องศาเซลเซียส คงไว้เป็นเวลา 15 วินาที การผลิตน้ำตะไคร้ สูตรการผลิต น้ำ 1 ลิตร ใบเตยหั่นเป็นชิ้นเล็ก 100 กรัม ตะไคร้ทุบ 4 ต้น…
-
การผลิตพืชอินทรีย์
in องค์ความรู้Maejo University Archives · IH-EP11 การปลูกพืชอินทรีย์ การจัดเตรียมความพร้อมของสภาพดิน สภาพน้ำ ให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการปลูกพืชอินทรีย์ มารู้จักกับดินในพื้นที่ของตนเอง ดินร่วน เป็นดินที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียด เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกนุ่มมือ มีสภาพค่อนข้างดีกว่าดินชนิดอื่น ปรุงง่าย ฐานดินดี สามารถระบายน้ำได้ดีปานกลางเหมาะสำหรับกำรปลูกพืชเกือบทุกชนิด แต่ควรระวังเรื่องโรคในดิน ดินทราย เป็นดินที่เมื่อเปียกแล้วยืดหยุ่น ไม่เหมาะกับการปลูกพืชเกือบทุกชนิด แต่เหมาะกับการปลูกพืชหัวบางชนิด เช่น แครท หัวไชท้าว เพราะต้องใช้น้ำในปริมาณที่มากพอสมควร ดินเหนียว เป็นดินที่ไม่ค่อยดีเพราะค่อนข้างแข็ง หากจะใช้งำนต้องผ่านการปรับปรุงดินเยอะที่สุด เหมาะกับการปลูกพืชชนิดข้าว ผักกระเฉด ผักบุ้งแก้ว ดินร่วนปนทราย เป็นดินที่มีเนื้อหยาบเล็กน้อยเหมาะแก่การปลูกพืชหัว ดินเหนียวปนทราย ควรปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักค่อนข้างเยอะเพราะดินชนิดนี้เวลารดน้ำ จะแบ่งชั้นดินระหว่างดินเหนียวและดินทรายทำให้นำมาใช้ประโยชน์ได้ยาก หากจะนำมาใช้งานต้องผ่านการปรุงดินเยอะ เหมาะกับการปลูกพืชเถาบางชนิด เช่น แตงโม ฟักทองบางพันธุ์ เป็นต้น การจัดการทรัพยากรน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของพื้นดิน “ถ้ารู้ว่าน้ำไม่เพียงพอ เราต้องจัดการระบบน้ำให้ดี น้ำไม่เพียงพอรู้ได้อย่างไร ?” สำรวจจากตัวเองก่อนว่าจะปลูกพืชชนิดไหน ใช้น้ำมากน้อยเพียงใด ถ้าน้ำพียงพอ ต่อการเกษตรทั้งปีก็ใช้ได้เลย แต่ถ้าใช้เยอะก็ควรหาแนวทางแก้ไขโดยเราควรประเมินจากพืชก่อน เช่น ผักสลัดจะต้องให้น้ำช่วงเช้า…
-
การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา
in องค์ความรู้Maejo University Archives · IH-EP13-เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma harzianum) สามารถพบได้โดยทั่วไป โดยจะดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์ และแหล่งอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยจะสร้างเส้นใยสีขาวและผลิตโคนิเดียหรือสปอร์ รวมเป็นกลุ่มสีขาว เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่ปฏิปักษ์ต่อเชื้อราอื่นที่เป็นสาเหตุของโรคพืชหลายชนิด โดยวิธีแทงรากเข้าสู่ภายในเส้นใยของเชื้อราชนิดอื่นแล้วแย่งกินอาหารของเชื้อราอื่น ๆ รวมถึงการปล่อยเอนไซม์หรือสารปฏิชีวนะเพื่อทำลาย และกินเชื้อราอื่นเป็นอาหาร นอกจากนี้พบว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถชักนำให้ต้นพืชสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคและโรคพืชต่าง ๆ ได้ดี วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา (เชื้อสด) การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดคลุกเมล็ดพืช จะใส่เชื้อสดลงในถุงพลาสติกที่จะใช้คลุกเมล็ดในอัตราส่วน 10 กรัม (1 ช้อนแกง) ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 10 ซีซี บีบเชื้อสดให้แตกตัว เทเมล็ด 1 กิโลกรัมลงในถุงแล้วเขย่าให้เชื้อสดคลุกเคล้าจนติดผิวเมล็ด นำเมล็ดออกผึ่งลมให้แห้งหรือใช้ปลูกได้ทันที การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับน้ำ ในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ 250 กรัม (เชื้อสด 1…
-
การผลิตเชื้อราบิวเวอเรีย
in องค์ความรู้Maejo University Archives · IH-EP12-เชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อราบิวเวอเรีย (Beauveria bassiasna) เป็นจุลินทรีย์จำพวกเชื้อราทำลายแมลง ซึ่งสามารถทำลายแมลงโดยการผลิตเอนไซม์ที่เป็นพิษต่อแมลงศัตรูพืช และเป็นเชื้อราที่อาศัยและกินเศษซากผุพัง การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอเรีย สปอร์เชื้อราจะเข้าสู่ตัวแมลงทางผนังลำตัว รูหายใจ บาดแผล บนลำตัว เมื่อมีความชื้นเที่หมาะสม สปอร์จะแทงทะลุผิวหนังลำตัว และจะงอกสู่ช่องว่างลำตัวหรือออกสู่ภายนอกตัวแมลงเมื่อแมลงตาย สปอร์จะแพร่กระจายไปตามลม ฝนหรือติดกันตัวแมลงตัวอื่น ทำให้เชื้อราจะขยายพันธุ์ต่อไปได้เรื่อย ๆ วิธีการใช้เชื้อราบิวเวอเรีย (เชื้อสด) เชื้อราบิวเวอเรีย 1-2 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร ผสมสารจับใบ (กรองเอาเฉพาะน้ำ) ควรให้น้ำแปลงพืชที่จะควบคุมศัตรูพืชประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนทำการพ่น นำเชื้อราไปฉีดพ่นโดยต้องพ่นให้ถูกตัวแมลงและศัตรูพืช หรือบริเวณที่แมลงศัตรูพืชอาศัยให้มากที่สุด ควรพ่นช่วงเวลาเย็น ซึ่งจะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา เมื่อพ่นเสร็จแล้ว ควรให้น้ำกับแปลงพืชในวันรุ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความชื้น สำรวจแปลงพืช ถ้ายังพบศัตรูพืชเป้าหมายให้พ่นเชื้อราบิวเวอเรียซ้ำ ข้อดี ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิตของเกษตรกร ทำให้ทั้งผู้ผลิต, ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมปลอดภัย มีประสิทธิภาพในการป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ยาวนาน ซ้ำยังแพร่และขยายพันธุ์ได้ในธรรมชาติหากอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม สามารถลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เพราะการฉีดพ่นเพียง…
-
การผลิตปุ๋ยโบกาฉิเพื่อการเพาะปลูกพืช
in องค์ความรู้Maejo University Archives · Bokashi โบกาฉิ (Bokashi) เป็นคำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า การหมัก (Compost) ซึ่งการทำปุ๋ยโบกาฉินั้นเกิดจากการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ EM ในรูปแบบน้ำให้เป็นแห้ง ผู้คิดค้นคนแรกคือ ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ สรุปได้ว่า การทำปุ๋ยโบกาฉินั้นเป็นการทำปุ๋ยหมักด้วยอินทรียวัตถุ ที่หมักด้วยจุลินทรีย์ EM เท่านั้น มาประยุกต์ใช้โดยผ่านกระบวนการหมักแบบแห้ง มีการผสมกากน้ำตาลเข้าไปเพื่อช่วยในกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ก่อนจะหมักด้วยวัตถุดิบตามสูตรจนได้ที่ และนำไปใช้ให้เกิดผลดีในการปรับสภาพโครงสร้างดินให้ร่วนซุยและมีคุณภาพในการเพาะปลูกพืช วัสดุและอุปกรณ์ในการทำ 1. แกลบหยาบ 20 กิโลกรัม 2. มูลสัตว์ 30 กิโลกรัม 3. รำละเอียด 50 กิโลกรัม 4. หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ขยายแล้ว 10 ลิตร 5. น้ำสะอาด 30 ลิตร (ไม่มีส่วนผสมของคลอรีน) วิธีการทำ นำส่วนผสมทุกอย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยนำของแห้งผสมกันก่อน จึงค่อยเติมน้ำสะอาดและหัวเชื้อจุลินทรีย์ลงไป ทำการผสมต่อให้เข้ากัน โดยให้ปุ๋ยมีความชื้นประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์…
-
การเพาะเลี้ยงแหนแดง
in องค์ความรู้Maejo University Archives · IH – EP5 – การเพาะเลี้ยงแหนแดง แหนแดง เป็นพรรณไม้น้ำชนิดลอยบนผิวน้ำ ลักษณะทั่วไปประกอบด้วยลำต้น ราก และ ใบแหนแดงมีลักษณะพิเศษ คือ ใบบน เป็นใบที่มีโพรงใบ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Anabaena azollae) ในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวที่อาศัยในโพรงใบของแหนแดงสามารถตรึงไนโตรเจนได้ แล้วทำการเปลี่ยนไนโตรเจนให้เป็นแอมโมเนียม ซึ่งแหนแดงสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการเติบโตได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนแหนแดงได้ถึง 2 เท่า ภายใน 3-5 วัน แหนแดงสำหรับปุ๋ยในนาข้าว ใบแหนแดงมีโพรงขนาดเล็กที่เป็นที่อาศัยของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Anabana azollae ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ ด้วยภายในเซลล์จะมีเอนไซม์ Nitrogenase ซึ่งใช้เหล็ก และโมลิดินั่มสำหรับเป็นโคแฟคเตอร์ในปฏิกิริยา พร้อมกับรีดิวซ์ก๊าซไนโตรเจนให้เป็นแอมโมเนีย และเก็บไว้ในเซลล์ และไนโตรเจนที่ตรึงได้นี้กลายเป็นธาตุอาหารสำคัญในการเติบโตของแหนแดง ทำให้แหนแดงมีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยพืชสดได้เหมือนกับพืชตระกูลถั่วอื่นๆ แหนแดงที่อยู่ในสภาพที่เหมาะสม แหล่งอาศัยมีธาตุอาหารสูงจะสามารถเพิ่มจำนวนต้นได้รวดเร็ว โดยในเวลา 30 วัน แหนแดงสามารถเพิ่มจำนวน และเติบโตจนได้ต้นสดได้มากถึง 3 ตัน/ไร่ ซึ่งจะตรึงไนโตรเจนได้ประมาณ 5-10…
-
การทําเกษตรแบบธรรมชาติ (ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง)
in องค์ความรู้การทําเกษตรแบบธรรมชาติ(ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง) โดยใช้สัตว์เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการเกษตร เน้น 1) ลดต้นทุนการผลิต 2) ใช้ปัจจัยการผลิตในท้องถิ่น 3) ปลอดภัยจากสารพิษ (ไม่ใช้สารเคมี) 4) การส่งเสริมสภาพแวดล้อม 5) นําแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการผลิตทางการเกษตร หมายถึง การนําเอาเชื้อจุลินทรีย์ มาใช้ในการผลิตทางการเกษตรได้แก่ การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และการประมง บนฐานความคิดที่ว่า อยู่ที่ไหนใช้จุลินทรีย์ ที่นั้น จุลินทรีย์นี้ คือ เชื้อราขาว เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วย ตาเปล่า, มีประโยชน์ต่อธรรมชาติ ไม่ชอบแสงแดด ชอบกินของหวานจาก น้ำตาลทรายแดง และน้ำหมักจุลินทรีย์ 7 ชนิด โดยสรุป เป็นการผลิตอาหารสัตว์ใช้เองราคาถูกนําไปเลี้ยงสัตว์และประมง ผลิตปุ๋ยราคาถูกใช้เอง (จากวัสดุรองพื้นคอกสัตว์ หรือ สัตว์ทําสัตว์หมักและคน ทําคนหมัก) นําไปใช้กับการปลูกพืช โดยใช้จุลินทรีย์ แล้ววางแผนการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ประมง ให้เกิดรายได้ประจําวัน ประจําเดือนและประจําปี หัวใจสําคัญของการทําการเกษตรแบบธรรมชาติ คือ การผลิต 1) การผลิตเชื้อราขาว 2) น้ำหมักจุลินทรีย์…
-
ข้าวกล้องงอก ข้าวพอง
in องค์ความรู้ ข้าวกล้องงอก ข้าวพอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง โชคประเสริฐ สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ขั้นตอนการผลิตข้าวกล้องงอก สุกง่าย ไร้มอด ทําการขัดสีเอาเปลือกออกและทําความสะอาดข้าวกล้อง ล้าง แช่น้ำ 4-6 ชั่วโมง (ควรเริ่ม 08.00 น. เพื่อให้ครบวงจรการทํางานในแต่ละวัน) เพาะงอก 18 ชั่วโมงในที่ชื้น (บ่าย 2 ถึง 8 โมงเช้า วันรุ่งขึ้น) . พบทุ่มงอกยาว 1-2 มม. . นึ่งไอน้ำเดือด 10 นาที เพื่อ 1) ยับยั้งการงอก 2) ทําลายไขมอด 3) ทําให้สุกบางส่วน 4) ยับยั้งเอ็นไซม์ไลเปสป้องกันกลิ่นหืน 5)ทําลายจุลินทรีย์ก่อโรค ทําให้ข้าวกล้องงอกแห้ง โดยแสงแดดหรือตู้อบลดความชื้นเหลือ 14% บรรจุถุงพลาสติกธรรมดา ปิดผนึก ไม่ต้องใช้ถุงสุญญากาศ เนื่องจากมอดถูกทําลายและ…
-
ระบบสถานีอากาศและ การควบคุมการให้น้ำ
in องค์ความรู้ ระบบสถานีอากาศและการควบคุมการให้น้ำ ระบบสถานีอากาศ ซึ่งเพิ่มฟังก์ชัยการจัดเก็บความชื้นในดิน การวัดระดับน้ำ และการวิเคราะห์รูปภาพข้าว เพื่อประโยชน์สําหรับการให้น้ำ ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสํานักงานคณะกรรม การวิจัยแห่งชาติ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 สถานีอากาศ : ส่วนอุปกรณ์วัดความชื้นในดิน อุปกรณ์การวัดความชื้นในดินเป็นสิ่งสําคัญมากสําหรับ การปลูกข้าวในนา โดยเฉพาะนาที่ต้องการใช้น้ำปริมาณน้อย และในระยะข้าวออกดอกความชื้นในดินมีความสําคัญต่อการ เกิดเมล็ดของข้าวได้ โดยระบบได้นําเซ็นเซอร์มาประยุกต์ใช้ เป็นอุปกรณ์สําหรับจัดเก็บ ค่าความชื้นในดิน ความชื้นใน – อากาศ และระดับน้ำ อุปกรณ์วัดความชื้นในดิน ทําการเพิ่มความยาวของ ขาที่วัดความชื้นในดินให้ยาวขึ้น เพื่อให้สามารถปักอยู่ในทุ่งนา ที่มีน้ําท่วมขังได้เป็นเวลานาน และไม่ก่อให้เกิดสนิม ซึ่งมีราคา ถูกและนําไปใช้งานได้จริง อุปกรณ์สถานีอากาศราคาประหยัด สถานีอากาศ จัดทําขึ้นเพื่อทราบให้ทราบ ทิศทางลม ความเร็วลมและปริมาณน้ำ ซึ่งเกิดจากน้ำฝนซึ่งตกตามธรรมชาติ โดยปริมาณน้ำฝนเป็นปัจจัยที่สําคัญสําหรับการเจริญเติบโตของข้าว และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ระบบจะต้อง พิจารณาในกรณีที่ระบบจะต้องทําการควบคุมระดับน้ำ เพราะปริมาณน้ำฝนมีผลกระทบโดยตรงต่อความชื้นใน อากาศ และความชื้นในดิน การประดิษฐ์อุปกรณ์จัดทําขึ้นจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ ซึ่งหาซื้อได้จากอินเตอร์เน็ต…