Sittichai Wimala
-
ฐานเรียนรู้มหัศจรรย์พันธุ์ไม้ฟอกอากาศ
in Open Farmพันธุ์ไม้ฟอกอากาศเป็นพันธุ์ไม้ที่ใช้ตกแต่งให้ความสวยงาม ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ที่อยู่อาศัยแล้ว แต่ยังช่วยฟอกอากาศด้วยคุณสมบัติดูดสารพิษจากหมอกควันและฝุ่นละอองในอากาศขนาดเล็ก PM 2.5 ที่วนเวียนอยู่รอบๆ ตัวเรา รวมถึงสารพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ทำให้เราต้องเจอกับสารระเหยมากมาย และโดยเฉพาะคนเมืองที่ต้องอยู่ในอาคารที่มีเครื่องปรับอากาศวันละหลายชั่วโมง อากาศภายในจึงเป็นภัยเงียบโดยเราไม่รู้ตัว กิจกรรม จัดแสดงพันธุ์ไม้ฟอกอากาศ เช่น สาวน้อยประแป้ง แก้วกาญจนา สับปะรดสี เดหลี พลูด่าง มอนสเตอร่า ฟีโลเดนดรอน เฟิน ยางอินเดีย เป็นต้น จัดแสดงการขยายพันธุ์การปลูกเลี้ยงและการดูแลรักษา การจำหน่ายพันธุ์ไม้ดอกและไม้ประดับมากมาย *หมายเหตุฐานเรียนรู้นี้จัดขึ้นภายใต้โครงการเปิดฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Maejo Open Farm 14 – 17 มกราคม 2564 ผู้รับผิดชอบ นายธนวัฒน์ รอดขาว ผู้ประสานงาน นายธนวัฒน์ รอดขาว โทรศัพท์ 081-9502011 นายอดิศักดิ์ การพึ่งตน โทรศัพท์ 093-0393951 Location โครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (พื้นที่ 30 ไร่) หมู่ที่ 6 ต.ป่าไผ่…
-
ฐานเรียนรู้นวัตกรรมแห่งการพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ
in Open Farmฐานเรียนรู้นวัตกรรมแห่งการพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ จัดแสดงนวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าช่วย อาทิเช่น การช่วยชีวิตเอ็มบริโอ การเพิ่มจำนวนโครโมโซม การใช้เครื่องหมายพันธุกรรมในการคัดเลือกพืช ทำให้ได้ลูกผสมที่มีลักษณะแปลกใหม่สวยงามในเวลาอันรวดเร็ว โดยฐานได้จัดแสดงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆที่ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ เช่น ลูกผสมหน้าวัวที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอ ปทุมมาที่ได้พัฒนาพันธุ์โดยใช้ความรู้และเทคนิคทางการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและพันธุศาสตร์มาบูรณาการจนได้สายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะแปลกใหม่สวยงาม หงส์เหินที่ได้พัฒนาพันธุ์โดยการผสมระหว่างสายพันธุ์ป่ากับสายพันธุ์การค้าท่าทำให้ได้หงส์เหินที่มีลักษณะแปลกใหม่ สวยงาม นอกจากนี้ยังจัดแสดงไม้ดอกและไม้ประดับต่าง ๆ เช่นอาฟริกันไวโอเล็ต บีโกเนีย พรม เป็นต้น รวมทั้งจัดแสดงวิทยาการความก้าวหน้าในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ *หมายเหตุฐานเรียนรู้นี้จัดขึ้นภายใต้โครงการเปิดฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Maejo Open Farm 14 – 17 มกราคม 2564 ผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.เฉลิมศรี นนทสวัสดิ์ศรี สาขาพืชสวนประดับ คณะผลิตกรรมการเกษตร โทร. 0992693111 อ. ดร. ธีรนิติ พวงกฤษ สาขาพืชสวนประดับ คณะผลิตกรรมการเกษตร โทร. 0895511584 ผู้ประสานงาน นางสาวนรากร เรืองศรี สาขาพืชสวนประดับ คณะผลิตกรรมการเกษตร โทร. 0645086909 Location
-
การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา
in องค์ความรู้Maejo University Archives · IH-EP13-เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma harzianum) สามารถพบได้โดยทั่วไป โดยจะดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์ และแหล่งอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยจะสร้างเส้นใยสีขาวและผลิตโคนิเดียหรือสปอร์ รวมเป็นกลุ่มสีขาว เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่ปฏิปักษ์ต่อเชื้อราอื่นที่เป็นสาเหตุของโรคพืชหลายชนิด โดยวิธีแทงรากเข้าสู่ภายในเส้นใยของเชื้อราชนิดอื่นแล้วแย่งกินอาหารของเชื้อราอื่น ๆ รวมถึงการปล่อยเอนไซม์หรือสารปฏิชีวนะเพื่อทำลาย และกินเชื้อราอื่นเป็นอาหาร นอกจากนี้พบว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถชักนำให้ต้นพืชสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคและโรคพืชต่าง ๆ ได้ดี วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา (เชื้อสด) การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดคลุกเมล็ดพืช จะใส่เชื้อสดลงในถุงพลาสติกที่จะใช้คลุกเมล็ดในอัตราส่วน 10 กรัม (1 ช้อนแกง) ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 10 ซีซี บีบเชื้อสดให้แตกตัว เทเมล็ด 1 กิโลกรัมลงในถุงแล้วเขย่าให้เชื้อสดคลุกเคล้าจนติดผิวเมล็ด นำเมล็ดออกผึ่งลมให้แห้งหรือใช้ปลูกได้ทันที การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับน้ำ ในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ 250 กรัม (เชื้อสด 1…
-
การผลิตเชื้อราบิวเวอเรีย
in องค์ความรู้Maejo University Archives · IH-EP12-เชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อราบิวเวอเรีย (Beauveria bassiasna) เป็นจุลินทรีย์จำพวกเชื้อราทำลายแมลง ซึ่งสามารถทำลายแมลงโดยการผลิตเอนไซม์ที่เป็นพิษต่อแมลงศัตรูพืช และเป็นเชื้อราที่อาศัยและกินเศษซากผุพัง การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอเรีย สปอร์เชื้อราจะเข้าสู่ตัวแมลงทางผนังลำตัว รูหายใจ บาดแผล บนลำตัว เมื่อมีความชื้นเที่หมาะสม สปอร์จะแทงทะลุผิวหนังลำตัว และจะงอกสู่ช่องว่างลำตัวหรือออกสู่ภายนอกตัวแมลงเมื่อแมลงตาย สปอร์จะแพร่กระจายไปตามลม ฝนหรือติดกันตัวแมลงตัวอื่น ทำให้เชื้อราจะขยายพันธุ์ต่อไปได้เรื่อย ๆ วิธีการใช้เชื้อราบิวเวอเรีย (เชื้อสด) เชื้อราบิวเวอเรีย 1-2 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร ผสมสารจับใบ (กรองเอาเฉพาะน้ำ) ควรให้น้ำแปลงพืชที่จะควบคุมศัตรูพืชประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนทำการพ่น นำเชื้อราไปฉีดพ่นโดยต้องพ่นให้ถูกตัวแมลงและศัตรูพืช หรือบริเวณที่แมลงศัตรูพืชอาศัยให้มากที่สุด ควรพ่นช่วงเวลาเย็น ซึ่งจะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา เมื่อพ่นเสร็จแล้ว ควรให้น้ำกับแปลงพืชในวันรุ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความชื้น สำรวจแปลงพืช ถ้ายังพบศัตรูพืชเป้าหมายให้พ่นเชื้อราบิวเวอเรียซ้ำ ข้อดี ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิตของเกษตรกร ทำให้ทั้งผู้ผลิต, ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมปลอดภัย มีประสิทธิภาพในการป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ยาวนาน ซ้ำยังแพร่และขยายพันธุ์ได้ในธรรมชาติหากอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม สามารถลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เพราะการฉีดพ่นเพียง…
-
ผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์นาโน Silver Nano
in ผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์นาโน Silver Nano เป็นเทคโนโลยีจิ๋วที่ใช้ป้องกันเชื้อโรคอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ โดยเฉพาะทางการแพทย์ ได้ผลิตยาป้องกันการติดเชื้อให้กับรถพยาบาลและเครื่องสำอางค์แต่มีราคาแพงและผลิตได้อย่างจำกัด ดังนั้นจึงได้วิจัยโดยการใช้เม็ดเงินบริสทุธิ์ 99.99 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นการลดต้นทุน และทำให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีนาโนได้ง่ายขึ้น ผลิตภัณฑ์นาโนสเปรย์ฆ่าเชื้อ มีประสิทธิภาพไม่ด้อยกว่าแอลกอฮอล์และไม่มีผลเสียต่อร่างกาย มีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ ข้อดีของซิลเวอร์นาโนคือสามารถออกฤทธิ์ได้ยาวนาน 7 – 14 วัน โดยเทคโนโลยีซิลเวอร์นาโนเป็นการใช้ประจุบวกวงนอกของอิเลคตรอนของเงินบริสทุธิ์เข้าทำลายผนังเซลล์ของเชื้อโรค ส่งผลให้เชื้อโรคหยุดการเจริญเติบโตและตายในที่สุด
-
การผลิตปุ๋ยโบกาฉิเพื่อการเพาะปลูกพืช
in องค์ความรู้Maejo University Archives · Bokashi โบกาฉิ (Bokashi) เป็นคำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า การหมัก (Compost) ซึ่งการทำปุ๋ยโบกาฉินั้นเกิดจากการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ EM ในรูปแบบน้ำให้เป็นแห้ง ผู้คิดค้นคนแรกคือ ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ สรุปได้ว่า การทำปุ๋ยโบกาฉินั้นเป็นการทำปุ๋ยหมักด้วยอินทรียวัตถุ ที่หมักด้วยจุลินทรีย์ EM เท่านั้น มาประยุกต์ใช้โดยผ่านกระบวนการหมักแบบแห้ง มีการผสมกากน้ำตาลเข้าไปเพื่อช่วยในกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ก่อนจะหมักด้วยวัตถุดิบตามสูตรจนได้ที่ และนำไปใช้ให้เกิดผลดีในการปรับสภาพโครงสร้างดินให้ร่วนซุยและมีคุณภาพในการเพาะปลูกพืช วัสดุและอุปกรณ์ในการทำ 1. แกลบหยาบ 20 กิโลกรัม 2. มูลสัตว์ 30 กิโลกรัม 3. รำละเอียด 50 กิโลกรัม 4. หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ขยายแล้ว 10 ลิตร 5. น้ำสะอาด 30 ลิตร (ไม่มีส่วนผสมของคลอรีน) วิธีการทำ นำส่วนผสมทุกอย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยนำของแห้งผสมกันก่อน จึงค่อยเติมน้ำสะอาดและหัวเชื้อจุลินทรีย์ลงไป ทำการผสมต่อให้เข้ากัน โดยให้ปุ๋ยมีความชื้นประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์…
-
การเพาะเลี้ยงแหนแดง
in องค์ความรู้Maejo University Archives · IH – EP5 – การเพาะเลี้ยงแหนแดง แหนแดง เป็นพรรณไม้น้ำชนิดลอยบนผิวน้ำ ลักษณะทั่วไปประกอบด้วยลำต้น ราก และ ใบแหนแดงมีลักษณะพิเศษ คือ ใบบน เป็นใบที่มีโพรงใบ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Anabaena azollae) ในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวที่อาศัยในโพรงใบของแหนแดงสามารถตรึงไนโตรเจนได้ แล้วทำการเปลี่ยนไนโตรเจนให้เป็นแอมโมเนียม ซึ่งแหนแดงสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการเติบโตได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนแหนแดงได้ถึง 2 เท่า ภายใน 3-5 วัน แหนแดงสำหรับปุ๋ยในนาข้าว ใบแหนแดงมีโพรงขนาดเล็กที่เป็นที่อาศัยของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Anabana azollae ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ ด้วยภายในเซลล์จะมีเอนไซม์ Nitrogenase ซึ่งใช้เหล็ก และโมลิดินั่มสำหรับเป็นโคแฟคเตอร์ในปฏิกิริยา พร้อมกับรีดิวซ์ก๊าซไนโตรเจนให้เป็นแอมโมเนีย และเก็บไว้ในเซลล์ และไนโตรเจนที่ตรึงได้นี้กลายเป็นธาตุอาหารสำคัญในการเติบโตของแหนแดง ทำให้แหนแดงมีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยพืชสดได้เหมือนกับพืชตระกูลถั่วอื่นๆ แหนแดงที่อยู่ในสภาพที่เหมาะสม แหล่งอาศัยมีธาตุอาหารสูงจะสามารถเพิ่มจำนวนต้นได้รวดเร็ว โดยในเวลา 30 วัน แหนแดงสามารถเพิ่มจำนวน และเติบโตจนได้ต้นสดได้มากถึง 3 ตัน/ไร่ ซึ่งจะตรึงไนโตรเจนได้ประมาณ 5-10…
-
Going to an Outdoor Workout Class? Check for These 7 Things First
When stay-at-home orders were put in place in March, gyms and fitness studios across the country shut their doors, forcing lots of people to re-imagine their approach to exercise.
-
Transforming Manhattan’s Most Famous Street
It did so indeed, and much sooner than she had expected