ในโลกของอาหารไทยมีเมนูมากมายที่สะท้อนถึงประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นคือ “แกงขนุน” อาหารพื้นเมืองของภาคเหนือที่รับประทานอาหารเฉพาะตัวรวมทั้งรสชาติที่ร้านอาหารปรุงอาหาร
น้ำพริกตาแดง หรือน้ำพริกต๋าแดงของคนภาคเหนือ เป็นน้ำพริกที่คู่ครัวของคนเหนือมาช้านาน มีลักษณะเหนียวข้น รสชาติ เผ็ด เค็ม นิยมกินคู่กับผักลวก จิ้นนึ่ง แคบหมู คนเหนือมักจะมีน้ำพริกติดบ้านไว้ มักจะพกไปทำไร่ทำนา เข้าป่า หรือเดินทาง เพราะสะดวก ไม่ค่อยเสียง่าย สมัยก่อน มักจะใช้ใบตองห่อ พอพกเดินทาง ใบตองก็จะแห้ง…
ลาบนั้นมีต้นกำเนิดมาจากมณฑลยูนนานทางใต้ของประเทศจีน โดยนิยมกินกันมากในอาณาจักรล้านนา ลาว และภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน ที่มาของคำว่าลาบนั้นในความหมายของคำกริยาซึ่งหมายถึงการสับให้ละเอียด ทำให้แตกละเอียด ลาบซึ่งพ้องเสียงกับคำว่าโชคลาภ,ลาภ ดังนั้นลาบหรือการกินลาบจึงเป็นอาหารที่นิยมทำกินกันในโอกาสพิเศษหรืองานเลี้ยงในเทศกาลต่างๆ เช่น งานแต่ง งานขึ้นบ้านใหม่สงกรานต์ หรืองานศพ เป็นต้น คนล้านนามีการทำลาบกินมานาน แต่ไม่ปรากฏบันทึกชัดเจนว่าเริ่มขึ้นเมื่อใด ซึ่งหากจะประเมินตามระยะเวลาที่เริ่มมีเครื่องเทศเข้ามาในภูมิภาคนี้ประเมินได้ประมาณ 300 กว่าปี (สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ:…
“คั่วลิดไม้” เป็นเมนูอาหารท้องถิ่นของชาวภาคเหนือที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในการใช้วัตถุดิบพื้นบ้านและสมุนไพรที่มีรสขม ซึ่งคนในท้องถิ่นนิยมรับประทานกันเป็นประจำ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดลำปาง การคั่วลิดไม้ได้รับความนิยมเพราะมีรสชาติที่ไม่เหมือนใคร และยังมีสรรพคุณทางยามากมาย จึงถือเป็นเมนูที่ไม่เพียงแต่ให้พลังงาน แต่ยังเสริมสร้างสุขภาพของผู้รับประทานได้อีกด้วย สมุนไพรที่ใช้ในเมนูนี้ เช่น ลิ้นฟ้า กระเทียม และพริก เป็นพืชพื้นเมืองที่หาได้ง่าย มีสรรพคุณทางยาที่มีประโยชน์ เช่น ช่วยลดไข้ บำรุงสุขภาพ และรักษาระบบทางเดินอาหาร เมนูนี้จึงไม่ใช่เพียงแค่อาหาร…
ปกติพูดถึงแกง ก็ต้องนึกถึงอาหารที่เป็นน้ำและมีพริกแกง ส่วนแกงกระด้าง ออกเสียงเป็นภาษาเหนือว่า แก๋งกระด้าง หรือแก๋งขะด้าง และมีชื่อเรียกอื่น เช่นแกงหมูกระด้าง หรือแกงหมูหนาว เป็นอาหารเหนือที่มักนิยมทำในหน้าหนาว ใช้ขาหมู หน้ากากหมู หรือส่วนที่มีไขมันมาทำ เพราะจะทำให้แกงข้น เกาะตัวหรือกระด้างได้ง่าย และจะทำทิ้งไว้ข้ามคืนในช่วงฤดูหนาว ปัจจุบัน มีการเติมผงวุ้นเพื่อช่วยให้การกระด้างได้ดีขึ้น แกงกระด้างจะมี 2…
“ข้าวแคบ” มีลักษณะคล้ายแผ่นโรตีสายไหม แต่บางกว่า แข็งกว่า และใสกว่า เหตุผลที่ต้องทำข้าวแคบเเละข้าวควบในช่วงฤดูร้อนก่อนเทศกาลปีใหม่เมืองนั้น คาดว่าเพราะในช่วงฤดูร้อนนั้นมีแสงแดดที่ร้อนจัด เพียงพอที่จะตากข้าวควบข้าวแคบให้แห้ง ได้ภายในวันเดียว ซึ่งในฤดูกาลอื่นๆ นั้นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากในฤดูฝนก็มีทั้งฝนตกและความชื้นสูง ส่วนในฤดูหนาวนั้น กลางคืนจะยาวกว่ากลางวัน ถึงเเม้แสงแดดในเวลากลางวัน จะร้อนจัด แต่ระยะเวลากว่าที่แสงแดดจะส่องทำให้ข้าวเเคบสุกได้ (CultureLampang ,2567)
เมนูนี้เป็นเมนูที่มีเฉพาะฤดูหนาวของอาหารกลุ่มชาติพันธุ์ไทยอง แกงฟักเขียว หรือแกงฟักหม่น มีวิธีการแกงคล้ายกับแกงอ่อมเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่แตกต่างคือแกงฟักเขียวใส่มะแขว่นโขลกลงไปพร้อมกับเครื่องแกง (ดีกิจ กัณทะกาลังค์, สัมภาษณ์, 20 มิถุนายน 2550) คนสมัยก่อนจะใช้สมโหล (การจุดไฟประกอบอาหาร) ที่มีควันเยอะแต่ในปัจจุบันยกเลิกการใช้ไปแล้ว เนื่องจากควันมีกลิ่นเหม็น จึงหันมาใช้ถ่านแทนในปัจจุบัน โดยพฤติกรรมการรับประทานอาหารกลุ่มชาติพันธุ์ไทยองสมัยก่อนใช้ช้อนสีเขียว ในการรับประทานอาหารจะนำใส่ขันโตกเพื่อคนในครอบครัว สามารถนั่งล้อมรอบรับประทานร่วมกันได้ โดยใน…
เมนูแกงผักปั๋ง หรือ จอผักปั๋ง อาหารพื้นบ้านของภาคเหนือ เป็นที่รู้จักและนิยมรับประทานมาตั้งแต่สมัยอดีต ปัจจุบันถูกดัดแปลงปรับเปลี่ยนสูตรอาหารให้ทานง่ายและตามใจผู้รับประทาน รสชาติเปรี้ยวนิด ๆ เผ็ดหน่อย ๆ ความเปรี้ยวได้จากการนำจิ้นส้มมาประกอบ ใครอยากลองทานแต่ไม่มีโอกาสไปถึงภาคเหนือ
“ยำจิ้นไก่ใส่ปลี” อาหารเหนือที่อยากให้ลอง ทำได้ง่าย ๆ แต่อร่อยมาก ปรุงด้วยการนำไก้บ้านหรือไ่ก่พันธุ์ มาต้มกับหัวปลีให้สุก ดับคาวด้วยสมุนไพรบ้าน ฉีกและนำมายำกับพริกลาบคั่วจนหอม ใส่ใบผักแพว ต้นหอม ผักชี คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปรุงรสตามใจชอบ ตักใส่จานพร้อมรับประทาน