FOLKWAYSTraditional

“ซุ้มประตูป่า” วัฒนธรรมชาวล้านนา ต้อนรับการกลับมาของพระเวสสันดร

0
ซุ้มประตูป่า เป็นปากทางที่จะเข้าสู่ป่า มักจะปรากฏอยู่เป็นเสา ตั้งอยู่ที่ชายหมู่บ้าน ขนาบทางเดินที่จะเข้าป่า   ซึ่งมักจะเป็นส่วนประดับอยู่ระหว่างเสาทั้งคู่ ใช้เป็นบริเวณที่ประกอบพิธีกรรมสำหรับหมู่บ้าน

การทำซุ้มประตูป่าในสมัยก่อนจะแยกย้ายกันทำของบ้านตนเอง มีการนำต้นกล้วย ต้นมะพร้าว ใบกล้วย ใบมะพร้าวมาใช้ในการประดับตกแต่งซุ้มประตู ซึ่งการทำซุ้มประตูป่าของแต่ละบ้านเรือนเริ่มหายไปแล้วประมาณ 10 ปีก่อน สาเหตุที่หายไปเพราะเทศบาลของแต่ละตำบลมีการจัดประกวดซุ้มประตูป่าของหมู่บ้าน ชาวบ้านเลยไปร่วมมือกันทำที่เดียว ไม่มีการทำของแต่ละบ้านแล้ว ในช่วงกลางคืนก็มีการจัดดนตรี มีฟ้อนรำให้คนมาร่วมสนุก รอประกาศผลการทำซุ้มประตูป่า (พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม, สัมภาษณ์, 27 พฤศจิกายน 2566)

ความเป็นมา

ชาวบ้านจะเตรียมตัวจัดตกแต่งประตูบ้านและประตูวัดให้เป็นซุ้มประตูป่าอย่างสวยงาม เพื่อเป็นเครื่องสักการะถวายการต้อนรับพระเวสสันดรในเดือนยี่เป็ง ครั้งเสด็จออกจากป่าเข้าสู่เมือง ซึ่งปรากฏในเวสสันดรชาดก อันเป็นชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะประสูติเป็นพระพุทธเจ้า และเชื่อกันว่าถ้าใครตกแต่งซุ้มประตูป่าได้งดงาม อาจทำให้พระเวสสันดรเสด็จหลงเข้ามาในซุ้มประตูป่าที่จำลองเป็นป่าภายในบ้าน และจะทำให้ได้อานิสงส์อย่างมาก (มณี พยอมยงค์, 2547; สงวน โชติสุขรัตน์, 2511)

ความเชื่อ

  • เป็นการต้อนรับการเสด็จกลับจากป่าของพระเวสสันดร
  • เป็นซุ้มที่ใช้จุดผางประทีป เพื่อบูชาพระเจ้า 5 พระองค์

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำซุ้มประตูป่าสามารถนำวัสดุอะไรมาทำก็ได้ เพราะไม่มีการจำกัดอุปกรณ์ในการทำ และไม่มีความหมายที่สำคัญแอบแฝง การนำต้นมะพร้าว ต้นกล้วยมาทำเนื่องจากหาได้ง่ายและสร้างความสวยงามให้แก่ซุ้มประตูป่าได้ แต่พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม กล่าวว่า การนำต้นกล้วยมาทำซุ้มประตูอาจจะสื่อถึงการเป็นของเย็น ส่วนต้นอ้อยเป็นของหวาน ให้ความหมายว่าชีวิตจะอยู่เย็นเป็นสุข อุดมสมบูรณ์ด้วยอาหาร คล้ายๆการทำพิธีสืบชะตา

ซุ้มประตูป่าวัดเจดีย์แม่ครัว

แหล่งที่มา

มณี พยอมยงค์. (2547). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.

สงวน โชติสุขรัตน์. (2511). ประเพณีไทย ภาคเหนือ. เชียงใหม่: สงวนการพิมพ์.

พระครูสมุห์ วิเชียร คุณธัมโม. (2566, พฤศจิกายน 27). พระครูวัดเจดีย์แม่ครัว ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์

Porakamol Massamer
Intern Student form Faculty of Humanities, Chiang Mai University

    มนต์เสน่ห์วัฒนธรรมลอยกระทงแบบล้านนา “ประเพณียี่เป็ง”

    Previous article

    “ผางประทีป”ส่องสว่างดั่งแสงนำทางแห่งชีวิต

    Next article

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

    บันทึก