แกงฟักทองใส่หมู เป็นเมนูอาหารไทยโบราณที่ตกทอดกันมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย จัดเป็นอาหารพื้นบ้านที่หาวัตถุดิบได้ง่าย ใช้เวลาปรุงไม่นาน และยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เหมาะกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องการอาหารที่ให้ความอิ่มท้องและมีสารอาหารที่ครบถ้วน ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับประวัติความเป็นมา ส่วนประกอบต่าง ๆ และขั้นตอนการทำเมนูนี้อย่างละเอียด ประวัติความเป็นมา: “แกงฟักทองใส่หมู” เป็นอาหารที่ตกทอดมาจากโบราณ เป็นมรดกตกทอดจากคนรุ่นก่อน นิยมทำกันภายในครอบครัวและชุมชน เพื่อเป็นอาหารหลักในชีวิตประจำวัน เป็นอาหารที่มีวัตถุดิบที่หาได้ง่ายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
ในยุคที่วิถีชีวิตเร่งรีบ การปรุงอาหารที่ทั้งอร่อยและรวดเร็วกลายเป็นสิ่งจำเป็น แกงแตงกวาใส่มาม่า เมนูพื้นบ้านจากอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นและความสะดวกสบายของอาหารสมัยใหม่ คุณจินดา ภูมิภูวิวัฒน์ ชาวบ้านในพื้นที่ เล่าว่าเมนูนี้ “กินมานานแล้ว” สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวของอาหารพื้นบ้านให้เข้ากับยุคสมัย โดยการนำมาม่า อาหารกึ่งสำเร็จรูปยอดนิยม มาผสมผสานกับแกงแตงกวาแบบดั้งเดิม วัตถุดิบหลักของเมนูนี้ ได้แก่ แตงกวา มาม่า และเครื่องแกงที่ประกอบด้วยพริก…
แกงผักเสี้ยวเป็นเมนูพื้นบ้านที่มีความเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยความอร่อยและประโยชน์ต่อสุขภาพ อาหารจานนี้มีรสชาติขมเล็กน้อยจากผักเสี้ยว แต่เมื่อรวมกับปลาย่างที่ย่างจนหอม กลับกลายเป็นรสชาติกลมกล่อมที่ทานได้ไม่เบื่อ การเตรียมวัตถุดิบก็ไม่ซับซ้อน ใช้เวลาเพียง 30 นาทีก็สามารถเสิร์ฟจานนี้ได้ แกงผักเสี้ยวนอกจากจะอร่อยแล้วยังมีคุณค่าทางอาหารสูง มีสมุนไพรที่ช่วยขับเหงื่อ แก้อาการท้องอืด ปวดหัว และเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิต นับเป็นอีกหนึ่งเมนูพื้นบ้านที่ควรรักษาและส่งต่อให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จักและลิ้มลอง ประวัติความเป็นมา ข้อมูลการทำจาก
ในโลกของอาหารไทยมีเมนูมากมายที่สะท้อนถึงประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นคือ “แกงขนุน” อาหารพื้นเมืองของภาคเหนือที่รับประทานอาหารเฉพาะตัวรวมทั้งรสชาติที่ร้านอาหารปรุงอาหาร
ปกติพูดถึงแกง ก็ต้องนึกถึงอาหารที่เป็นน้ำและมีพริกแกง ส่วนแกงกระด้าง ออกเสียงเป็นภาษาเหนือว่า แก๋งกระด้าง หรือแก๋งขะด้าง และมีชื่อเรียกอื่น เช่นแกงหมูกระด้าง หรือแกงหมูหนาว เป็นอาหารเหนือที่มักนิยมทำในหน้าหนาว ใช้ขาหมู หน้ากากหมู หรือส่วนที่มีไขมันมาทำ เพราะจะทำให้แกงข้น เกาะตัวหรือกระด้างได้ง่าย และจะทำทิ้งไว้ข้ามคืนในช่วงฤดูหนาว ปัจจุบัน มีการเติมผงวุ้นเพื่อช่วยให้การกระด้างได้ดีขึ้น แกงกระด้างจะมี 2…
แกงเหมือนไก่ ซึ่งยุคโบราณใช้เนื้อสุนัข ปัจจุบันใช้เนื้อไก่ แต่ยังคงไว้ที่เสน่ห์ความอร่อยจากผักโบราณและเครื่องเทศที่กลมกล่อม แกงเนื้อสัตว์ที่เป็นเมนูยอดนิยมของชาวไทเขิน มีสักษณะคล้ายแกงแคของภาคเหนือเป็นแกงที่ใส่ผักพื้นบ้านหลายชนิด และไส่ผงกะหรี่เพื่อดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์นิยมทานเป็นกับข้าวในอาหารจานหลัก หมายเหตุ : ควรทำความเข้าใจเชิงวัฒนธรรมและความเชื่อว่า การบริโภคเนื้อสุนัขในล้านนามีเฉพาะบางท้องถิ่นเท่านั้น และไม่ได้เป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วไป บางแห่งไม่ได้ยอมรับการบริโภคเนื้อสุนัข เพราะเห็นว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดกับคนและจงรักภักดีต่อเจ้าของ โดยทั่วไปคนล้านนาเลี้ยงสุนัขด้วยความรักและเอาใจใส่ประดุจลูกหลานในบ้าน ดังนั้นการบริโภคเนื้อสุนัขจึงเป็นเรื่องที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของผู้คนทั่วไปในล้านนา(ฐานข้อมูลคำเรียกชื่ออาหารล้านนา,2557)
แกงฮังเลเชียงแสนจะแตกต่างตรงที่มีถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ดอง งาขาวคั่ว เพิ่มเข้ามา ใช้เป็นส่วนผสมของแกงโฮะ (รัตนา, 2552) อีกทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารชาวไทยวนสมัยก่อนใช้มือในการรับประทานอาหาร อีกทั้งไม่นิยมทำแกงบ่อย ส่วนการใช้ช้อนจะใช้ในการรับประทานแกงเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะใช้มือในการรับประทานคู่กับข้าวเหนียว
แกงที่มีลักษณะและวิธีการทำคล้ายกับบ้ำพริกอ่อง แต่มีการใส่ข้าวคั่วเพิ่มเข้ามา น้ำแกงจะมีลัษณะข้นกว่าน้ำพริกอ่องและมีความหอมของข้าวคั่ว อีกทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารชาวไทเขินสมัยก่อนใช้ช้อนกะโหลกมะพร้าวในการรับประทาน อีกทั้งยังใช้ใบไม้ในการทำเป็นช้อนเพื่อรับประทานอาหารอีกด้วย เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีช้อนอะลูมิเนียม จึงใช้ความเป็นธรรมชาติเข้ามาช่วยในการดำรงชีวิต
จิ้นต้มคั่ว หรือ จิ้นซ่ำพริก อาหารชาติพันธุ์ไทลื้อ
20 นาที Cook
จิ้นซ่ำพริกอาหารประจำถิ่นของชาวไทลื้อ เนื้อหมู นำไปย่างไฟให้สุก แล้วนำมาทุบให้นิ่ม จากนั้นนำมาผัดกับพริกและกระเทียมหอม นำใบมะกรูดที่โรยให้ทั่ว และยกลงพร้อมทาน อีกทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารสมัยเมื่อก่อนล้อมรับประทานแบบเป็นขันโตก ให้ผู้อาวุโสรับประทานก่อน โดยจะไม่มีจานแบ่ง ช้อนแบ่ง ถ้าหากเป็นน้ำแกงจะใช้ช้อน แต่ถ้าหากเป็นข้าวเหนียวจะใช้มือเป็นส่วนใหญ่
เมนูนี้เป็นเมนูที่มีเฉพาะฤดูหนาวของอาหารกลุ่มชาติพันธุ์ไทยอง แกงฟักเขียว หรือแกงฟักหม่น มีวิธีการแกงคล้ายกับแกงอ่อมเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่แตกต่างคือแกงฟักเขียวใส่มะแขว่นโขลกลงไปพร้อมกับเครื่องแกง (ดีกิจ กัณทะกาลังค์, สัมภาษณ์, 20 มิถุนายน 2550) คนสมัยก่อนจะใช้สมโหล (การจุดไฟประกอบอาหาร) ที่มีควันเยอะแต่ในปัจจุบันยกเลิกการใช้ไปแล้ว เนื่องจากควันมีกลิ่นเหม็น จึงหันมาใช้ถ่านแทนในปัจจุบัน โดยพฤติกรรมการรับประทานอาหารกลุ่มชาติพันธุ์ไทยองสมัยก่อนใช้ช้อนสีเขียว ในการรับประทานอาหารจะนำใส่ขันโตกเพื่อคนในครอบครัว สามารถนั่งล้อมรอบรับประทานร่วมกันได้ โดยใน…