Category: Intellectual
-
นายเกษม คามี ภูมิปัญญาปราชญ์ล้านนาการสานใบมะพร้าว
นายเกษม คามี เป็นคนตำบลสันทรายหลวง อำภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผลงาน การสานใบมะพร้าวรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ปลาช่อน ปลาตะเพียน จิ้งจก ซุ้มประตูรูปแบบต่างๆ หมวกใบมะพร้าว วัสดุเครื่องมือ ขั้นตอนวิธีการทำ การอนุรักษ์สืบสาน เผยแพร่และการถ่ายทอด แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
-
นายทอง สุกันธา ด้านหัตถกรรมจักสาน
นายทอง สุกันธา เป็นคนตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผลงาน นายทอง สุกันธา มีความสนใจการจักสานจึงได้เรียนรู้ฝึกทำด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ มีความสามารถจักสานได้หลายอย่าง ได้แก่ ก๋วยตี๋นช้าง ก๋วยสังฆทาน ไม้กวาดแข็ง ไม้กวาดอ่อน ซ้าหวด ก๋วยใส่หญ้า ฝาชี ต๋าแหลว ขันโตก ตุ้มดักปลาไหล สานสาดแหย่ง (เสื่อกก) ก๋วยสลาก จักตอก วัสดุเครื่องมือ การทำไม้กวาดแข็ง รูปอุปกรณ์การทำไม้กวาดแข็ง ขั้นตอนการทำไม้กวาดแข็ง นายทอง สุกันธา กาลังทำไม้กวาดแข็ง ไม้กวาดแข็งที่ทำเสร็จแล้ว การอนุรักษ์สืบสาน เผยแพร่และการถ่ายทอดองค์ความรู้ ได้มีผู้ที่ให้ความสนใจมาเรียนการจักสานที่บ้านหลายคนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ สอนให้คนอื่นรู้เพื่อเป็นวิทยาทาน และยากให้ผู้ที่มีความสนใจในด้านนี้มาเรียนรู้เพราะไม่ยากให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการจักสานหายไปจากชุมชน แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
-
นายชูชาติ ใหม่ตาคำ ปราชญ์ล้านนาหมอเมือง
นายชูชาติ ใหม่ตาคำ เป็นคนตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผลงาน หมอเมืองรักษากระดูกต่อกระดูก (กวาดซุย) เช็ดตุ่ม เป่าตา เป่าปาก (เป็นเม่า) เช็ดปวดเมื่อย รักษาโรคมะโหก (โรคริดสีดวงทวารหนัก) ซึ่งมีรูปแบบที่รักษากันไปตามโรค โดยใช้คาถาเป่า เหล้าขาว น้ำมันงา เงินแถบ ไข่ไก่ต้ม มีดแฮกเขาควาย สมุนไพรหว่านทรหด ทำการรักษาแก่ผู้ป่วยภายในหมู่บ้านและผู้ป่วยที่ทราบข่าวจากคนไข้ที่เคยรักษาแล้วหายจากโรคต่างๆ วัสดุที่ใช้รักษาการต่อกระดูกด้วยการกวาดซุย 1. ขันตั้งสามสิบหก 1 ขัน 2. เหล้าขาว 3. น้ามันงา 4. ใบพลู 5. สาลี 6. น้ำเปล่า วิธีการรักษา 1. ตั้งขันสามสิบหก ประกอบด้วยสวยดอกไม้ธูปเทียน 36 สวย สวยหมากพลู 36 สวย หมาก 1 หัว เหล้าขาว 1 ขวด ผ้าขาว ผ้าแดง ข้าวเปลือก ข้าวสาร เงินขั้นตั้ง 136…
-
คำจันทร์ จองฟอง ภูมิปัญญาปราชญ์ล้านนาการทำหมากไหม
ผลงาน การทำหมากไหม หมากแก่นแห้ง สาหรับใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ของชาวล้านนาหรือนำไปกินและ ใช้เป็นยาสมุนไพร แก้ไข้ แก้เบาหวาน ใช้ย้อมสีน้ำหมาก ยาถ่ายพยาธิ หมากไหม คือ การนำหมากที่เป็นลูกนำมาผ่าเป็นกลีบ 5-6 กลีบแล้วนำมาร้อยเป็นเส้นหรือ ร้อยไหม 1 เส้น เรียกว่า 1 ไหม 10 ไหม เรียกว่า 1 หัว 10 หัว เรียกว่า หมากหมื่น หรือ มีร้อยไหม, ร้อยเส้น การคัดเลือกต้นป๋อที่จะมาทาเป็นเชือกร้อยหมาก คือต้น ป๋อที่ดีต้องมีลักษณะที่ลำต้นตรง มีอายุ 5 ปีขึ้นไปต้องเป็นต้นป๋อที่มียอดใบสีแดงจะได้เชือกป๋อที่ดีมากถ้าเป็นป๋อยอดขาวจะได้เชือกป๋อที่พอใช้ ต้นป๋อที่ไม่สมควรนามาใช้ คือ ป๋อต่าง ป๋อริมน้ำ ป๋อแอ่นอกม้า ป๋อเกี้ยวต้น ซึ่งป๋อเหล่านี้เมื่อนำเอาเยื่อ ป๋อออกมาแล้วจะได้เส้นใยที่ไม่ตรง ฉีกขาดง่าย และต้นป๋อออกดอกออกผลจะไม่ตัดเพราะจะได้เยื่อเส้น ใยที่บางและมีน้อย เมื่อได้ต้นป๋อตามขนาดที่ต้องการแล้วตัดยาว 1 เมตร ปลอกเปลือกแล้วเอาเยื่อป๋อ ออกจะได้…
-
ศุภจิตรา คำราพิช ภูมิปัญญาด้านการทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม
ผลงาน การทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม รูปแบบผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นขนาดพอดีคำ ข้าวแต๋นรูปหัวใจ ข้าวแต๋น ขนาดทั่วไป แบบราดน้ำอ้อยและแบบไม่ราดน้ำอ้อย และนำเศษข้าวแต๋นที่แตกหักหรือเป็นเม็ดมาทำเป็นข้าวแต๋นอัด ได้ออกรายการทีวีโทรทัศน์ รายการไอเดียทำเงิน ออกอาศทางช่อง ๕ และรายการของเชพโรเจอร์ แวนแดม เชฟระดับมิชชลิน ผู้ชำนาญทางด้านขนมหวานและเบเกอร์รี่ ออกอากาศที่ประเทศเบลเยี่ยม ตอน Roger Van Damme in Thailand รับออกงานสาธิตนอกสถานที่ เช่น คุ้มขันโต๊ก ร้านม่อนฝ้าย แสดงและสาธิตผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นให้นักท่องเที่ยวได้ชมและชิม รวมทั้งยังเป็นสถานที่ที่ให้นักเรียน นักศึกษามาบันทึกถ่ายทำภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำข้าวแต๋นอีกด้วย วัสดุเครื่องมือการทำข้าวแต๋น ข้าวเหนียว กข. 6 แตงโม งาดำ น้ำอ้อย น้ำตาลปีบ เกลือ น้ำมัน พิมพ์สำหรับกดข้าวแต๋น เตาอบ กระทะ ขั้นตอนการทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม ปั้นแตงโมกรองเอาแต่น้ำแตงโมนำมาผสมกับน้ำตาลปีบและเกลือ แช่ข้าวเหนียว กข.6 1 คืน นำมานึ่งให้สุกราดน้ำแตงโมและผสมเข้ากับงาดำ นำมากดใส่พิมพ์ข้าวแต๋น นำไปอบหรือนำไปตากให้แห้ง ตั้งกระทะใส่น้ำมันแล้วนำไปทอดแล้วนำมาราดด้วยน้ำอ้อย ใส่ถุงบรรจุภัณฑ์ ด้านการอนุรักษ์สืบสานเผยแพร่และการถ่ายทอดองค์ความรู้…
-
รินทอง ธินะ ปราชญ์ล้านนาด้านงานใบตอง ดอกไม้สด
ผลงาน งานใบตอง ดอกไม้สด งานบายศรีบวงสรวง บายศรีพรหม บายศรีเทพ บายศรีปากชาม ขันผูกมือ บายศรีหลัก บายศรีประกอบพิธีต่างๆ มาลัยบ่าวสาว มาลัยข้อพระกร ช่อดอกไม้สด ช่อดอกไม้เงิน ช่อดอกไม้จากใบเตย ปลาตะเพียนใบเตย พานไหว้ครู กระทงรูปทรงต่างๆ กรวยดอกไม้ จัดดอกไม้สดรูปทรงต่างๆ และเครื่องสักการะล้านนา วัสดุอุปกรณ์การทำพานไหว้ครู ใบตองตานี 5 เข็มหมุด ดอกกล้วยไม้ 6 เข็ม ด้าย ดอกบานไม่รู้รวย 7 พาน ดอกพุด 8 โฟมพุ่ม ขั้นตอนวิธีการทำ ทำงานใบตองกลีบคอม้า กลีบผกา กลีบเล็บมือนาง เป็นส่วนประกอบหลักการทาพานไหว้ครู เย็บแบบขอบใบตองกล้วยไม้ชั้นใน ประกอบงานใบตองที่ทาไว้แล้วเข้ากับโฟมพุ่มบานพานปักเข็มหมุดยึดให้แน่น ตกแต่งด้วยดอกกล้วยไม้ให้สวยงาม ร้อยมาลัยคาดพานพุ่มที่ตกแต่งแล้วยึดติดให้แน่น ทำมาลัยตูมด้วยดอกกล้วยไม้เสียตรงยอดพานพุ่ม จะได้พานพุ่มไหว้ครูที่เสร็จเรียบร้อย ด้านการเผยแพร่ อนุรักสืบสานและถ่ายทอดองค์ความรู้ ได้เชิญให้ไปเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ โรงเรียนบ้านบวกเปา โรงเรียนบ้านหัวฝาย กลุ่มผู้สูงอายุภายในหมู่บ้าน เทศบาลตาบลสันทรายหลวง สาธิตการทำงานใบตองและเครื่องสักการะล้านนาแก่ชาวต่างชาติ ให้สัมภาษณ์แก่นักศึกษาปริญญาเอก…
-
แม่ครูบัวจันทร์ นนทวาสี หัตถกรรมเครื่องสักการะล้านนาและการทําข้าวแต๋น
ผลงาน เครื่องสักการะล้านนา หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นผึ้ง ต้นเทียน ต้นดอก การทำข้าวแต๋น ได้เชิญให้ไปเป็นวิทยากรบรรยายและสถานที่ต่างๆ ทั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัยและเทศบาลตำบล จนเป็นที่ยอบรับได้รับรางวัลเกียรติคุณจากหลายหน่วยงาน การทำเครื่องสักการะล้านนา หมากสุ่ม จัดเตรียมต้อมก้อมหรือต้นกล้วยที่มีขนาดพอเหมาะประมาณ 60-80 เซนติเมตรพร้อมทำฐานต้นกล้วย ดัดไม้หรือลวดให้เป็นทรงพุ่ม นำหมากแห้งที่ร้อยเป็นเส้นแล้วมาผูกกับไม้หรือลวดที่ดัดเป็นทรงพุ่ม นำดอกไม้มาประดับตรงฐานของพุ่มหมากสุ่มให้สวยงาม หมากเบ็ง จัดเตรียมต้อมก้อมหรือต้นกล้วยที่มีขนาดพอเหมาะประมาณ 60-80 เซนติเมตรพร้อมทาฐานต้นกล้วย นำใบพลูสองใบมาพับแล้วนำมาไขว้กันเสียบไว้กับไม้เสียบลูกชิ้นพร้อมกับนำผลหมากดิบ จานวน 24 อัน นำไปเสียบกับขันต้อมก้อมหรือต้นกล้วยให้เป็นทรงพุ่ม ใช้ดอกไม้สดประดับตกแต่งฐานต้อมก้อนหรือต้นกล้วยให้สวยงาม ต้นผึ้ง จัดเตรียมต้อมก้อมหรือต้นกล้วยที่มีขนาดพอเหมาะประมาณ 60-80 เซนติเมตรพร้อมทำฐานต้นกล้วย นำขี้ผึ้งที่เป็นแผ่นมาตัดให้เป็นรูปดอกไม้แล้วปักไม้เสียบลูกชิ้นจานวน 24 อัน แล้วนำไปเสียบกับต้อมก้อมหรือต้นกล้วยให้เป็นพุ่ม นำดอกไม้สดมาตกแต่งให้เป็นพุ่มสวยงาม ต้นเทียน จัดเตรียมต้อมก้อมหรือต้นกล้วยที่มีขนาดพอเหมาะประมาณ 50-80 เซนติเมตรพร้อมทาฐานต้นกล้วย นำเทียนสองเล่มมัดตรงสนวนเข้าด้วยกันกับไม้เสียบลูกชิ้น จานวน 24 อัน แล้วนำไปเสียบกับต้อมก้อมหรือต้นกล้วยให้เป็นพุ่ม นำดอกไม้สดมาตกแต่งให้เป็นพุ่มสวยงาม ต้นเทียนดอก จัดเตรียมต้อมก้อมหรือต้นกล้วยที่มีขนาดพอเหมาะประมาณ 60-80 เซนติเมตรพร้อมทำฐานต้นกล้วย นำดอกไม้สดมาตกแต่งเป็นพุ่มให้สวยงาม รางวัลเกียรติคุณ…
-
พรชัย ตุ้ยดง ด้านศิลปะการแสดงฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิงและประกอบศาสตราวุธ
ผลงาน ครูสอนฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ และศาสตราวุธต่างๆ การประกอบศาสตราวุธ ดาบ หอก ง้าว ขอช้าง ประธานชมรมรักดาบ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้จัดโครงการเสวนาและนิทรรศการ การแสดงศาสตราวุธล้านนา ซึ่งจัดมาแล้วถึง 12 ครั้ง ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่านและจังหวัดพะเยา ผู้จัดโครงการเผาข้าวหลามถามเรื่องดาบ ผู้จัดโครงการร่ายดาบวาดเจิงเพื่อสุขภาพ ผู้จัดโครงการค่ายรักดาบสัญจรปี 53 ณ วัดพญาวัดอำเภอเมือง จังหวัดน่าน แบบเรียนวิชาฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง (ลายสิบสองปันนา) ผลงานวิจัยบทบาทของดาบในสังคมล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวบรวมเอกสารประวัติกลองปูชาล้านนา ในโครงการกลองปูชาคืนสู่วัด สื่อการสอนการตอกลายกระดาษล้านนา เอกสารประกอบการเรียนตีกลองสะบัดชัย เอกสารประกอบการเรียนดนตรีพื้นเมือง การฟ้อนดาบฟ้อนเจิง(ลายสิบสองปันนา) ย่างขุม 12 ฟ้อนท่าลายมือตบมะผาบ 3 ชุด (ท่าแม่หลักขุม 3) ชุดที่ 1 ตบ 4 ครั้ง ประกอบการย่างขุม 3 ต่อชุดที่ 2 ตบ 8 ครั้ง…
-
แม่ครูศุภรัตน์ เกตุบุญเรือง ด้านนาฏศิลป์ (ฟ้อนเล็บ)
ผลงาน แม่ครูศุภรัตน์ เกตุบุญเรือง ด้านนาฏศิลป์ (ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน) เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการฟ้อนเล็บและฟ้อนเทียน ที่ได้เรียนรู้สืบทอดมากันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนเกิดความชานาญและได้ไปทำการแสดงและเข้าประกวดการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียนตามงานต่างๆ ที่จัดขึ้นและได้รับรางวัลมาโดยตลอดจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดระยะเวลาประสบการณ์กว่า 40 ปี แม่ครูศุภรัตน์ เกตุบุญเรือง ได้อุทิศตนแก่สังคมเป็นครูวิทยากรได้มีหน่วยงานต่างๆ เชิญให้ไปอบรมและปฏิบัติการเรียนรู้สอนการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียนอยู่ตลอด ทั้ง 12 ตำบลในอาเภอสันทราย หน่วยงานจากเทศบาลตำบล โรงเรียน วัดต่างๆ ในอำเภอสันทราย รวมถึงอำเภอใกล้เคียง เช่น อำเภอดอยสะเก็ดและอำเภอสารภี แม่ครูศุภรัตน์ เกตุบุญเรือง ยังได้เชิญให้เข้าร่วมฟ้อนงานประเพณีเตียวขึ้นดอยสุเทพ ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารและงานใส่ขันดอกอินทขิล วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นประจาทุกปี ในด้านการอนุรักษ์สืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมการแสดงนาฏศิลป์ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้การฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน การแต่งกายของช่างฟ้อนตามแบบโบราณ ให้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในอำเภอสันทราย และนักเรียนโรงเรียนต่างๆ และเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ประจำอำเภอสันราย จนได้รับใบประกาศเกียรติคุณจาก ดร.เจ้าแม่ดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ แม่ครูศุภรัตน์ เกตุบุญเรือง ถือได้ว่าเป็นผู้ที่สร้างคุณประโยชน์แก่สังคมในท้องถิ่นอย่างแท้จริงโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ เครื่องแต่งกาย เสื้อแขนยาวทรงกระบอกคอกลม ซิ้นเมืองก่าน ผ้าสไบ…