2021

  • การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด

    การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด

    เห็ด จัดเป็นอาหารประเภทผักที่ปราศจากไขมัน มีปริมาณน้ำตาลและเกลือค่อนข้างต่ำ และยังเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี เมื่อเทียบกับผักอีกหลายชนิด อีกทั้งยังมีรสชาติและกลิ่นที่ชวนรับประทาน ซึ่งรสชาติที่โดดเด่นนี้เกิดจากการที่เห็ดมีกรดอะมิโนกลูตามิคเป็นองค์ประกอบ โดยกรดอะมิโนตัวนี้จะทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นประสาทการรับรู้รสอาหารของลิ้นให้ไวกว่าปกติ และทำให้มีรสชาติคล้ายกับเนื้อสัตว์ นอกจากนี้เห็ดยังอุดมไปด้วยวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบีรวม (ไรโบฟลาวิน) และไนอาซิน ซึ่งจะช่วยควบคุมการทำงานของระบบย่อยอาหาร (http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=1393) การผลิตน้ำพริกเผาเห็ดนางฟ้า สูตรการผลิต เห็ดนางฟ้าย่าง หรือ นึ่ง 400 กรัม พริกแห้งแกะเม็ดทอดสุก 20 เม็ด กระเทียมเจียว 80 กรัม หอมแดงเจียว 80 กรัม น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วยตวง เกลือ 4    ช้อนโต๊ะ น้ำมะขาม 1 ถ้วยตวง น้ำมันพืช 1 ถ้วยตวง ขั้นตอนการผลิต นำพริกแห้ง หอม กระเทียม โขลกรวมกันให้ละเอียด นำเห็ดนางฟ้าย่างหรือนึ่ง บีบน้ำออก สับให้ละเอียด นำน้ำมะขาม น้ำตาลปี๊บ ตั้งไฟอ่อน เคี่ยวจนเข้ากันดี…

  • นวัตกรรมเกษตร IT

    นวัตกรรมเกษตร IT

    นวัตกรรมเกษตร IT และระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเกษตร คือ การทำเกษตรโดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสาร มาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่สำคัญในการทำฟาร์มเกษตรและบริหารจัดการฟาร์มอย่างอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการทำฟาร์มเกษตร โดยเทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้ อาทิเช่น เทคโนโลยี Wireless Sensor/IoT sensors , Remote sensing , Cloud Computing และ Mobile Application เป็นต้น การจัดการดังกล่าวเมื่อพิจารณากระบวนการแล้ว ก็คือการเกษตรแบบแม่นยำ (Precision farming) และฟาร์มอัจฉริยะ (Smart farming) นั่นเอง ข้อมูลที่ได้จาก sensor ต่าง ๆ จะถูกส่งผ่านเครือข่าย ของสัญญาณวิทยุมายัง Data Center และถูกประมวลผล และสั่งงานย้อนกลับไปหน้าฟาร์มหรือ แสดงค่าการพยากรณ์ การเตือน และการแนะนำผ่านแอปพลิเคชันไปยังเกษตรกรโดยตรง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดยหน่วยวิจัยเกษตรอัจฉริยะและโซลูชั่นทางการเกษตร สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้ทำการวิจัยและพัฒนา…

  • เห็ดตับเต่าสร้างรายได้

    เห็ดตับเต่าสร้างรายได้

    Maejo University Archives · IH – EP10 – เห็ดตับเต่า King Bolete Mushroom เห็ดตับเต่า (Phlebopus colossus (Heim.) Singer) เป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกันมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็ดตับเต่าเป็นเห็ดราเอ็กโตไมคอร์ไรซ่าที่อยู่กับพืชอาศัยได้หลายชนิด เช่น ลําไย หว้า หางนกยูงไทย หางนกยูงฝรั่ง ขนุน ชมพู่ ทองหลาง ผักหวานบ้าน มะกอกน้ำ มะกล่ำต้น มะม่วง มะไฟจีน เชื้อเห็ดตับเต่าช่วยให้พืชได้รับสารอาหารโดยตรงจากกระบวนการเมตะโบไลท์ และยัง ช่วยสร้างเส้นใยห่อหุ้มรากทำให้สามารถดูดซับความชุ่มชื้นจากดินและราก ทำให้พืชสามารถทนต่อ สภาวะที่แห้งแล้งได้ดี น้ำย่อยของเห็ดตับเต่าช่วยให้แร่ธาตุอาหารในดินแปรสภาพมาอยู่ในรูปที่เป็น ประโยชน์ต่อพืช อีกทั้งยังทำหน้าที่เหมือนราเจ้าถิ่นทำให้เชื้อราโรคพืชต่างๆ เข้าทำลายพืชได้ยากขึ้น จึงทำให้ต้นไม้ที่มีเชื้อเห็ดตับเต่าอาศัยอยู่มีความแข็งแรงต้านทานต่อเชื้อราโรคพืชได้ดี เส้นใยของเห็ดราเจริญห่อหุ้มรากของต้นไม้ไว้ช่วยรักษาความชื้นให้ต้นไม้ในฤดูแล้ง และเชื้อราช่วยย่อยสลายซากพืชซาก สัตว์ในดินให้เป็นธาตุอาหารในรูปที่ต้นไม้ใช้ประโยชน์ได้ทันที และเมื่ออยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะรวมตัวกันออกเป็นดอกเห็ดบริเวณโคนต้นไม้ที่มีรากพืชกระจายอยู่ นักวิจัยได้นำดอกเห็ดตับเต่ามาทำการแยกเชื้อในห้องปฏิบัติการ เลี้ยงเชื้อลงในอาหารมันฝรั่ง (PDA) เมื่อเชื้อเดินเต็มอาหาร PDA จึงย้ายเชื้อลงเลี้ยงในอาหารเมล็ดข้าวฟ่าง เพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อให้มากขึ้น…

  • เทคนิคการบังคับมัลเบอร์รี่นอกฤดูกาล

    เทคนิคการบังคับมัลเบอร์รี่นอกฤดูกาล

    มัลเบอร์รี (Mulberry) อยู่ในสกุล Moraceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus spp. สามารถเจริญเติบโตและ ปรับตัวได้ดีในหลายสภาพภูมิอากาศเป็นที่นิยมบริโภคกัน อย่างแพร่หลาย สามารถรับประทานสดและแปรรูปได้ หลากหลาย เช่น แต่งหน้าเค้ก ทำแยม น้ำมัลเบอร์รีเข้มข้น เทคนิคการโน้มกิ่งและการจัดกิ่งขึ้นค้าง การจัดการกิ่งอย่างเป็นระเบียบและประณีต จะสามารถกระตุ้นให้ออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี ทำผลผลิตให้มีคุณภาพดีและสม่ำเสมอ หลังปลูกมัลเบอร์รี่ ให้เลี้ยงกิ่งยอดเพียง 2 กิ่ง ตั้งตรงขึ้นไปเหนือระดับค้าง มีความยาวข้างละประมาณ 1.00-1.50 เมตร โน้มกิ่งทั้งสองลง ด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้กิ่งฉีกขาด เสียหาย โดยค่อย ๆ โน้มลงบนค้าง แล้วผูกด้วยเชือก ที่ยืดหยุ่นได้ เช่น เศษผ้ายืด เทปพลาสติก ผูกเป็น เปลาะ ๆ ไปตามความยาวระดับค้างขนานกับพื้นดิน โดยต้องปล่อยให้ปลายยอดยาว 50-60 ระหว่างที่เลี้ยงกิ่งให้ไต่ขนานบนค้างนี้ ตรงบริเวณโคนกิ่งหรือบริเวณที่ใกล้ ๆ มุมหรือง่ามกิ่งที่แยก ออกไปสองข้าง ซ้าย-ขวา มักจะเกิดกิ่งกระโดง (cane) ขึ้นมาก่อนและแข็งแรงกว่ากึ่งถัดไปควรมีการควบคุมระดับความความสูงไม่ให้ยาวเกินไป…

  • การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพแบบไม่พลิกกลับกอง “วิศวกรรมแม่โจ้ 1”

    การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพแบบไม่พลิกกลับกอง “วิศวกรรมแม่โจ้ 1”

    Maejo University Archives · IH-EP.4 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพแบบไม่พลิกกลับกอง “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” การผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีใหม่ “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” เป็นการค้นคว้าวิจัยของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ 2552 ได้มีนวัตกรรมใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่ต้องพลิกกลับกอง ทำให้เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีได้ในปริมาณมาก ๆ ต่อครั้ง ประมาณ 10-100 ตัน และปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้มีค่ามาตรฐานของปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2551 ใช้ระยะเวลาในการทำเพียง 60 วัน เรียกวิธีนี้ว่าวิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” ซึ่งเป็นการทำปุ๋ยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่นและน้ำเสีย วัตถุดิบที่ใช้มีเพียงเศษพืชกับมูลสัตว์เพียง 2 อย่างเท่านั้น โดยใช้เศษพืชเป็นฟางข้าว  หรือเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หรือผักตบชวา ในอัตราส่วนระหว่างฟางข้าว หรือเศษข้าวโพด หรือผักตบชวา กับมูลสัตว์ ในอัตราส่วน 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร และถ้าเป็นเศษใบไม้ใช้อัตราส่วน 3 ต่อ 1 โดยปริมาตร การทำปุ๋ยอินทรีย์…

  • ปลาลูกผสม Silver Catfish เพื่อความมั่นคงด้านอาหารและอาชีพ

    ปลาลูกผสม Silver Catfish เพื่อความมั่นคงด้านอาหารและอาชีพ

    ในการพัฒนาสายพันธุ์ปลาหนังลูกผสมชนิดใหม่ (ปลาเทโพ x ปลาสวาย) และสายพันธุ์ปลาลูกผสมแบบ สลับเพศสายพันธุ์ใหม่ (ปลาสวาย x ปลาเทโพ) ที่มีอัตราการผสม อัตราการฟัก และอัตรารอดสูง ดีกว่าปลาสวาย และเทโพ สามารถแยกลักษณะภายนอกของปลาหนังลูกผสม (ปลาสวาย x ปลาเทโพ) กับปลาสวาย ในขนาด 5 นิ้ว ได้ในปลาหนังลูกผสมมีจุดดําที่ครีบหู ความยาวครีบหูและหลัง ลําตัว และหัวกว้างมากกว่าปลาสวายการอนุบาลใน กระชังเป็นเวลา 4 เดือน พบว่า ปลาหนังลูกผสม (ปลาสวาย x ปลาเทโพ) ปลาหนังลูกผสมมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่า ปลาสวายและเทโพ ส่วนการเลี้ยงในบ่อดินให้ได้ขนาดตลาดในบ่อขนาด 300 ตารางเมตร อัตราปล่อย 2 ตัว/ตาราง เมตร ขนาด 100 กรัม เลี้ยงนาน 8 เดือน พบว่าได้ น้ำหนักปลาขนาด 1.3 กก. อัตราการโต 5…

  • ฐานเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ หัวใจคนก้าวหน้า

    ฐานเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ หัวใจคนก้าวหน้า

    ความเป็นมาเกษตรทฤษฎีใหม่ ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 40 ปีแล้ว (2517) ตั้งแต่ก่อนวิกฤติทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทรงประกาศเกษตรทฤษฎีใหม่ครั้งแรกที่แม่โจ้ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2538 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงประกาศเกษตรทฤษฎีใหม่ครั้งแรกในประเทศไทย ณ อาคารแผ่พืชน์ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ความว่า “ทฤษฎีใหม่เป็นวิธีปฏิบัติการเกษตรอีกแนวทางหนึ่งสำหรับเกษตรกรที่มีที่ดินจำนวนน้อย มีหลักสำคัญอยู่ว่า แต่ละแปลงจะแบ่งออกเป็นส่วน สมมติว่าแปลงหนึ่งมี 15 ไร่ จะปลูกข้าว 5 ไร่ ปลูกไม้ผล พืชไร่ และพืชผักสวนครัว 5 ไร่ ขุดสระน้ำ 3 ไร่ ปลูกที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ อีก 2 ไร่” ผู้เยี่ยมชม แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะได้รับประสบการณ์ ความรู้…

  • ศูนย์รวบรวมพรรณไม้และพืชผักท้องถิ่นจังหวัดแพร่และภาคเหนือตอนบน

    ศูนย์รวบรวมพรรณไม้และพืชผักท้องถิ่นจังหวัดแพร่และภาคเหนือตอนบน

    ที่มาและความสำคัญ ในขณะที่พื้นที่ป่าลดลงความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตก็ลดลงไปด้วย แหล่งอาหารถูกเปลี่ยนตามความต้องการของมนุษย์โดยทุกสิ่งถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีแต่กลับเกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย ทั้งที่ปัจจัยการผลิตทางเกษตรกรรมและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยธรรมชาติเป็นหลักอยู่ โดยเฉพาะพืชพรรณซึ่งถือว่าเป็นผู้ผลิตหลักในห่วงโซ่อาหารไม่มีสิ่งใดทดแทนหน้าที่นี้ได้ อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างหนึ่งเมื่อแหล่งอาหารลดลง คือ ความหลากหลายของพันธุกรรมพืชอาหารพร้อมทั้งวัฒนธรรมการปรุงอาหารที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมกำลังจะเลือนหายไปกับกาลเวลา เพื่อให้ประชาชน เยาวชนเกิดความรัก ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่หลากหลายของการบริโภคผักพื้นถิ่นที่สั่งสมจากบรรพบุรุษมานานที่ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพและการตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม และเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้เห็นได้เห็นความสำคัญของผักพื้นถิ่น นำไปสู่การวางแผนอย่างรอบคอบ ยกระดับ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดองค์ความรู้บนฐานทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดความหลากหลายของผลผลิตสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน โดยเน้นความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้จัดตั้งศูนย์รวบรวมพรรณไม้และพืชผักท้องถิ่นจังหวัดแพร่และภาคเหนือตอนบน ภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบ ในพื้นที่ประมาณ 27 ไร่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพืชและผักพื้นถิ่นและถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติแก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาพืชผักพื้นถิ่นและยกระดับเป็นพื้นที่ที่ได้รับการรอง เป็นการทำการเกษตรในระบบเกษตรเกษตรอินทรีย์ Auther : อาจารย์ ดร.มณฑล นอแสงศรี อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ แหล่งที่มา : http://www.phrae.mju.ac.th/ext/organic-agriculture/ VDO : https://youtu.be/wHxrwt-Z0E4

  • การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผัก ผลไม้ และสมุนไพร

    การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผัก ผลไม้ และสมุนไพร

    การแปรรูปเครื่องดื่มพาสเจอร์ไรส์ในภาชนะบรรจุปิด เครื่องดื่มพาสเจอร์ไรส์ที่บรรจุในภาชนะปิดสนิทเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก สามารถผลิตได้ง่ายโดยใช้เครื่องมือ วิธีการที่ไม่ซับซ้อน และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมักเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่มีในท้องถิ่น การพาสเจอร์ไรส์เป็นการให้ความร้อนแก่อาหารเพื่อทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค มี 2 ระดับ วิธีใช้ความร้อนต่ำ – เวลานาน (LTLT : Low Temperature – Long Time) วิธีนี้ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 62.8 – 65.6 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที วิธีใช้ความร้อนสูง – เวลาสั้น (HTST : High Temperature – Short Time) วิธีนี้ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่าวิธีแรก แต่ใช้เวลาน้อยกว่าคืออุณหภูมิ 71.1 องศาเซลเซียส คงไว้เป็นเวลา 15 วินาที การผลิตน้ำตะไคร้ สูตรการผลิต น้ำ 1 ลิตร ใบเตยหั่นเป็นชิ้นเล็ก 100 กรัม ตะไคร้ทุบ 4 ต้น…

  • ศูนย์เรียนรู้และส่งเสริมการผลิต การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ และสารชีวภัณฑ์  ในการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดการพึ่งพาเคมีภัณฑ์เกษตร

    ศูนย์เรียนรู้และส่งเสริมการผลิต การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ และสารชีวภัณฑ์ ในการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดการพึ่งพาเคมีภัณฑ์เกษตร

    ที่มาและความสำคัญ จุลินทรีย์มีความใกล้ชิดกับมนุษย์มาอย่างยาวนาน ประโยชน์ของจุลินทรีย์นอกเหนือจากการใช้ในการผลิตอาหารและเครื่องดื่มแล้ว แต่ยังมีบทบาทสำคัญอย่างมากในด้านการเกษตร จึงเรียกว่า “จุลินทรีย์เกษตร (Agricultural microbial)” โดยอาจจะนิยามคำว่า “จุลินทรีย์เกษตร” อย่างง่ายๆว่าเป็น จุลินทรีย์ที่อยู่ในกลุ่ม แอคติโนมัยซีส (Actinomyces) แบคทีเรีย (Bacteria) ยีตส์ (Yeast) รา (Fungi) และจุลสาหร่าย (Microalgae และ Blue green algae) ที่เติมลงไปในดิน แล้วช่วยทำให้ดินเกิดสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะปลูกพืช ทำให้พืชแข็งแรงเจริญเติบโตดี จุลินทรีย์บางสายพันธุ์สามารถใช้คลุกหรือแช่เมล็ดพันธุ์ (seed treatment) เพื่อป้องกันโรคพืชและทำให้เมล็ดพันธุ์มีอัตราการงอกที่สูงได้ และพบว่าจุลินทรีย์กลุ่มรา สามารถช่วยกำจัดแมลงและหนอนศัตรูพืชได้อีกด้วย ดังนั้นสามารถเรียกจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เหล่านี้ว่า หัวเชื้อจุลินทรีย์ (Microbial Agricultural Inoculant) หรือเรียกว่า ปุ๋ยชีวภาพ (Biofertilizer) สำหรับ สารชีวภัณฑ์ (Bio-formulation) เป็นสารสำคัญ ที่เป็นผลได้จากกระบวนการหมัก สกัดหรือแยก จากวัตถุดิบธรรมชาติ (เช่น ผัก ผลไม้ สมุนไพร เศษปลา…