FOLKWAYSTraditional

“ผางประทีป”ส่องสว่างดั่งแสงนำทางแห่งชีวิต

0

ผางประทีป เป็นประทีปที่ใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระพุทธเจ้า และเป็นการนำไปใช้ในการบูชาสืบชะตาต่ออายุของตนเอง อีกนัยหนึ่งเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันในการจุดแทนตะเกียงช่วงเวลากลางคืน (เยาวนิจ ปั้นเทียน, 2542)

             คำว่า “ผาง” หมายถึง ภาชนะรองรับน้ำมันหรือไขที่เป็นเชื้อเพลิงของประทีป 
                       คำว่า “ประทีป” หมายถึง แสงไฟ 

ความเป็นมา

  • ตำนานเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตมะ (พระพุทธเจ้าที่ผู้คนนับถือในปัจจุบัน) และพระศรีอริยเมตไตรย เดิมทั้ง 5 พระองค์เป็นลูกกาเผือก โดยกาเผือกไปฟักไข่ไว้บนรังต้นไม้ในขณะที่แม่กาเผือกกำลังออกหากินเกิดลมพายุพัดแรงขึ้นทำให้ลูกที่เป็นไข่ถูกลมพัดตกหล่นไปในแม่น้ำ ไข่ทั้ง 5 ใบก็ลอยแยกออกจากกันไปเจอคนเลี้ยงที่ต่างกัน โดยไข่ใบแรกเจอไก่เก็บไปเลี้ยง คือ พระกกุสันธะ ไข่ใบที่ 2 นาคได้เก็บไปเลี้ยง คือ พระโกนาคมนะ ไข่ใบที่ 3 เต่าได้เก็บไปเลี้ยง คือ พระกัสสปะ ไข่ใบที่ 4 โคได้เก็บไปเลี้ยง คือ พระโคตมะ และไข่ใบสุดท้ายคนซักผ้าได้เก็บไปเลี้ยง คือ พระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งไข่พอฟักออกมาแล้วแทนที่จะเป็นกา แต่กลับกลายเป็นคน เมื่อทั้ง 5 พระองค์เติบโตขึ้นมาได้รับรู้ว่าตัวตนจริง ๆ เป็นไข่ของกาเผือกมาก่อน จึงอยากรู้ว่าพ่อแม่ที่แท้จริงของตัวเองเป็นใครได้ทำการออกเดินทางตามหา ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์มาเจอกันโดยบังเอิญแล้วได้เล่าเรื่องราวของกันและกันให้ฟัง ทำให้รู้ว่าเป็นพี่น้องกัน ก็เลยสัจจะอธิษฐานว่าอยากเจอแม่แท้ๆ ซึ่งแม่ของทั้ง 5 พระองค์ได้เกิดเป็นเทพบนสวรรค์แล้วเนื่องจากรู้ว่าลูกของตนเองหายไป จึงได้ทำการออกตามหาลูกแต่หานานเท่าไหร่ก็ไม่เจอจนเกิดอาการอกแตกตาย ด้วยแรงอธิษฐานของทั้ง 5 พระองค์ทำให้แม่ที่อยู่บนสวรรค์ลงมาแปลงกายให้เห็นว่าเป็นกาเผือก และมีการพูดคุยกัน พระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์อยากได้ของจากแม่เพื่อที่จะเก็บเป็นที่ระลึกบูชา แม่ก็เลยนำด้ายมาฟั่นเป็นตีนกา ลูกทั้ง 5 คนจึงตั้งใจออกบวชเป็นฤๅษี ปฏิบัติธรรมและอธิษฐานให้ตนเองเป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกันทั้ง 5 พระองค์ (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566)

  • ตำนานเกี่ยวกับการแสดงอิทธิฤทธิ์ระหว่างพราหมณ์กับพระพุทธเจ้า ชาวเมืองหันมาเคารพนับถือศาสนาพุทธกันมากขึ้น ทำให้พวกอาจารย์ที่เป็นพราหมณ์มีผู้คนเริ่มนับถือน้อยลง เครื่องราชสักการะก็น้อยลง พราหมณ์เหล่านั้นได้ทำการคิดว่าจะทำยังไงให้คนกลับมาเคารพนับถือมากขึ้น จึงมีการจัดแสดงอิทธิฤทธิ์ด้วยการเหาะขึ้นไปเอาของบนยอดไม้ เพราะมีความเชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะนับถือคนที่มีฤทธิ์มีเดช แต่เหล่าพราหมณ์ทั้งหลายได้มีการยื้อยุดฉุดกระชากกันเป็นเวลานานก็ยังไม่มีใครเหาะขึ้นไปได้ สุดท้ายพระโมคคัลลานะซึ่งเป็นพระที่มีฤทธิ์มากเดินผ่านไปยังบริเวณจัดแสดงอิทธิฤทธิ์ได้เหาะขึ้นไปเอาของบนยอดไม้มา พราหมณ์ทั้งหลายที่พบเห็นก็เลยโจษจันว่าลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้านั้นเกเร อันธพาลไปทำลายพิธีของพวกเขา เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่องราว ท่านจึงห้ามพระสาวกแสดงอิทธิฤทธิ์อีก เพราะการแสดงอิทธิฤทธิ์ไม่ใช่แก่นสารของการที่ทำให้ผู้คนบรรลุคุณความดี พอพราหมณ์ได้ยินก็เลยท้าทายสาวกของพระพุทธเจ้า แต่ไม่มีสาวกองค์ใดของพระพุทธเจ้ารับคำท้า จนมาวันหนึ่งพราหมณ์ได้ไปท้าทายพระพุทธเจ้า พระองค์จึงรับคำท้านั้น แล้วบอกกล่าวไปว่าจะแสดงอิทธิฤทธิ์ที่ประตูเมืองสาวัตถี เมื่อพวกพราหมณ์และพระเจ้าพิมพิสารได้ยินก็ได้กล่าวกับพระพุทธเจ้าว่า “พระพุทธองค์ห้ามสาวกแสดงอิทธิฤทธิ์ แล้วทำไมพระพุทธองค์จะไปแสดงเอง” พระพุทธเจ้าท่านก็เลยถามย้อนกลับไปว่า “มะม่วงในสวนของพระองค์ พระองค์ห้ามคนอื่นกินใช่ไหม แล้วพระองค์กินได้ไหม” ก็เหมือนกับที่บอกว่า “เราห้ามคนอื่นไม่ให้ทำได้ แต่เราทำได้” แล้วพระองค์บอกว่าจะไปแสดงอิทธิฤทธิ์ที่ต้นมะม่วงหน้าเมือง พวกพราหมณ์รู้จึงพากันไปตัดต้นมะม่วงทั้งหมดทิ้ง และสร้างปราสาท ทำซุ้มต่าง ๆ เพื่อมาแข่งกับพระพุทธเจ้า เมื่อวันแสดงอิทธิฤทธิ์จริงมาถึงพระพุทธเจ้าออกไปบินฑบาตแล้วได้มะม่วงมาลูกหนึ่งเป็นมะม่วงหลงฤดู ท่านจึงฉันมะม่วงลูกนั้น เมื่อฉันเสร็จแล้วก็ให้คนเอาเมล็ดมะม่วงไปปลูกที่หน้าเมือง แล้วพระพุทธเจ้าก็นำน้ำล้างบาตรไปเทรดมะม่วงที่ปลูกไว้ มะม่วงก็เจริญเติบโตขึ้นมาทันตาเห็น ในขณะนั้นเองก็บังเอิญเกิดพายุฝนกระหน่ำเข้ามาทำลายปราสาท ทำลายซุ้มของพวกพราหมณ์พังทลายทั้งหมด พระพุทธเจ้าท่านก็เลยแสดงฤทธิ์ด้วยการนั่งสมาธิแยกร่างของพระองค์ออกมาเป็น 2 ร่าง ลอยไปมาบนอากาศสลับกันขึ้นลง ในระหว่างนั้นเหล่าเทพเทวดาที่เคารพพระพุทธเจ้าจึงทำการจุดประทีปกัน โดยการทำให้ประทีปลอยวนกลางอากาศในบริเวณพิธีวันนั้น (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566)

ความเชื่อ

การจุดประทีปถือเป็นสัญลักษณ์ของความกตัญญูรู้คุณไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ หนังสือ ดินสอ และเป็นกลอุบายอย่างหนึ่งที่ทำให้คนได้รำลึกถึงสิ่งที่มีบุญคุณกับตัวเรา นอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บุพการีแล้ว ยังรวมไปถึงความเชื่อที่อยากให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงความทุกข์ยากลำบากของคนเฒ่าคนแก่ในสมัยก่อนว่ามีการใช้ชีวิตอย่างไร (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566)

การวางผางประทีป

การวางผางประทีปในสมัยก่อนจะวางไว้ตามรั้ว หัวเสา ประตู หน้าต่าง คอกวัว และคอกควาย รวมถึงการวางไว้ใกล้กับเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการทำมาหากิน หรือเป็นการวางไว้ตามสถานที่ที่ผู้คนได้พึ่งพาอาศัยสิ่งเหล่านั้นสำหรับการสร้างประโยชน์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566)

แหล่งที่มา

เยาวนิจ  ปั้นเทียน. (2542). ผางประทีส/ผางประทีป (ดวงประทีป). ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม 8, หน้า 4072- 4075 ). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม. (2566, พฤศจิกายน 27). พระครูวันเจดีย์แม่ครัว ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์

Porakamol Massamer
Intern Student form Faculty of Humanities, Chiang Mai University

    “ซุ้มประตูป่า” วัฒนธรรมชาวล้านนา ต้อนรับการกลับมาของพระเวสสันดร

    Previous article

    ปล่อย “โคม/ว่าว” สู่ฟากฟ้า เคารพบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี

    Next article

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

    บันทึก